๑. นาย Kensuke Tanaka, Head of Asia Desk, OECD Development Centre ได้นำเสนอรายงาน SAEO ปี ๕๖ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

๑.๑ การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขยายตัว ร้อยละ ๕.๕ ในช่วงปี ๕๖ – ๖๐ แม้ว่า เศรษฐกิจของจีนและอินเดียจะชะลอตัวลง โดยมีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงขับสำคัญ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนและการ ลงทุน ซึ่งเศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะขยาย ตัวสูงถึงร้อยละ ๖.๔ ระหว่างปี ๕๖ – ๖๐ อันเป็นผลมาจากการลงทุนต่างประเทศที่เพิ่ม ขึ้น การลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภค และ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจภายใต้แผนพัฒนา ของประเทศ ในขณะที่เศรษฐกิจของสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยจะขยายตัว ร้อยละ ๓.๑ ๕.๑ ๕.๕ และ ๕.๑ ตามล?าดับ อย่างไรก็ดี การที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่า นี้ขยายตัวไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก ปัญหา ‘middle – income trap’๑ ซึ่งหลาย ประเทศยังไม่สามารถยกระดับการผลิตให้ มีประสิทธิภาพเพื่อก้าวพ้นสถานการณ์ดัง กล่าวได้ ทั้งนี้วิกฤตหนี้ของสหภาพยุโรป และ การหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจของจีนและกลุ่มประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เนื่องจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเป็นตลาด ส่งออกที่สำคัญ นอกจากนี้ ประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มีสัดส่วนการค้าที่พึ่งพา ตลาดจีนสูง โดยเฉพาะการส่งออกทางอ้อม ๒ (indirect exports) โดยเป็นการส่งออกสินค้า ขั้นกลาง ๓ มายังจีนเพื่อผลิตเป็นสินค้า และส่ง ออกผ่านจีนไปยังตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนและอินโดนีเซีย ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการขยายตัวของ ชนชั้นกลาง โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นที่มีรายได้ ระดับกลางถึงระดับบนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งมี แนวโน้มความต้องการการบริโภคสินค้าคงทนรวมถึงรถยนต์มากขึ้น โดยประเทศเศรษฐกิจใหม่ในเอเชีย (Emerging Asia) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของนโยบาย การคลัง โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพการ จัดเก็บภาษี รวมถึงการบริหารการไหลเข้า ของเงินทุน

๑.๒ นโยบายโครงสร้างทางเศรษฐกิจ: นโยบายระยะกลาง จากการศึกษาแผนงาน พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ ๗ ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศ มียุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับ การพัฒนาของแต่ละประเทศด้วย โดยประเด็น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญครอบคลุมการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ นโยบายแรงงาน การส่งเสริม ระบบเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงการลดช่องว่าง ด้านเศรษฐกจิและสังคม ซึ่งปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ คือ การยกระดับคุณภาพระบบการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งการจัดการกับ สิ่งแวดล้อม โดยพบว่า ยังมีช่องว่างการเข้าถึง การศึกษาและสาธารณสุข โดยเฉพาะระหว่าง กลุ่มคนรวย – จน และเมือง – ชนบท ดังนั้น จึงจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องปรับปรุงคุณภาพการ ศึกษาและคุณภาพของครูผู้สอน รวมทั้งการเข้า ถงึระบบสาธารณสขุใหท้ว่ัถงึ นอกจากน้ภาครัฐ ควรร่วมมือกับภาคธุรกิจ และภาคประชาชนใน การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ ลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีมาตรการแรง จูงใจที่จะช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม

๑.๓ การลดช่องว่างด้านการพัฒนา ถือเป็น ประเด็นท้าทายที่อาเซียนกำลังเผชิญ ซึ่งช่อง ว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ระหว่าง ปี ๔๘ – ๕๔ ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ โครงสร้าง สาธารณูปโภค การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และความยากจน เป็นต้น พบว่าความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการพัฒนาทรัพยามนุษย์ยัง คงสูงอยู่ ในขณะที่ความแตกต่างด้านท่องเที่ยว และเทคโนโลยีได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ความ แตกต่างด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคและด้าน เศรษฐกิจยังไม่มีการขยับลดลง ดังนั้น จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่อาเซียนจะต้องร่วมมือกันเพื่อลดช่อง ว่างดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้าง สาธารณปูโภค โลจิสติกส์ การปฏิรูปกฏระเบียบต่างๆ และการพฒันาทรพัยากรมนษุย์ นอกจากนี้ การลดช่องว่างด้านการพัฒนาภายใน ประเทศเป็นอีกความท้าทายหนึ่งที่ต้อง เร่งแก้ไข โดยพบว่าแต่ละประเทศในกลุ่ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบผลในการลด ช่องว่างด้านการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดย เวียดนามสามารถลดช่องว่างด้านการพัฒนา ทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศได้ดี ลาวสามารถลดช่องว่างกับประเทศสมาชิก ได้ดี แต่ความเหลื่อมล้ำในประเทศยังคงสูง ในขณะที่ความเหลื่อมล้ำภายในของกัมพูชาลดลง แต่ความแตกต่างกับประเทศสมาชิก ยังสูงอยู่ อย่างไรก็ดี ควรดำเนินมาตรการ ต่าง ๆ เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนา ได้แก่ การบรหิารจดัการนโยบายการคลังและระบบ การจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ การให้ความคุ้มครองทางสังคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีนโยบายการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในภาคการเกษตร

