ในเดือนมกราคม ปี ๑๙๖๘ เวียดนาม เหนือเปิดฉากบุกรุกรานเวียดนามใต้ สถานการณ์การรบเริ่มรุนแรงขึ้นมาก ในวันที่ ๓๑ มกราคม ซึ่งเป็นวันเทศกาล Tret วันขึ้นปีใหม่ของชาวเวียดนาม กองทัพ เวียดนามเหนือและเวียดกง ได้กระจายการ โจมตีค่ายทหารต่าง ๆ ทั่วเวียดนามใต้ ส่วน หนึ่งของสมรภูมิที่ต้องจดจำอยู่ที่เมือง Khe Sanh ซึ่งอยู่ใต้เขตปลอดทหาร กองทัพบก เวียดนามเหนือได้พยายามบุกบดขยี้ค่ายทหาร นาวิกโยธินอเมริกันที่เมืองนี้ โดยคาดหวังว่า น่าจะใช้เวลาเผด็จศึกศัตรูตะวันตกในเวลาไม่นานนัก หมายจะสร้างความฮึกเหิมให้แก่ ทหารของตนในศึกใหญ่ที่รอการรุกคืบลงใต้ต่อไป แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักเพราะเป็นหนามยอกใจอีกต่างหาก ทหารเวียดนามเหนือ ล้อมกรอบและพยายามก่อกวนโจมตีต่อการตั้งรับที่เหนียวแน่นของทหารนาวิกโยธินอเมริกัน นานถึง ๗๗ วัน กว่าจะตีค่ายแตก ทหารนาวิก โยธินอเมริกันในค่ายนี้จะไม่สามารถต่อสู้ในศึก ที่ยืดเยื้อได้นานถึงขนาดนี้ได้เป็นอันขาด ถ้าไม่มีการคุ้มกันที่ดีและการส่งกำลังบำรุงที่ใจถึง จากการบินโจมตีเพื่อคุ้มกันและการส่งกำลัง บำรุงทางอากาศของกำลังทางอากาศ

การรุกคืบขนาดใหญ่ระลอกที่สองเกิด ขึ้นในเดือนพฤษภาคม ทหารเวียดนามเหนือ สองกองร้อยเข้าโจมตีค่ายทหารพลรบพิเศษ ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ที่เมือง Kham Duc เป็นเมืองในหุบเขาทางใต้ของเมือง Khe Sanh ประมาณหนึ่งร้อยไมล์และห่างจาก ชายแดนลาวเพียงแปดไมล์ ที่ค่ายทหารเมืองนี้ ได้รับการเสริมกำลังจากทหารเวียดนามใต้ และกำลังทหารจัดตั้งชาวม้ง เพื่อเป็นปราการ ที่แข็งแกร่งต่อต้านการบุกลงใต้ของกองทัพ เวียดนามเหนือ เนื่องด้วยชัยภูมิแล้ว Kham Duc เป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางกู้ชาติที่ต้อง เคลื่อนทัพผ่านของเวียดนามเหนือหรือ “The Ho Chi Minh Trial”

