คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในระยะหลังประเทศไทยได้สร้างทฤษฎีการ ปิดล้อมด้วยมวลชนเพื่อล้มรัฐบาล อย่างมีรูปแบบ จนกำลังเป็นโมเดลที่หลายประเทศต้องนำไปศึกษาข้ออ้างประการหนึ่ง ที่มักถูกหยิบยกเพื่อสร้างความชอบธรรม ให้กับผู้ชุมนุมก็คือ การชุมนุมด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธ และอหิงสา ซึ่งแท้ที่จริงหาก ไม่มีการศึกษารากเหง้าของอหิงสาอย่างแท้จริงก็อาจจะเห็นดีเห็นงาม และพลอยเกิดความนิยมชมชอบไปด้วย

ต้นตำรับของอหิงสาเป็นที่ทราบกันดีว่า มาจากนักปรัชญาฮินดูที่ชื่อคานธี ซึ่งตลอดชีวิต ของบุรุษผู้สร้างตำนานผู้นี้เป็นตัวอย่างแสดง ให้เห็นว่าหากมีความเชื่อมั่นในศาสนาแล้ว จะทำให้คนเรารู้จักควบคุมตัวเอง รักผู้อื่น และ ทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคมและมนุษยชาติอย่างบริสุทธิ์

ความคิดพื้นฐานที่นับว่าสำคัญที่สุดของ คานธีก็คือ ความเชื่อว่าโลกสถิตอยู่ได้ด้วย หลักธรรม คือ สัจจะ สัจจะ หมายถึงความจริง อะไรที่เป็นความดีความถูกต้องเป็นสัจจะ ทั้งสิ้น สัจธรรมเป็นพระเจ้าสูงสุด การบรรลุสัจธรรมอย่างสมบูรณ์หรือการเป็นคนดีในทุกด้านนั้น คานธีเห็นว่าต้องเข้าถึงหลักอหิงสา อย่างแท้จริงก่อน หากไม่มีอหิงสาก็ปฏิบัติตาม ให้สมบูรณ์ไม่ได้

อหงิสา ความหมายโดยพยญัชนะ คือ ความ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ปฏิบัติผิดต่อ ผู้อื่น ไม่ว่าด้วยกาย วาจา หรือใจ ก็ตาม การ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่นนี้เป็นเพียงแง่ลบ คานธีเห็นว่าการมีอหิงสธรรมไม่จำเป็นต้องไป อยู่ป่า ถ้าคนมีอหิงสาอย่างแท้จริง อยู่ที่ไหน ก็ประพฤติอหิงสาได้ การที่คนอยู่ในสังคมยัง ทำให้ประพฤติอหิงสาในแง่บวกได้ด้วย กล่าว คือ การมีความรักผู้อื่น รักมนุษยชาติ และ สัตว์ทั้งหลาย เป็นความรักอันบริสุทธิ์ไม่หวัง ผลตอบแทนใด ๆ

เมื่ออหิงสามีหลักการต้องปฏิบัติด้วยกาย วาจา และใจในการประพฤติ มนุษย์จึงต้อง ฝึกหัดควบคุมตนเองโดยการตั้งปณิธานที่ ดี แล้วคิด พูด และปฏิบัติตามปณิธานนั้น อย่างแน่วแน่ การปฏิบัติตนตามนัยนี้ เรียกว่า การถือความสัตย์ หรือคานธีเรียกว่า สัตยา เคราะห์ โดยคานธีนำไปใช้ในการต่อต้านความ อยุติธรรมต่าง ๆ ทางสังคมและการเมืองด้วย

