ในฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงภาพรวม ๆ ของกฎหมายในภาวะไม่ปกติ อันประกอบด้วย ๑. พ.ร.บ.การรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒. พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓. พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ส่วนในฉบับนี้จะกล่าวถึงข้อ สังเกต ข้อดี ข้อเสียของกฎหมายในภาวะ ไม่ปกติทั้ง ๓ ฉบับ ดังต่อไปนี้

เจตนารมณ์ในการ บังคับใช้กฎหมาย

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มีเจตนารมณ์เพื่อ กำหนดให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคปฏิบัติที่นำนโยบาย ความมั่นคงมาแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ซึ่ง กระทบความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีเจตนารมณ์เพื่อใช้ใน การบริหารราชการในพื้นที่ที่มีการประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ มี เจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารในพื้นที่ที่อยู่ในสภาวะสงคราม หรือการ จลาจล หรือมีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความ เรียบร้อยปราศจากภัย

ข้อสังเกต

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดขึ้นเพื่อให้ กอ.รมน. เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ ความมนั่คงภายในราชอาณาจกัร ทงั้นใี้หถ้อืวา่ กอ.รมน. เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย ว่า ด้วย วิธีการงบประมาณและเงินคงคลัง การ มอบอำนาจ นอกจากจะเป็นไปตามระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินแล้ว อำนาจหน้าที่ตาม กฎหมายฉบับนี้ ผอ.รมน. จะมอบอำนาจให้ ผอ.รมน.ภาค, ผอ.รมน.จงัหวดั หรอื ผอ.ศอ.บต. ปฏิบัติแทนได้ หน่วยงานของรัฐต้องจัดส่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน. ตามที่ ผอ.รมน., ผอ.รมน.ภาค, ผอ.รมน. จังหวัด ร้องขอ หากสถานการณ์ที่ปรากฏ เหตกุารณอ์นักระทบตอ่ความมนั่คงภายในราช อาณาจักร ตามกฎหมายนี้สิ้นสุดลงให้นายก รัฐมนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภาทราบโดยเร็ว ในการให้ความเห็นทาง คดีของ ผอ.รมน. เพื่อกำหนดการเข้ารับการ อบรมให้แก่ผู้กระทำผิด เป็นไปตามที่ กอ.รมน. กำหนด และเงื่อนไขของศาลที่จะกำหนดแทน การลงโทษ เป็นไปตามข้อบังคับของประธาน ศาลฎีกากำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. อาจไดร้บัคา่ตอบแทนพเิศษหรอืสทิธปิระโยชน์ ต่าง ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำในกฎหมายนี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง กล่าวคือ จะยกขึ้นกล่าว อ้างเพื่อยกเลิกข้อกำหนด ประกาศ หรือ คำสั่ง ต่าง ๆ ไม่ได้แม้จะลิดรอนสิทธิเสรีภาพก็ตาม ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน. หากก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้สุจริตจะได้รับการชดเชยค่า เสียหายตามควรแก่กรณี ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การดำเนินคดี ตามกฎหมายฉบับนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาล ยุติธรรม และสามารถใช้มาตรการคุ้มครอง หรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้ คือ การสืบพยานก่อนเริ่มการพิจารณา หรือ การคุ้มครองพยาน เป็นต้น

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นการเพิ่มขีดความ สามารถในการสอบสวนและรวบรวมพยาน หลักฐานให้กับพนักงานสอบสวน เป็นการ ใช้อำนาจโดยเพ่งเล็งผู้กระทำการก่อให้เกิด สถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเพียงผู้ต้องสงสัย จึง กำหนดให้มีการขอหมายจับ และควบคุมตัว เพื่อเปลี่ยนทัศนคติเป็นเวลา ๓๐ วัน การที่ รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.ฯ และประกาศใช้ใน พื้นที่ ๓ จชต. ได้มีข้อคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย อ้าง ว่า เป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ให้อำนาจ กับเจ้าหน้าที่ของรัฐมากเกินไป เป็นการจำกัด สิทธิและเสรีภาพของประชาชน การประกาศ ใช้ พ.ร.ก.ฯ ในพื้นที่ ๓ จชต. ฝ่ายตรงข้ามอาจ ใช้เป็นโอกาสในการโจมตีรัฐบาลและทำลาย ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการปกครองของรัฐ เป็นการยอมรับโดยปริยายว่าสถานการณ์ การก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จชต. เป็น สถานการณ์ที่ถึงขั้นรุนแรง

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็น กฎหมายที่จะประกาศใช้ได้เฉพาะในเวลาที่มี สงครามหรือการจลาจล หรือมีความจำเป็น ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยให้ปราศจาก ภัย ซึ่งอาจมาจากภายนอกหรือเกิดขึ้นภายใน ราชอาณาจักร เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกับ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารอย่างค่อนข้างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดและเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ
ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารมาก เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน ฝ่ายตรงข้ามใช้เป็นเงื่อนไขในการ โจมตีและทำลายความเชื่อมั่นต่อกระบวนการ ปกครองของรฐั ทผี่า่นมาไดร้บัการตอ่ตา้น และ ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากองค์การ มุสลิมโลกและองค์การสหประชาชาติ จน ต้องแก้ไข โดยออก พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาแก้ไขสถานการณ์ ๓ จชต. เพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึกฯ

การเปรียบเทียบผลดีและ ผลเสียของกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับ

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑

ผลดี

– มีการบูรณาการอำนาจและบุคลากร ทั้งจากฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร ภายใต้การ สังกัดของ กอ.รมน. ในการแก้ไขปัญหา
– มีบทบัญญัติที่เปิดโอกาสผู้กระทำ ความผิดไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการ พิจารณาคดีของศาลตามปกติ
– การใช้อำนาจตามกฎหมายมีขั้นตอน การปฏิบัติงานที่ชัดเจน รวมทั้งมีการกำหนด
แผนการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความรอบคอบ ในการปฏิบัติงาน
– เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งจากฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการ ภาค ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ของ กอ.รมน.
– มีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกเหนือจาก กฎหมายปกติที่ได้กำหนดไว้

ผลเสีย
– การใช้อำนาจตามกฎหมายมีขั้นตอน การใช้ตามลำดับความรุนแรงทำให้ผู้ปฏิบัติ งานอาจเกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน
– วิธีการใช้อำนาจต้องมีการออกข้อ กำหนด/จัดทำแผนเสนอ ครม. และคณะ กรรมการ ดังนั้นอาจทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
– มีระยะเวลาและพื้นที่ที่จำกัดในการ ปฏิบัติงาน
– ผู้ปฏิบัติงานอาจถูกฟ้องในศาลยุติธรรม ปกติหากการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามข้อ บัญญัติของกฎหมาย
– เป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหา ในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจส่ง ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

พ.ร.ก.การบริหารราชการ  ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

ผลดี

– มกีารรวมศนูยอ์ำนาจในการแกไ้ขปญัหา เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
– สามารถใช้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ได้ทั้งจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ตำวจ และ ทหาร รวมทั้งฝ่ายการเมือง
– อำนาจในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ
– ผู้ปฏิบัติงานได้รับการคุ้มครองจากการ ปฏิบัติงาน หากทำตามหน้าที่โดยสุจริต ไม่ เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกิน กรณีที่จำเป็น
– มีอำนาจครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้ง ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ
– มบีทบญัญตัทิเี่ปดิใหเ้จา้หนา้ทใี่ชอ้ำนาจ ในการควบคุมผู้กระทำความผิดได้มากกว่า กฎหมายปกติ

ผลเสีย

– การใช้ำนาจของเจ้าหน้าที่มีระยะเวลา และพื้นที่ำกัดในการดำเนินการ
– การใช้อำนาจมีขั้นตอนในการปฏิบัติ อาทิ การออกประกาศ/คำสั่ง ทำให้การแก้ไข ปัญหาในบางกรณีอาจไม่ทันการณ์
– ผู้ปฏิบัติงานอาจถูกฟ้องในศาลยุติธรรม ปกติหากการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามข้อ บัญญัติของกฎหมาย
– ไม่มีข้อบัญญัติที่จะชดเชยให้กับ ผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่
– เป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาใน เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

พ.ร.บ.กฎอัยก�รศึก พ.ศ. ๒๔๕๗

ผลดี
– ฝ่ายทหารมีอไนาจเด็ดขาดแต่เพียง ลไพังในการแก้ไขปัญหาทไให้มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
– ผู้ปฏิบัติงานมีอไนาจตามกฎหมาย ที่เด็ดขาด ครอบคลุมการปฏิบัติงาน และ สามารถดำเนินการได้ทันที
– ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องรับผิดจากการ ปฏิบัติงาน
– ผู้ปฏิบัติงานสามารถประกาศใช ้ กฎหมายได้ด้วยตนเอง

ผลเสีย
– การประกาศใช้กฎหมายสามารถ ดำเนินการได้โดยง่าย แต่การยกเลิกจะต้อง เป็นพระบรมราชโองการ
– เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเฉพาะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทำให้ไม่มีการบูรณาการ การใช้อำนาจจากองค์กรอื่น ๆ ในสังคม
– กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะ กรณทีเี่กดิสงครามหรอืการจลาจล การนำมาใช ้ จึงมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงานค่อนข้างสูง
– เป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาใน เรอื่งละเมดิสทิธมินษุยชน ซงึ่อาจสง่ผลกระทบ ต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทย ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่ต้องนำกฎหมาย ในภาวะไม่ปกติมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์ ภัยคุกคามที่มีต่อความมั่นคงของประเทศใน ระดับที่ไม่สามารถใช้มาตรการตามกฎหมาย ทั่วไปเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ เช่นในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต ้หรอืแมแ้ตใ่นกรงุเทพมหานคร เองก็ตาม แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงการใช้กฎหมาย ในภาวะไม่ปกตินี้ คือ ควรใช้ทรัพยากรที่มี อยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขั้นตอนการใช้ อำนาจตามกฎหมายอย่างเหมาะสมและมี การใช้กฎหมายตามลำดับความรุนแรงของ สถานการณ ์ดงันนั้ กฎหมายในภาวะไมป่กตจิงึ เปน็เครอื่งมอื (Mean) สำาหรบัเจา้หนา้ทขี่องรฐั ทจี่ะนำไปสเู่ป้าหมาย (End) สงูสดุของประเทศ คือความสงบเรียบร้อยของประเทศอันนำไปสู่ การใช้ชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข