หากย้อนดูพระราชดำรัสของพระบาทสมเดจ็พระเจ้อยู่หัววันที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในห้วงระยะเวลากว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมา ถ้อยคำที่เกี่ยวเนื่องกับรู้รักสามัคคีมีอยู่ บ่อยมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะทรงตระหนักเป็นอย่างดีด้วยพระองค์เองว่าเป็น คำที่มีความสำคัญและในความเป็นจริงยัง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยาก จึงได้ทรงรับสั่งบ่อย ครั้งเสมือนต้องการเตือนสติประชาชนคน ไทยตลอดมา…

คนไทยผ่านวันเวลาแห่งความขัดแย้งถึง ขั้นรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง เป็นความรุนแรง ที่เมื่อย้อนอดีตกลับมาคราใด ก็หาได้ซึมซับ รับรู้และแก้ไขในบทเรียนนั้นแต่ประการใด แม้การรู้รักสามัคคี หรือการประนีประนอม จะคือคุณลักษณะพิเศษของสังคมไทยที่หลาย ครั้งเป็นคุณมากกว่าเป็นโทษ เป็นคุณลักษณะ ที่ทำให้สังคมไทยมีลักษณะสันติและสามารถ แสวงหาสันติได้โดยรวดเร็ว ไม่ว่าสถานการณ์ การเมืองจะตึงเครียดหนักหนาสาหัสสักเพียง ใดก็ตาม และบ่อยครั้งที่เราจะพบว่าภายหลัง ความบอบช้ำของประเทศชาติความรู้รักสามัคคี จะนำไปสู่การสลายความขัดแย้งได้เป็นอันมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของประชาชนทุกกลุ่ม ทุก หมู่เหล่าแม้แต่ในยุคที่ประเทศไทยต้องสู้รบกับ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็ยิ่งเป็นที่โจษขาน กันอยู่เสมอมาว่า แม้แต่คอมมิวนิสต์ในป่าเขา หรือเขตแดงเขตชมพู ต่างยอมรับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะกษัตริย์ของพวก เขา พระราชจริยวัตรของพระมหากษัตริย์และ พระบรมวงศานุวงศ์ในเขตทุรกันดาร เป็นที่ ประทับใจประชาชนทุกหมู่เหล่า แต่บางครั้ง ความรักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือ ความรักสถาบันได้ทำให้กลุ่มชนบางกลุ่ม แสดงความผิดแผกแตกต่างไปจากสมาชิก ในสังคม ด้วยการอ้างความจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์ เพื่อแยกตัวเองออกจาก ผู้อื่น และกล่าวหาว่าเป็นคนไม่จงรักภักดีี หรืออาจไม่จงรักภักดีเท่ากับตน การกระทำเช่นนี้เองที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกกันขึ้น ความ หมายของการรู้รักสามัคคีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวแท้จริงยิ่งใหญ่มากเป็นจุดเริ่ม ต้นของความขัดแย้งอันเนื่องมาจากเห็นต่าง ได้อย่างดี ช่วยให้เกิดการสลายกลุ่มหรือ ความเป็นฝักฝ่าย ภารกิจสำคัญของชาติคือ การสลายความเป็นฝักฝ่ายลงไปด้วยการ ทำให้อำนาจที่ต่างแย่งชิงนั้น ตกไปอยู่ใน หมู่ของปวงชนได้มากที่สุด ซึ่งแท้จริงก็คือ ความพยายามสลายกลุ่มต่าง ๆ สังคมไทย น่าจะเติบโตเพียงพอที่จะปราศจากการนำ โดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะหากบ้านเมือง มีอะไรซับซ้อนไปมากทุกอย่างก็จะขับเคลื่อน เดินไปข้างหน้าได้อย่างสบายใจ แต่การขาด ความรักการให้อภัย ความเข้าใจในพี่น้อง ซึ่งเป็นสมาชิกร่วมสังคมให้เรื่องง่ายๆ ดูซับซ้อน พิสดารจนต้องตั้งกลุ่มเพื่อเป็นอำนาจต่อรอง ชี้นำสังคม