คานธีแยกชีวิตมนุษย์ออกเป็น ๒ แบบคือ ชีวิตของพรหมจารี คือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ และชีวิตของโภคี คือ ผู้ที่ยังบริโภคความสุขทางโลกอยู่ เขาเห็นว่าทั้งพรหมจารี และโภคีต่างก็ มีนัยน์ตาสำหรับดู โดยพรหมจารีนั้นดูพระเจ้า ส่วนโภคีดูแต่หนังและละคร ทั้งพรหมจารีและโภคีต่างๆ ก็มีหูสำหรับฟัง พรหมจารีฟังเพลงสวดถวายพระเจ้า โภคีนั้นฟังแต่เพลงโลกีย์ ทั้ง พรหมจารีและโภคีต่างก็มีการตื่น พรหมจารี

ตื่นด้วยการระลึกถึงพระเจ้า ส่วนโภคีตื่นด้วย การร้องรำทำเพลง ทั้งพรหมจารีและโภคีต่างก็รับประทานอาหาร พรหมจารีรับประทานอาหารเพียงเพื่อยังชีพ ด้วยคิดว่าร่างกายเป็น นิวาสถาน ของพระเจ้า ส่วนโภคีหาอะไรต่อมิอะไรยัด เข้าไปในท้อง เพื่อความเอร็ดอร่อยแล้วก็ทำให้ ท้องส่งกลิ่นบูดเน่า

คานธีเห็นว่า การดำเนินชีวิตของคนทั่วไป และชีวิตที่เรียกว่าความเจริญแบบชาวตะวันตกนั้น เป็นชีวิตอย่างโภคี เป็นชีวิตที่ไม่ประหยัด ไม่ทำให้อารมณ์สงบและบริสุทธิ์ แต่กลับทำให้ ฟุ้งซ่านไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความ หลง ชีวิตที่ดีไม่ใช่ชีวิตที่สนองอารมณ์ แต่เป็น ชีวิตที่อดกลั้นและควบคุมอารมณ์ การควบคุม อารมณ์ได้แก่การประพฤติพรหมจรรย์

คานธียกย่องคนทุกคนเสมอกัน พราหมณ์ หรือศูทร ชายหรือหญิงชาวต่างชาติหรือชาว อินเดีย ล้วนเป็นญาติมิตรกัน จึงไม่มีคนแปลก หน้าสำหรับคานธี ทุกคนได้รับความรักจากเขาเสมอกัน เขาเห็นว่ามนุษย์ควรรักกัน และ ช่วยเหลือกันตามหลักสัจธรรม คนเราควรรับใช้ผู้อื่นอย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีทรัพย์สินอะไรก็ใช้กำลังกายเข้ารับใช้ และในการรับใช้นั้น ต้องไม่ยอมรับสิ่งตอบแทนใด ๆ การยอมรับสิ่ง ตอบแทนจะทำให้ตกเป็นเหยื่อของความโลภ ในที่สุด

การถือความสัตย์ หรือสัตยาเคราะห์ของ คานธี อยู่บนพื้นฐานจะต้องมีความอดกลั้น ควบคุมตนเองได้ แน่วแน่กล้าหาญ โดยการที่จะมีลักษณะดังกล่าวได้ก็ด้วยการประพฤติ พรหมจรรย์ คือเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะหากไม่เป็น ผู้บริสุทธิ์ก็จะทำให้จิตใจโอนเอียงไปตามกิเลส ตัณหา หรือใช้วิธีรุนแรงต่าง ๆ อันเป็นการขัด หลักอหิงสาได้ ผู้ปฏิบัติสัตยาเคราะห์จะต้อง เชื่อมั่นในหลักการที่ว่า ที่ใดมีความสัตย์ที่นั่นย่อมสงบ ที่ใดขาดความสัตย์ที่นั่นวุ่นวาย ความสัตย์เป็นสิ่งค้ำจุนโลก ไม่มีใครทำลายความสัตย์ได้ ในการยึดมั่น แสวงหา หรือเรียกร้อง ความสัตย์ ต้องกระทำด้วยความอ่อนน้อมถ่อม ตน ไม่ใช้วิธีบังคับหรือความรุนแรง มีความรัก ไมตรีจิตและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