๒. ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute: TDRI) ชี้ให้เห็นว่าการมีหนี้สาธารณะเป็นเรื่องที่ จำเป็นสำหรับประเทศที่ยังมีฐานภาษีต่ำและ ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนใน ระบบความคุ้มครองทางสังคม ระบบสวสัดกิาร แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงมากคือการบริหาร หนี้สาธารณะให้มีพื้นที่การคลัง (fiscal space) มากพอเพื่อที่จะรองรับความจำเป็นในอนาคต หากมีการขาดดุลเมื่อจำเป็น สำหรับการ บริหารหนี้สาธารณะสามารถทำได้ดังนี้

๑) เพิ่มรายได้รัฐอย่างเป็นธรรมและลด ความเหลื่อมล้ำ เช่น การจัดระบบภาษีให้มีลักษณะอัตราก้าวหน้า (progressive) และตรงตามหลักความเสมอภาคทางภาษี และมีการเพิ่มภาษีใหม่ๆ โดยเฉพาะจากฐานทรัพย์สิน

๒) วางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ใช้ จ่ายเพื่อสร้างฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริงในสังคม

๓) บริหารหนี้สาธารณะอย่างโปร่งใส มีการ วางแผนระยะปานกลางถึงยาว (๕ ปีเป็นอย่าง น้อย) และบริหารภาระทางการคลังอย่าง เหมาะสม

๒.๑ เงื่อนไขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ๓ กรณี คือ
๑) ภาวะเศรษฐกิจปกติการคลัง ไทยมีโครงสร้างขาดดุลโดยพื้นฐาน เนื่องจาก รายได้รัฐบาลเพียงสามารถใช้สำหรับราย จ่ายประจำเท่านั้น
๒) การมีโครงการพิเศษ ต่าง ๆ ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ
๓) สิ่งที่รัฐบาลควรระวังเป็นพิเศษคือ ในกรณีที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำว่า ๖% ต่อป หนี้ต่อรายได้ประชาชาติจะอยู่ในระดับที่เกิน ๖๐% หากไม่มีการควบคุมรายจ่ายและปรับ ลดงบพิเศษลง

๒.๒ การบริหารโอกาสและความเสี่ยง เห็น ว่าตัวเลขหนี้สาธารณะที่ค่อนข้างสูงในระยะ ปานกลาง ในขณะที่ยังมีความไม่แน่นอนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต การบรหิารจดัการโอกาสและความเสยี่งจงึเปน็ เรื่องที่จำเป็นมาก ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะใน การบริหารโอกาสดังนี้

๒.๒.๑ รัฐบาลควรส่งเสริมมาตรการอื่น ๆ เช่น การพัฒนาคน (การศึกษา แรงงาน การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาสถาบัน หลักของเศรษฐกิจ (ทั้งภาคการเมือง ราชการ เอกชน) เพื่อให้การขยายตัวระดับสูงมีความ ยั่งยืน ไม่เพียงหวังพึ่งการอัดฉีดลงทุนเท่านั้น อีกทั้งจะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดัก ประเทศรายได้ปานกลางได้อย่างแท้จริง

๒.๒.๒ ข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการ ความเสี่ยง ในระยะสั้นในกรณีที่เศรษฐกิจ ขยายตัวช้าเพียงต่ำากว่าร้อยละ ๔ – ๕ (ด้วย ปัจจัยการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ช้าลง) จะส่งผลให้หนี้สาธารณะของไทยพุ่งสูงขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดมาจากระบบภาษีของไทยที่ มีความอ่อนไหวต่อสภาวะเศรษฐกิจสูง โดย เฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีปัญหา โดย อัตราดอกเบี้ยแท้จริงอาจปรับตัวขึ้นในระยะ ๒ ปีข้างหน้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งอาจจะส่งผลให้ ภาระหนี้และยอดหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับปัจจัยเสี่ยงในระยะยาวยังมีความไม่ แน่ชัดว่า ไทยจะหลุดพ้นจากกับดักประเทศ รายได้ปานกลางได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจัยการ ผลิตและทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน รวม ถึงโครงสร้างพื้นฐานของไทย ไม่เอื้อต่อการ หลุดพ้นออกจากกับดักดังกล่าว และรัฐบาล ยังไม่มีแผนการปรับระบบภาษีอย่างที่ควรเป็น รัฐยังไม่สามารถเพิ่มรายได้ภาษีจากภาษีบาง ประเภทได้ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษี VAT เป็นต้น ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง ในระยะสั้นควรเป็นการปรับลดการใช้จ่ายที่ ไม่จำเป็นลง ตัวอย่างเช่นหากมีการปรับลด การขาดทุนที่เกิดจากโครงการจำนำข้าวลงให้ เหลือไม่เกินปีละ ๗๐,๐๐๐ ล้านบาทจะช่วย เพิ่มพื้นที่ทางการคลังเท่ากับประมาณร้อยละ ๕ ของรายได้ประชาชาติได้ในระยะเวลา ๕ ปี สามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาล ไทยอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง