ทะเลจีนใต้เป็นดินแดนที่มีความ ขัดแย้งหลายประเทศได้อ้าง สิทธิ์ในการครอบครอง เป็นเขต ที่ทับซ้อนจะก่อความขัดแย้งไปอีกนานกว่าจะหาทางออกโดยสันติภาพ การเพิ่มขีดความ สามารถทางอากาศนาวีจึงมีความสำคัญของ ทุกประเทศที่ขัดแย้ง เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ทางนาวีแบบซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx) เป็น เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กที่มีขีดความ สามารถสงู มปีระวตัปิฏบิตักิารทางทหารที่ดีในหลายภูมิภาคของโลก สามารถจะนำปปฏิบัติ การบนเรือรบขนาด ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ตัน เป็นเรือฟรีเกต (ด้านท้ายเรือมีลานจอดเครื่อง บินพร้อมด้วยโรงเก็บ) ประจำการทั่วไปของ กองทัพเรือกลุ่มประทศอาเซียนมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเรือพิฆาตทั่วไปขนาด ๕,๐๐๐ ตัน เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทางนาวี ใช้ฐานบินบนเรือฟรีเกตจึงมีความสำคัญยิ่งใน ภารกิจทางทะเล เช่น ลาดตระเวนทางทะเล ค้นหาและกู้ภัยทางทะเล (SAR) ต่อต้านเรือ ผิวน้ำและเรือดำน้ำ (ASW) และการขนส่งทางทะเล

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบลิงซ์ (Lynx) เริ่มต้นพัฒนาขึ้นกลางปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อ ทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่าแบบวาส์ฟ (Wasp) สร้างเครื่องต้นแบบและทำการขึ้นบินครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เริ่มต้นการผลิตครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ภารกิจ ขนส่งติด อาวุธเบำต่อต้านรถถัง (Lynx AH.7 จรวด โทว์แปดท่อยิง) และลาดตระเวน เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์แบบซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx 100) มีข้อมูลสำคัญคือนักบิน ๒ นาย บรรทุก ผู้โดยสาร ๘ ที่นั่ง ขนาดยาว ๑๕.๒๔ เมตร เส้น ผ่าศูนย์กลางใบพัด ๑๒.๘๐ เมตร (ชนิดสี่กลีบ) สูง ๓.๗๓ เมตรน้ำหนักปกติ ๓,๒๙๑ กิโลกรัม (๗,๒๕๕ ปอนด์) เครื่องยนต์ เทอร์โบชาฟท์ ขนาด ๑,๑๒๐ แรงม้า (๒ เครอื่ง) ความเร็ว ๓๒๔ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภารกิจโจมตีติดตั้งอาวุธ ประกอบด้วยปืนกลขนาด ๗.๖๒ มิลลิเมตร, ปืนกลอากาศขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร, จรวด ขนาด ๗๐ มิลลิเมตร (กระเปาะจรวด) ภารกิจ ทางทะเล ติดตั้งตอร์ปิโด ๒ ลกู และจรวดนำวิถีอากาศ-สู่-เรือ แบบ ซีสกัว (Sea Skua) ๔ ลูก พร้อมทั้งระเบิดน้ำลึก ๒ ลูก

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตระกูลลิงซ์ (LynxHAS.2) กองทัพเรืออังกฤษนำออก ปฏิบัติการทางทหารสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ใช้ในภารกิจปราบเรือดำน้ำ (ASW) เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ลิงซ์ (Lynx) ๒ เครื่องจากเรือรบโคเวนทรีและเรือรบกลาสโก ได้ทำการยิงลูกจรวดซีสกัว (Sea Skua) ๔ ลูก สามารถจมเรือรบอาร์เจนติน่าได้รวม ๒ ลำต่อมาในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๔ กองทัพอังกฤษได้น?าเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ลิงซ์ (Lynx AH.7) เข้าปฏิบัติ การทั้งรุ่นติดตั้งจรวดนำวิถีต่อต้านรถถังแบบ โทว์ (TOW) ทำการรบทางตอนใต้ของอิรัก ที่เมืองบาสร่ำ(Basra) สามารถท?าลายรถถัง อิรักแบบ ที-๕๔ ได้หลายคัน และเครื่องบิน เฮลคิอปเตอร์แบบลิงซ์ (Lynx) จำนวน ๖ เครื่อง ประจำการบนเรือพิฆาตและเรือฟรีเกต ในวนัที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ลิงซ์ (Lynx) ได้ยิงจรวดนำวิถีแบบ ซีสกัว (Sea Skua) จมเรือกวาดทุ่นระเบิด ๒ ลำของกองทัพเรืออิรัก ต่อมาในวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ลิงซ์ (Lynx) ๔ เครื่องเข้าโจมดีกองเรืออิรัก ๑๗ ลำ เรือยนต์เร็วโจมตีเรือกวาดทุ่นระเบิด และเรือยกพลขึ้นบก ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของการรบทางบกที่รู้จักในชื่อการรบที่คัฟจี (Khafji) ได้ทำการยิงด้วยจรวดซีสกัว (Sea Skua) สามารถจมเรอืรบอริกัไดร้วม ๒ ลำ

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตระกูลลิงซ์ (Lynx) ได้ผลิตออกมาหลายรุ่นที่ใช้ปฏิบัติการทาง ทะเลที่สำคัญคือ รุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค ๒๑ เอ (กองทัพเรือบราซิล), รุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๒๗ (กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์), รุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๖๔ (กองทัพเรืออัฟริกาใต้), รุ่นซูเปอร์ ลิงซ์ เอ็มเค.๘๘ เอ (กองทัพเรือเยอรมัน), รุ่น ซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๘๙ (กองทัพเรือไนจีเรีย), รุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๙๕ (กองทัพเรือ โปรตุเกส), รุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๙๙ (กองทัพ เรือเกาหลีใต้), รุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๑๐๐ (กองทัพเรือมาเลเซีย) และรุ่นซูเปอร์ลิงซ์ เอ็มเค.๑๑๐ หรือซูเปอร์ลิงซ์ ๓๐๐ (กองทัพ เรือไทย)

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทางนาวีแบบ ซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx) ประจำการ ๑๑ ประเทศคือ อังกฤษ (๔ ฝูงบิน), ฝรั่งเศส (๒๑ ฝูงบิน), เยอรมัน (๑๙ ฝูงบิน), โปรตุเกส (๓ ฝูงบิน), เนเธอร์แลนด์ (๑๐ ฝูงบิน), บราซิล (๙ ฝูงบิน), อัฟริกาใต้ (๔ ฝูงบิน), ไนจีเรีย (๓ ฝูงบิน), เกาหลีใต้ (๑๒ ฝูงบิน), มาเลเซีย (๖ ฝูงบิน) และไทย (๒ ฝูงบิน)

กองทัพเรือมาเลเซียประจำการเครื่องบิน เฮลคิอปเตอรท์างนาวีแบบซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx 100) รวม ๖ เครื่องแยกเป็นรุ่นต่อต้าน เรือผิวน้ำ ๔ เครื่อง ติดตั้งจรวดนำวิถีต่อต้าน เรือผิวน้ำแบบซีสกัว (Sea Skua) และรุ่นต่อ ต้านเรือดำน้ำ ๒ เครื่อง ติดตั้งตอร์ปิโดต่อต้าน เรือดำน้ำประจำการฝูงบิน ๕๐๑ เมื่อปฏิบัติ การทางทะเลก็จะนำเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx) บินไปลงที่ด้านท้าย เรือฟรีเกตจรวดนำวิถีชั้นลีเคียว (Lekiu) ขนาด ๒,๒๗๐ ตัน รวม ๒ ลำและเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) ชั้นเคด้ำ(Kedah) ขนาด ๑,๙๐๐ ตัน รวม ๖ ลำกองทัพเรือมาเลเซียทำการยิง ทดสอบจรวดนำวิถีแบบซีสกัว (Sea Skua)

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ไปยัง เป้าเรือทดสอบระยะยิงไกล ๑๒.๘ กิโลเมตร ผลการยิงทดสอบล้มเหลว ต่อมาวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ทำการยิงทดสอบ จรวดนำวิถีแบบซีสกัว (Sea Skua)เป็นครั้งที่ สอง จากเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx) ที่ระยะไกลสุด ผลการยิงทดสอบประสบผลสำเร็จสามารถทำลายเป้าหมายได้

กองทัพเรือไทยประจำการด้วยเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx 300)จ?านวน ๒ เครื่อง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ฝูงบิน ๒๐๓ มีชื่อเรียกว่าเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ (ฮ.ตผ.๑) กองบิน ๒ สามารถ ลงจอดบนเรือรบขนาดใหญ่ได้ ปฏิบัติการบน เรือฟรีเกตหลักคือเรือหลวงนเรศวร (HTMS NARESUAN: FFG 421) และเรือหลวงตากสิน (HTMS TAKSIN: FFG 422) มีลานจอดเครื่อง บินเฮลิคอปเตอร์ทางด้านท้ายเรือพร้อมโรง เก็บ ยังสามารถปฏิบัติการบนเรือฟรีเกตที่ กำลังต่อใหม่อีก ๒ ลำ