คานธีให้ความสำคัยกับศาสนามากที่สุด ถึงกับกล่าวว่า เขาอยู่โดยไม่มีศาสนาไม่ได้แม้แต่ วินาทีเดียว แม้แต่การเมืองของคานธีก็เกิด จากศาสนา ตามทศันะของเขา ศาสนาป็นการค้นหาความจริงที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นพลังรวมคนเข้าด้วยกัน ส่งเสริมความร่วมใจและขจัด ความแตกแยก คานธียังเห็นว่าการทำให้มนุษย์หลุดพ้นต้องเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์ และ ปลุกตัวตนส่วนที่ดีของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น ซึ่งการ ปฏิบัติดังกล่าวจะสำเร็จได้ด้วยความอดทน ขยัน มานะ พยายาม

สำหรับการต่อสู้บนหลักอหิงสาในทัศนะ ของคานธี มีสองนัยคือ นัยลบ ได้แก่ความไม่ เบียดเบียน ไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น นัยบวกได้แก่ ความรัก ความเมตตา และการให้อภัย ด้วย ความเชื่อว่า ศัตรูที่แท้จริงมิใช่ผู้ทำผิด ความ ชั่วซึ่งอยู่ในตัวเราทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง ศัตรู ภายนอกนั้นฆ่าได้ง่าย แต่ศัตรูภายในเป็นศัตรู ที่ร้ายยิ่งกว่า เมื่อคนเราเห็นศัตรูว่าเป็นเหยื่อ แห่งอำนาจของความชั่ว และปฏิบัติต่อศัตรูด้วยความรัก ความเห็นใจ ขณะเดียวกันจะ ต่อสู้กับศัตรูภายใน ได้แก่ ความอยาก ความ เกลียด อย่างกล้าหาญ เมื่อคนเราพยายามเป็น นายศัตรูภายใน จะได้พบความจริงว่า การจะ เปลี่ยนผู้อื่นนั้นต้องไม่ใช้ความรุนแรง หรือ ทำให้เจ็บปวด แต่ต้องอาศัยความสุภาพ การ ชักจูง ทนรับความเจ็บปวดอย่างร่าเริง และ เทิดทูนมติ อำนาจที่ได้จากความประพฤติ เช่นนี้ไม่เพียงเปลี่ยนคนแต่ละคนได้เท่านั้น ยังเปลี่ยนอำนาจที่มีการจัดตั้งอย่างมีระเบียบ เช่นรัฐได้ด้วย

แม้คานธีจะไม่เห็นด้วยกับการดำเนินชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย แต่เสนอให้ทุกคนอยู่ง่ายกินง่าย เขาไม่ได้ปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตก แต่ให้รับ อย่างเลือกสรรอย่างดีแล้วเท่านั้น คานธีให้ทัศนะว่า การหาประโยชน์จากแสงสว่างของ ชาวตะวันตกเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องระวังตนไม่ให้ถูกครอบงำด้วยแสงสีของตะวันตกในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมต้องไม่รับข้างเดียว แต่ต้องเป็นฝ่ายให้ด้วย ต้องไม่เห็นวัฒนธรรมของ ตนเองเป็นสิ่งไร้ค่า แต่ต้องทำให้วัฒนธรรมที่ เป็นประโยชน์ของชาติอื่นกลมกลืนกับค่าและคตินิยมที่เป็นหลักของตน เขาเชื่อว่านี่คือการเติบโตของวัฒนธรรม หลักคิดของคานธีนั้นน่า สนใจมาก เขาคิดว่า คนเราไม่ควรถือว่าทุกสิ่ง ที่เก่าเป็นสิ่งที่ดี ทุกสิ่งที่เป็นของชาติตนต้อง เป็นสิ่งที่ดี และควรจะทิ้งสิ่งที่เก่าหรือเป็นของ ชาติตนโดยทันทีถ้าเป็นสิ่งที่ผิด แต่การที่คน เราพากันวิ่งไปหาของใหม่ ดูหมิ่นของเก่าโดย สิ้นเชิงก็เป็นสิ่งที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง คานธี เชื่อว่าความสามารถในการสร้างเอกภาพใน ความแตกต่างขึ้น กล่าวคือ คนที่มีวัฒนธรรม ไม่ควรวิวาทกัน เพระความคิดที่ต่างกัน แต่ ควรหาความเหมือนกัน ในความแตกต่างนั้น คนเราควรสร้างเสรีภาพในตนขึ้นเสียก่อน ถ้าคนมีจิตใจเสรียอมรับความคิดของผู้อื่น เขาก็ จะเป็นผู้รักเสรีภาพในทางการเมือง แต่ถ้าคน มีจิตใจเป็นเผด็จการ การเมืองก็จะเต็มไปด้วย การใช้อำนาจ

