ต่อจากตอนที่ 1

 

ระบบเลือกตั้งนั้นไม่ใช่ระบบที่ถูกต้องเสมอ ไป แต่เป็นระบบที่สะท้อนถึงการตัดสินใจอย่างมีเสรีของสังคม เป็นระบบที่สังคมใช้เสรีภาพ สร้างหลักประกันให้กับตัวของมันเอง ซึ่งทำให้ ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องไปแสวงหาหลักประกันจากใครก็ตามที่เราจะโยนภาระไป ให้ด้วยการค้นหาคนดี อย่างที่มีผู้เสนอ คนดี จะต้องถูกค้นพบภายใต้เสรีภาพแห่งการตัดสินของสังคม ไม่ใช่ถูกค้นพบภายใต้การโยน ภาระให้กับใครคนใดคนหนึ่ง ภายใต้ความ กลัว สิ่งที่คนไทยจะต้องตอบโจทย์ในใจให้ได้ก็ คือ เราจะพัฒนาระดับเสรีภาพออกไป หรือเราจะทวนกลับมาใช้การฝากหลักประกันด้วยการโยนภาระให้กับคนที่เราเห็นดีในสถานการณ์ หนึ่ง ๆ แล้วหากสถานการณ์เปลี่ยนไป หลัก ประกันนั้นจะสามารถใช้เป็นกฎกติกาได้อีก ต่อไปหรือไม่

ที่ผ่านมาในห้วง ๘ ปี ประเทศไทยใช้หลาย มาตรฐานในการเลือกคนดีมาปกครองบ้าน เมือง แต่ประเทศชาติจะต้องมีหลักอย่างใด อย่างหนึ่งรองรับ คนรักชาติอาจไม่ได้สนใจ เรื่องเสรีภาพเท่ากับสร้างเผด็จการรปูแบบใหม่ ซึ่งจะมีแต่ทำให้สังคมเบื้องหน้าเต็มไปด้วย ความตึงเครียดรอคอยการระเบิด การต่อสู้ที่ รนุแรงขึ้นจะเป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำเล่าเหมือนที่มันเคยเกิดมาแล้ว

พระพุทธศาสนาได้อรรถาธิบายแสดง รูปแบบของอธิปไตย ๓ อธิปไตย คือ

๑. อัตตาธิปไตย ใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ในการ กำหนดความผิด ความชั่ว ความชอบ ความดี โดยอาศัยตัวเองเป็นฐานในการตัดสินวินิจฉัย ซึ่งอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้

๒. โลกาธิปไตย หรือแนวประชาธิปไตย ข้อ นี้ไม่ใช่ข้อยุติตายตัวลงไปว่าจะดีหรือชั่วทันที ทันใด ขึ้นอยู่กับกลุ่มไหนเป็นผู้วินิจฉัย เป็น ตัวชี้เป็นตัวกำหนด ถ้าให้นักปราชญ์ห้าคนมาประชุมร่วมกับโจรห้าร้อย ลงมตินักปราชญ์ ก็ต้องแพ้ เพราะฉะนั้นมตินั้นบางครั้งอาจถูก ต้องก็ได้ อาจจะผิดก็ได้ ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป

๓. ธรรมาธิปไตย ใช้กฎเกณฑ์ธรรมะเป็น มาตรฐานเป็นเครื่องกำหนด เป็นเครื่องบ่งบอก ถึงความดีหรือไม่ดีของบุคคล โดยไม่เอาตัวเอง เข้าไปเกี่ยวข้อง หลักการตรงนี้เป็นหลักการ ของพระพุทธศาสนาที่มองความดีความชั่วของคนเป็นตัวสร้างความเปลี่ยนแปลงให้คน ๆ นั้น เป็นคนดีหรือคนชั่ว

ตัวการสำคัญที่ทำให้หาข้อยุติไม่ได้ก็คือ ความรู้สึกนึกคิดของคนเราต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั้นมีอดีตแตกต่างกัน มีการกำหนดโดยอาศัย ความรู้จักในอดีตมาผสมผสานกับปัจจุบัน ความรู้สึกรักชัง ความรู้สึกเป็นพวกเราพวกเขา ความรู้จักอคติด้วยอำนาจความรักบ้าง ด้วย อำนาจความชังบ้าง ด้วยอ?านาจความกลัวบ้าง บางครั้งบางคราวด้วยอำนาจความหวง เพราะ ฉะนั้นปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมืองที่เรา เห็นจึงพบว่า จะมีคนกลุ่มหนึ่งยกย่อง ป้องกัน คนกลุ่มหนึ่งกล่าวตำหนิหรือประณาม คนกลุ่ม หนึ่งรู้สึกเฉย ๆ อยู่เสมอ ความรู้สึกแบ่งแยก และแตกต่างจึงมีอยู่ตลอดเวลา

เว้นเสียแต่ว่า ๘ ปี มานี้คนไทยต่างรับสื่อ ที่นำพาไปสู่ความเกลียดชัง แตกแยก และลืม ความเป็นคนไทยเนื้อเดียวกัน จนยากแก่การ ประสานโดยง่าย