ภาพรวมของสังคมไทยน่าจะเป็นสังคมที่ดี งามพอสมควร มิฉะนั้นคงจะไม่อยู่มายาวนาน จนถึงทุกวันนี้ ศีลธรรมและจริยธรรมที่ลด น้อยลงไป เป็นเรื่องของกิเลสในตัวบุคคลซึ่งก็ เกิดขึ้นในทุกมุมของโลก การผลักดันให้บ้าน เมืองไปในทิศทางที่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดต้องการ โดยไม่คำนึงถึงสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ ในสังคมหรือ มองคนเห็นต่างเป็นปฏิปักษ์ไปเสียหมดจึงเป็น แนวคิดที่อันตราย เพราะความแตกต่างเป็น เรื่องธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความแตกต่างคือสัญลักษณ์ ของระบอบนี้ ถ้าไม่มีความขัดแย้งแตกต่างก็ จะกลายเป็นเผด็จการ พูดเป็นเรื่องเดียวกัน ไปหมด ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องมีความ แตกต่าง แต่จะต้องมีปัจจัยบางประการมารอง รับความแตกต่างทางความเห็นของคนในชาติ ได้อย่างมีเสถียรภาพ และอาจเป็นสัญญาลักษณ์บางสิ่ง บางอย่างที่มีอานุภาพเพียงพอที่จะทำให้ความ แตกต่างของสมาชิกในสังคมไม่ก้าวไกลไปถึง ขั้นความแตกแยกและแตกต่างเพื่อทำลายกัน และกัน ขณะเดียวกันยิ่งสังคมมีความแตกต่าง มากเท่าไร เราก็ยิ่งจะต้องค้นหาหรือแสวงหา สิ่งนั้นเพื่อลดความแตกต่าง หรือรองรับความ แตกต่างดังกล่าวนั้น เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ความ รุนแรง อย่างเช่น พฤษภาทมิฬ หรือเหตุการณ์ ในปี ๒๕๕๓ เกิดขึ้นซ้ำารอยเดิม ขณะที่เราทุก คนต้องสร้างจิตสำนึกว่าอารยประเทศที่ใช้ ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยในการ ปกครองประเทศ จำเป็นต้องมีอุเบกขาและ ความอดทนของสมาชิกในชาตินั้น ๆ อดทน รอเวลาที่จะใช้กลไกเดียวกันตัดสินผู้ที่บริหาร ประเทศผิดพลาดตามกติกาที่ยอมรับ หากเรา ขาดการยอมรับระบอบ ขาดการยอมรับกติกา ก็เท่ากับเราขาดความเข้าใจประเทศของตนเอง และขาดการให้อภัย ซึ่งจะเป็นเรื่องยากมาก ในการฟื้นฟูสถาปนาสังคมไทยให้รู้รักสามัคคี

ส่วนหนึ่งของความล้มเหลวของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยของหลาย ประเทศรวมถึงประเทศไทยเกิดจากผู้มีปัญญา ผู้รักชาติ และคนจำนวนมากเกิดความไม่มั่นใจในนักการเมือง กลัวว่าประเทศจะถูกซื้อโดยมือของนักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพล ผู้รับเหมา ความกลัว ดังกล่าวทำให้นักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง ถูกตั้งชื่อว่า นักเลือกตั้งและซ้ำายเกลียดกลัว การเลือกตั้ง จนปฏิเสธวิธีการซึ่งเป็นเบื้องต้น ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ เกิดทฤษฎีแสวงหาคน จากการพระราชทาน จากพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเล็งเห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่พอจะเป็น หลักประกันในเรื่องความดีงาม แนวคิดเช่น นี้เกิดขึ้นทุกครั้งเวลาที่มองว่าสถานการณ์ การเมืองเข้าสู่ทางตัน แต่ปัญหาก็คือ การสร้าง รัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มิได้ เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน แม้ กระนั้นผู้ที่ต้องการเปลี่ยนรัฐบาลก็ได้อาศัย เครือข่ายต่างออกมาแสดงความเห็นดีเห็นงามหาช่องทางพิเศษเพื่อการนี้จนได้

คาร์ล ป็อบเปอร์ นักปรัชญาแห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ให้ทัศนะที่น่าสนใจ ว่าในสังคมเปิดที่ให้ค่ากับเสรีภาพของมนุษย์ อย่างมากมายนั้น จนวันหนึ่งเสรีภาพได้ทำให้ มนุษย์ในสังคมเกิดความกลัวขึ้นใจ ความกลัว ต่ออนาคตที่ไม่ปลอดภัยนี้เองนำมาซึ่งความ ตึงเครียดและทำให้มนุษย์ในสังคมหวนกลับ ไปหาหลักประกันของอนาคตโดยย้อนกลับ ไปหาผู้นำหรือผู้ประกันความปลอดภัย เพื่อ โยนภาระแห่งความกลัวทั้งหลายให้กับคน เหล่านั้นแต่เขาไม่เห็นด้วยกับความกลัวเหล่า นั้น เพราะเขาไม่เชื่อว่าสังคมดีที่สุดจะมีอยู่จริง สังคมจะก้าวไปตามความเหมาะสมของยุคสมัยมากกว่าจึงสอดคล้องกับนักคิดอย่าง รองแตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้นี้ก็สรุปวิถี ชีวิตของมนุษย์ไว้เช่นกันว่า เราไม่มีวันรู้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า แต่เราจะ ต้องก้าวไปอย่างมีเสรีภาพและยึดมั่นในความ ดีงาม นั้นคือความกล้า

 

อ่านต่อตอนที่ 2