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ความแตกต่างทางความ คดิของคนเราลดลง คานธีมองว่าคือการศึกษา เขาได้ตั้งหลักการ เรียกว่า สรรโวทัย ขึ้นมา มี กรอบ ๓ ประการคือ

๑. จงทำความดีแก่คนทั้งปวง
๒. งานของช่างตัดผมและของทนายความ นั้นควรจะมีค่าเท่ากัน เพราะต่างก็มีสิทธิใน การประกอบอาชีพของตนเท่ากัน
๓. ชีวิตของกรรมกรและชาวนา หรือชีวิต ของผู้ที่ใช้แรงงานนั้นเองเป็นชีวิตที่แท้จริง

จะว่าไปแล้ว หากวิเคราะห์หลักการอหิงสาของคานธี จะมีรากฐานคล้ายคลึงกับปรัชญาในการเน้นเรื่องการดำเนินชีวิตแบบง่าย ๆ นี้ คานธีถือว่า ทุกคนมีความสามารถในการ ทำงาน ควรมีสิทธิในการทำงานเพื่อยังชีพ ประเทศด้อยพัฒนาซึ่งมีแรงงานมากและมี ทุนน้อยควรจะใช้แรงงานคนให้มาก การใช้ เครื่องจักรเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องไม่ใช้มากจน กระทั่งแย่งงานคนทำเสียหมด เขาเห็นว่า เครื่องจักรต้องช่วยคนทำงานไม่ใช่แย่งงาน ยิ่งรัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากขึ้น เพียงใด ก็ยิ่งเป็นการทา?ลายงานของประชาชน มากขึ้นเพียงนั้น รัฐบาลที่ดีจะต้องมีหน้าที่ สงเคราะห์ การสงเคราะห์ทำได้สองวิธีคือ หา งานให้ทำ หรือสร้างระบบประกันสังคม ขณะ เดียวกันรัฐจะต้องเข้าควบคุมไม่ให้นายทุนใช้ ความร่ำรวยเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวม แต่ในทางตรงข้าม ผู้ใช้แรงงานก็ต้องคำนึงถึง สิทธิ และหน้าที่ของตน กล่าวคือ ต้องถือว่า ค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นก็เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น คนทุก คนควรถือว่าเมื่อไม่ทำงานก็ไม่สมควรรับค่า ตอบแทน คานธีเห็นว่าการเพิ่มค่าแรงโดยไม่ เพิ่มผลผลิตยังทำให้เกิดปัญหาแก่สังคมทำให้ สินค้าราคาแพงขึ้น

เห็นได้ว่า การนำคตินิยมแบบคานธีมาใช้ ล้วนเป็นการดำเนินชีวิตตามแนวคิดที่พยายาม สร้างความสมดุลอย่างกลมกลืน บนพื้นฐาน ของการเป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม ไม่เบียดเบียน ทั้งตนเอง เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ เบียดเบียน สังคม อันจะทำให้คนทุกคนอยู่ร่วมกันอย่าง สันติ เป็นอหิงสาที่ยากจะหาได้ในปฏิบัติการชุมนุมของเมืองไทยเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก