หลักการแห่งความสำเร็จสู่หนทางแห่งชัยชนะ คือ อย่าแพ้
“เราจะชนะ เพราะว่า เราจะไม่แพ้” นายพลแพตตัน จะอธิบายต่อกำลังพลว่า “สงครามเป็นเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งชีวิต! เกมส่วนมากจะเล่นในเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น อเมริกันฟุตบอลก็เล่นกันสี่ควอเตอร์ หรือเบสบอลก็เล่นกันเก้าเกม ไม่เหมือนกับสงคราม เราจะต้องต่อสู้จนกว่าเราจะชนะ เราจะไม่ ยอมแพ้”
ตรรกวิทยาของนายพลแพตตัน เป็นเรื่อง ง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้ เป็น เรื่องที่ชัดเจนว่านายพลแพตตัน จะไม่แพ้ นายพลแพตตันให้คำอธิบายเพิ่มเติมใน
ปรัชญาของท่านที่เต็นท์ของท่านเอง
“ไม่มีการแพ้ถ้ามนุษย์ปฏิเสธที่จะยอมรับ ความพ่ายแพ้ สงครามจะแพ้ในจิตใจก่อน ต่อมาจึงแพ้ในสนามรบ ไม่มีชาติชาติใดพ่ายแพ้จนกว่าพลเมืองของชาตินั้นตั้งใจที่จะยอมรับความ พ่ายแพ้ อังกฤษได้พ่ายแพ้ ความหวังสิ่งเดียว คือ เชอร์ชิลล์ปฏิเสธการยอมรับความพ่ายแพ้ ถ้าพลเมืองตั้งใจที่จะสละชีวิตเพื่อประเทศชาติของเขาแล้ว ก็มีหนทางเดียวที่ชาตินั้นจะ พ่ายแพ้ได้ คือ ทุกคนต้องถูกฆ่าตายหมด ไม่ ว่าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ๆ ในประวัติศาสตร์ ของโลกไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นว่านี้เกิดขึ้น สงครามพ่ายแพ้กันที่จิตใจ เราจะไม่สารภาพ ต่อกำลังพลหรือต่อข้าศึกว่า เราจะยอมรับ ความพ่ายแพ้”
ความคิดในเรื่องนี้สัมพันธ์กับความคิดของ นายพลแพตตันในเรื่องที่ว่าร่างกายมนุษย์ ไม่มีการเหนื่อย จิตใจนั่นแหละที่คิดถึงความ เหนื่อย จิตใจสามารถขจัดความเหนื่อยออก ไปจากร่างกายได้
หลักการนี้ดูเหมือนว่าเป็นหลักการใหม่ แต่มันมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล นายพลแพตตัน จะอธิบายว่า “มีคำจำกัดความของคำว่า ความตายอยู่หลายความหมายในคัมภีร์ไบเบิ้ล เช่น “เขายอมแพ้ยมทูต” คนป่วยหลายคนใน โรงพยาบาลตายไปเพราะพวกเขายอมจำนน และยอมรับความพ่ายแพ้นั้น ๆ ผมนึกถึงชาย คนหนึ่งซึ่งสร้างโลงศพของตัวเอง พอทำโลง ศพเสร็จชายคนนี้ก็ตาย ผมรู้จักคนหลายคนที่ ปลดประจำการ เพื่อสร้างบ้านในฝันของพวกเขา พอบ้านสร้างเสร็จพวกนี้ก็ตาย มนุษย์ต้อง ทำสงครามกับชีวิต ถ้าเขาต้องการที่จะอยู่ต่อเขาจะไม่พ่ายแพ้ ถ้าเขาไม่ยอมจำนนต่อความ พ่ายแพ้นั้น”
หลายปีต่อมา เมื่อผมได้ยินวาทะที่มีชื่อเสียงของเชอร์ชอลล์ ผมก็สงสัยขึ้นมาว่าใครมีความคิดนี้ก่อนกัน นายพลแพตตัน หรือนายกฯ เชอร์ชิลล์ วาทะของเชอร์ชิลล์ มีอยู่เก้าคำคือ
“อย่ายอมแพ้! อย่ายอมแพ้! อย่ายอมแพ้!” นายพลแพตตัน และเชอร์ชิลล์ เคยไปมา หาสู่กันหลายครั้งในช่วงแรกของสงคราม มัน ไม่สำคัญหรอกที่ใครจะพูดเป็นคนแรก ความ คิดเบื้องหลังคำพูดดังกล่าวมีส่วนช่วยประเทศอังกฤษ และได้ช่วยนายพลแพตตันให้มีชัยชนะหลายครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง
มีหลายตัวอย่างในเรื่องความคิดง่าย ๆ แบบนี้ในศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลผ่าตัด ของทหารมักจะเล่าเรื่องซ้ำ ๆ เสมอที่ว่า นัก กระโดดสูงคนหนึ่งเสียขาไปหนึ่งข้างแต่เขาได้ ปฏิเสธที่จะหยุดการกระโดดสูง จิตใจควบคุม ร่างกาย! ด้วยขาข้างเดียว เขาสามารถกระโดด ได้สูงกว่าที่เขาเคยกระโดดได้ด้วยขาสองข้าง เขาสามารถกระโดดข้ามคานด้วยขาข้างเดียว ก็ตอนที่เขามีสองขาน่ะ เจ้าขาข้างที่ถูกตัดไป มักจะเกี่ยวคานอยู่เสมอ
แพทริค เฮนรี่ (Patrick Henry) ได้ให้
ปรัชญานี้ในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ (ค.ศ. ๑๗๗๖) เมื่อเขาได้กล่าวว่า “จงมอบเสรีภาพให้ข้าพเจ้า หรือไม่ก็มอบ ความตายมาเถอะ”