เมือง Kham Duc มีสนามบินลาดยางที่ ยาว ๖,๐๐๐ ฟุต สร้างขึ้นในปี ๑๙๕๐ โดย Ngo Dinh Diem ผู้นำเวียดนามใต้ สำหรับ การขนส่งวัสดุสิ่งก่อสร้างบ้านพักกลางป่าเพื่อ การพักผ่อนล่าสัตว์ของเขา ในส่วนของค่ายทหารประจำเมืองแล้ว ไม่ได้ถูกออกแบบ และก่อสร้างเพื่อป้องกันการยิงของกระสุน ปืนใหญ่หรือการบุกอย่างหนักของทหารราบ แต่อย่างไร จึงเป็นค่ายที่ค่อนข้างเปราะบาง ในการป้องกันตนเอง และยากในการต่อสู้ต่อ ต้านในระยะยาว การรบพุ่งที่เมืองนี้เกิดขึ้นใน วันที่ ๖ พฤษภาคม ที่ญานปฏิบัติการหน้า Ngoc Tavak ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ไปสามไมล์มีการสูญเสียเป็นจำนวนมาก ฮ.ของนาวิกโยธิน ถูกทำลายไปสองลำผู้รอดชีวิตที่เหลือล่าถอย ไปปักหลักที่ค่ายใหญ่ของเมือง การเสริมกำลัง โดยระบบส่งกำลังและส่งกลับทางอากาศเริ่ม เกิดขึ้นในช่วงวันที่ ๑๐ – ๑๑ พ.ค. แต่ก็เป็น ไปด้วยความยากลำบากและเต็มไปด้วยการ ต่อต้านของก?าลังภาคพื้นของเวียดนามเหนือ เนินเขาสูงรอบ ๆ สนามบินถูกยึดครองเป็น ที่สูงข่มหลุมปืนเพื่อการป้องกันสนามบินถูก ทำลายและเปลี่ยนเจ้าของ เมื่อการต้านทาน ถึงขีดจำกัด ผู้นำทางทหารของสหรัฐอเมริกา ในเวียดนามใต้ Army Gen.William C.Westmoreland และของเวียดนามใต้เอง ได้ตัดสินใจสั่งการอพยพและถอนทหารพร้อม ยุทโธปกรณ์ออกจาก Kham Duc

เฮลิคอปเตอร์ของ ทบ.และ นย.สหรัฐ ต้องรับภารกิจการอพยพคนมากกว่าหนึ่ง พันคนซึ่งเป็นทั้งทหารอเมริกันและทหาร เวียดนามใต้พร้อมครอบครัวของพวกเขา ซึ่งเป็นภารกิจเพียงครึ่งหนึ่งของการอพยพ ทั้งหมด ส่วนที่เหลือจึงเป็นหน้าที่ของการส่ง กลับทางอากาศโดยเครื่องบินปีกตรึงของกอง ทัพอากาศสหรัฐอเมริกา การสั่งการขน ส่งกลับทางอากาศเริ่มเมื่อ ๐๘.๓๐ ของวันที่ ๑๒ พ.ค. โดย Air Force’s 834th Air Division ซึ่งมี C-130s และ C-123s ประจ?าการอยู่ ภายใต้นโยบาย ใช้ขีดความสามารถและความ พยายามอย่างที่สุดในการอพยพที่ Kham Duc

C-130 เป็นเครื่องบินขนส่งทางอากาศ (Airlifter) ซึ่งเริ่มโด่งดังเป็นที่ยอมรับและจะ เป็นต?านานไปอีกนานของ Airlifter ตั้งแต่ยุค นั้น ก?าลังเข้ามาทดแทนความชราภาพของรุ่น พี่อย่าง C-123 ซึ่งมีขีดความสามารถในการ บรรทุกน้อยกว่า C-130 ถึงสามเท่า แต่อย่างไร ก็ตาม C-123 ก็ยังมีรุ่น K คือ C-123K ซึ่งติด เครื่องยนต์เจ็ตขนาดเล็กสองเครื่องยนต์ไว้ใต้ โคนปีกเพื่อเพิ่มแรงขับขึ้นเป็นพิเศษ และได้ รับมอบหมายภารกิจให้ปฏิบัติการในพื้นที่ห่าง ไกลในแนวหน้าที่ที่มีสนามบินไม่ยาวและไม่ดีนัก ดังนั้นนักบินและลูกเรือของ C-123K จึงเป็น พวก Airlifter ที่ใจเพชรจริง ๆ

เพื่อเป็นการเปิดทางให้การอพยพทาง อากาศเป็นไปได้และปลอดภัยที่สุด ในวันที่่ ๑๒ พ.ค. ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. การบูรณาการ โจมตทีงิ้ระเบดิทางอากาศของกำลงัทางอากาศ สหรัฐอเมริกาในภูมิภาคโดย 7th USAF รวมถึง ที่ประจำการในเวียดนามใต้และประเทศไทย นับตั้งแต่เจ้ายักษ์อย่าง B-52s ไปจนถึง เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดทางยุทธวิธี ได้ระดม บินทิ้งระเบิดแบบปูพรมในเขตข้าศึกยึดครองตลอดทั้งวัน

