วิวัฒนาการของรถถังและยานเกราะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และขอบเขตขีดความสามารถได้ถูกพัฒนาให้หลาก หลายกว่ายุคแรกมาก จริงอยู่ที่ว่าระบบอาวุธ ที่สามารถทำลายรถถังได้ดีที่สุดคือ รถถังด้วย กนัเอง แตจ่ากความหลากหลายของยานเกราะ ทำให้จรวดต่อสู้รถถังกลายเป็นระบบอาวุธ ที่กำลังได้รับการพัฒนา เพื่อตามให้ทันกับ พฒันาการของรถถงัและยานเกราะ ในปจัจบุนั สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์โลกมีแนว โน้มการเกิดสงครามขนาดใหญ่น้อยลง กลับ กลายเป็นสงครามนอกแบบที่มีความเด่นชัด มากขึ้น โอกาสที่จะใช้จรวดต่อสู้รถถังจึงลดน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้แนวทางการพัฒนา จรวดต่อสู้รถถังจะไม่มุ่งเน้นที่การทำลายรถถัง หรือยานเกราะเท่านั้นแต่จะขยายขอบเขต ให้สามารถทำลายเป้าหมายอื่นอย่างเช่น สิ่งปลูกสร้าง หรือบังเกอร์ที่มั่น เป็นต้น สำหรับประเทศไทยคุณสมบัติของจรวดต่อสู้รถถังที่ ต้องการจะเป็นระบบอาวุธที่มีระยะยิงไม่ไกล (ไม่เกิน ๕ กิโลเมตร) มีน้ำหนักเบา มีอำนาจการทำลายล้างสูงกว่าอาวุธประจำกาย และสามารถ ใช้สนับสนุนการด เนินกลยุทธ์ของหน่วย ทหารราบได้
พัฒนาการของจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค ได้แก่
ยุคที่ ๑ การนำวิถีแบบแนวสายตา บังคับเส้นลวดด้วยมือ Wired Manual Command to Line of Sight (MCLOS) สำหรับจรวดแบบนี้จะพุ่งเข้าสู่เป้าหมายได้ โดยอาศัยการควบคุมบังคับทิศทางจากฐาน ยิง (Command and Launch Unit, CLU) เพื่อให้จรวดแม่นยำ ผู้ยิงจึงต้องมีความชำนาญ และต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
ยุคที่ ๒ การนำวิถีแบบกึ่งอัตโนมัติแบบ Wired หรือ Semi-Automatic Command Line of Sight (SACLOS) ผู้ยิงจะทำหน้าที่ชี้ เป้าหมายให้กับจรวด โดยข้อมูลของเป้าหมาย จะมีการรับส่งข้อมูลผ่านตามสายทองแดง มายังระบบบังคับทิศทางของจรวด เพื่อให้ พุ่งเข้าสู่เป้าหมาย ตัวอย่างของจรวดแบบนี้ ได้แก่ BGM-71 TOW ของสหรัฐอเมริกา หรือ MILAN ของฝรั่งเศส สำหรับในกองทัพไทยมี จรวดนำวิถีแบบ BGM-71 TOW ประจำการ
ยุคที่ ๓ จรวดแบบ Anti-Tank Guided Missile (ATGM) ความสามารถที่โดดเด่น ของจรวดแบบนี้คือ “ความสามารถในการยิง แล้วลืม” (Fire-and-Forget) กล่าวคือ จรวด ระบบนี้นอกจากจะสามารถพุ่งเข้าสู่เป้าหมาย ได้ด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติแล้ว ผู้ยิงยังสามารถ เลือกตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนของเป้าหมายใน การเข้าโจมตีด้วย เช่น การโจมตีด้านบนของตัวรถถัง (Fly over Shoot Down) ด้วยหัว รบแบบ Tandem เพื่อทำลายเกราะปฏิกิริยา (Explosive Reactive Armor, ERA) หรือ การโจมตีแบบที่สามารถเปลี่ยนเป้าหมายหลัง จากที่จรวดถูกยิงออกจากลำกล้องไปแล้ว โดย ในระบบนี้ จรวดจะมีระบบค้นหาเป้าหมาย (Seeker) ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์รับภาพแบบ CCD (Charge Couple Device) สำหรับปฏิบัติการ ในเวลากลางวันและเซ็นเซอร์รับภาพแบบ IIR (Imaging Infrared) ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งปฏิบัติ การในเวลากลางวันและกลางคืน
จากสถานภาพของจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง ที่ประจำการในกองทัพไทยกำลังใกล้จะหมด อายุ นำไปสู่การศึกษาความเป็นไปได้ของการ ดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาจรวดนำวิถีต่อสู้ รถถัง โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ซึ่งหากพิจารณาความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีแล้ว เครื่องมือ และอปุกรณ์สำหรับการวิจัยและพัฒนาความพร้อม แต่ยังขาดองค์ความรู้ด้านระบบชนวน และระบบนำวิถี และ สทป. เชื่อมั่นว่าองค์ ความรู้ที่ได้จากการวิจัยพัฒนาโครงการ DTI1G (จรวดหลายลำกล้องนำวิถี) จะสามารถนำ มาประยุกต์ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น แนวทางในการดำเนินงานในขั้นต้นจึงควรเริ่มต้นจาก ง่ายไปหายาก กล่าวคือ เริ่มต้นจากจรวดไม่ นำวิถี ก่อนก้าวไปสู่ระบบนำวิถี และพัฒนา จรวดพิสัยใกล้ก่อน แล้วจึงขยายระยะยิง และติดตั้งระบบนำวิถีต่อไป สำหรับตัวจรวด สทป. มีขีดความสามารถวิจัยพัฒนาขึ้นได้เอง แล้ว ส่วนหัวรบนั้น สามารถใช้ทรัพยากรที่ กระทรวงกลาโหมมีอยู่แล้วในการดำเนินการ จะเห็นได้ว่าการวิจัยพัฒนาระบบจรวดนำวิถี นั้นเป็นงานที่ท้าทาย ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยการ ร่วมมือร่วมใจกันของหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ หน่วยผู้ใช้ หน่วยวิจัยพัฒนา และผู้ผลิต แต่ นับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากสิ่งนี้จะ นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างยั่งยืน ต่อไป