ที่สนามบิน Kham Duc นั้น ในระหว่างที่ มีการโจมตีทิ้งระเบิดเพื่อกดการบุกของข้าศึก การบินปฏิบัติการอพยพก็เกิดขึ้นอย่างเร่งรีบ แข่งกับเวลา เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ทุก แบบที่มีอยู่ในบริเวณยุทธบริเวณและฐานบิน ที่ห่างไกล ถูกระดมมาร่วมปฏิบัติการนี้ตาม คุณลักษณะและขีดความสามารถของเครื่อง สำหรับในบริเวณสนามบินเองมีตั้งแต่ CH-47, A-E1, O-2 และ C-130 ซึ่งการบินของเขาเหล่านี้ ต้องบินฝ่าคมกระสุนจากการต่อต้านภาคพื้นอย่างหนาแน่น มีหลายเครื่องที่ต้องสูญเสียแต่ หลายเครื่องก็บินฝ่าออกไปได้พร้อมร่องรอย กระสุนพรุนไปตามลำตัวเครื่อง ซึ่งพื้นที่หลัก ที่อพยพไปคือ Cam Ranh Bay Base

“Crossbow” ซึ่งเป็นนามเรียกขานของ The Ground Commander ได้ประกาศ เมื่อเวลา ๑๖.๓๐ น. ว่า กำลังพลทั้งหมดได้ อพยพออกจากสนามบินหมดแล้ว และขอ ให้มีการโจมตีทิ้งระเบิดทำลายสนามบินและ ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหลือต่อไป สภาพของ สนามบินในขณะนั้น เต็มไปด้วยซากปรักหัก พังของการถูกระดมโจมตี ทางวิ่งกลาดเกลื่อน ไปด้วยเศษซากวัสดุและเครื่องบินที่อาภัพไป ต่อไม่ได้อีกแล้วเนื่องจากถูกยิงถล่มอย่างหนัก The Airborne Command Post ทันที ได้รับการแจ้งจาก Crossbow ไดส้งั่การให้บ.โจมตีทิ้งระเบิดที่พร้อมอยู่แล้วบนฟากฟ้าเข้าทิ้งระเบิด ทำลายสนามบินให้หมดสภาพที่ข้าศึกจะนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป จุดเริ่มต้นของวีรกรรม C-123K ได้เกิดขึ้นแล้ว “Negative Negative Negative”…“I just let three members of the combat control team off” เป็นเสียง การโต้ตอบวิทยุจาก นักบิน C-130 ที่เพิ่งวิ่งขึ้น เที่ยวสุดท้ายจากสนามบิน โดยที่ไม่รู้ว่าทหาร หาญของพวกเขายังหลงเหลือที่สนามบินอีก สามคน มารู้ก็ต่อเมื่อเครื่องเกาะอากาศยกตัว ขึ้นจากสนามบินแล้ว และในเวลาที่ใกล้เคียง กับคำสั่งของ The Airborne Command Post ให้ทำลายสนามบิน “Hillsboro” นาม เรียกขานของ The Airborne Battlefield Command and Control Center (ABCCC) ซึ่งควบคุมในภาพรวมทั้งหมดของการ ควบคุมและสั่งการ ได้สั่งการให้ชะลอการ โจมตีทิ้งระเบิดสนามบินในทันทีพร้อมกับ สั่งให้เครื่องบินตรวจการณ์แบบ O-1 และ O-2 เข้าบินตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ ไร้ผล พวกเขาไม่พบร่องรอยหรือธงที่น่าจะ ถูกทิ้งไว้ให้ตรวจพบได้ทางอากาศ ซึ่งอาจเป็น เจตนาก็เป็นไปได้ เพราะถ้าข้าศึกเห็น ก็จะเป็นการชักนำเภทภัยมาสู่ทหารเอง แต่อย่างไรก็ตามภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตทหารทั้ง สามนายยังต้องดำเนินต่อไปในทุกทางที่เป็นไปได้