หน้าที่ดูแลรักษาความสงบ บรรดาข้าราชการระดับเจ้า ระดับขุนนางต่างมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความสงบของพระนครดังปรากฏในข้อความ

“…ในแผ่นดินนั้นเจ้าแลขุนนาง แต่งข้าไปเที่ยวซ่องสุมผู้คนอยู่ในป่าสำหรับหาของป่าต่าง ๆ มาส่งส่วย ทาศลูกนี่ผู้ใดหนีเข้าซ่องแล้วก็เอาตัวไม่ได้ เพราะในซ่องมีเจ้านายมีอำนาจแข็งแรงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรงราชสมบัติมา ตั้งแต่ ปีมเสง เอกศก…”

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงบริหารด้วยหลักยุติธรรมสามัคคีน้ำหนึ่งใจเดียว โปรด ฯ ให้ข้าราชการออกไปติดตามดูแลความเรียบร้อยของการปกครองหัวเมืองประเทศราช เพื่อให้เกิดความสงบสุขเรียบร้อย ดังปรากฏในข้อความว่า

“…ให้พระยาอภัยภูเบศ พระยาจักรี พระวิเศษสุนทรปรึกษาหารือว่า ราชการบ้านเมืองให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวจงพร้อมมูลกัน ตามฉันผู้ใหญ่ ผู้น้อย อย่าให้ถือเปรียบแก่งแย่งกัน ไพร่บ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป…”

หน้าที่ดูแลรักษาความสงบ บรรดาข้าราชการระดับเจ้า ระดับขุนนางต่างมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความสงบของพระนครดังปรากฏในข้อความ

“…ในแผ่นดินนั้นเจ้าแลขุนนาง แต่งข้าไปเที่ยวซ่องสุมผู้คนอยู่ในป่าสำหรับหาของป่าต่าง ๆ มาส่งส่วย ทาศลูกนี่ผู้ใดหนีเข้าซ่องแล้วก็เอาตัวไม่ได้ เพราะในซ่องมีเจ้านายมีอำนาจแขงแรงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรงราชสมบัติมา ตั้งแต่ ปีมเสง เอกศก…”

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงบริหารด้วยหลักยุติธรรมสามัคคีน้ำหนึ่งใจเดียว โปรด ฯ ให้ข้าราชการออกไปติดตามดูแลความเรียบร้อยของการปกครองหัวเมืองประเทศราช เพื่อให้เกิดความสงบสุขเรียบร้อย ดังปรากฏในข้อความว่า

“…ให้พระยาอภัยภูเบศ พระยาจักรี พระวิเศษสุนทรปรึกษาหารือว่า ราชการบ้านเมืองให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวจงพร้อมมูลกัน ตามฉันผู้ใหญ่ ผู้น้อย อย่าให้ถือเปรียบแก่งแย่งกัน ไพร่บ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป…”

หน้าที่ทางอักษรศาสตร์ ข้าราชการที่มีความสามารถทางอักษรศาสตร์ถึงระดับที่เรียกว่ากวี จะทรงสนับสนุนทำให้มีความเป็นปึกแผ่นและความรุ่งเรืองในวรรณคดีโดยทรงให้กวีได้มีโอกาสแสดงฝีมือด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตำแหน่ง สุนทรโวหาร จึงน่าจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนี้เอง กวีคนแรกที่ได้รับพระราชทานตำแหน่ง สุนทรโวหาร คือ กวีที่ชื่อ ภู่ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ระดับ ขุน เป็นขุนสุนทรโวหาร และนิยมเรียกว่า สุนทรภู่ การมีข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถระดับกวีและขุนนางที่มีความสามารถย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญทางการศึกษาของไทยในสมัยนั้นด้วย

หน้าที่ด้านกฎหมาย นอกจากกฎหมายตราสามดวงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงจัดให้ข้าราชการในพระองค์ที่ทรงเห็นว่ามีความเหมาะสมในเวลานั้น คือพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ให้ดูแลด้านความยุติธรรม

หน้าที่ทูต คณะทูตที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด ฯ ให้เดินทางไปเจริญสัมพันธมิตรไมตรีกับประเทศอื่นมักประกอบด้วย ตำแหน่งราชทูต อุปทูต ตรีทูตเช่น “…จึงแต่งทูตานุทูต…ถ้าแลราชทูตอุปทูตตรีทูตข้าหลวงมีชื่อมาถึงเมื่อใด…” ส่วนทูตต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยในระยะนี้ได้แก่ ทูตกับชาวยุโรปอีกครั้งหนึ่ง หลังจาก ที่ความสัมพันธ์ได้หยุดชะงักไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เริ่มจากเจ้าเมืองมาเก๊าแห่งโปรตุเกสได้แต่งตั้งให้คาร์โลส เดอ ซิลเวรา (Carlos de Silveira) เป็นทูตคุมเครื่องบรรณาการเข้ามาถวาย เมื่อพุทธศักราช๒๓๖๑ และต่อมาอีก ๒ ปี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกงสุลโปรตุเกสประจำไทยอีกด้วย ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอภัยพาณิช เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔ มาควิสเฮสติงส์ (Marquis Hastings) ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษได้ส่ง จอห์น ครอว์ฟอร์ด(John Crawford) มาเจรจา แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงวิธีค้าขาย คือ การผูกขาดสินค้าของพระคลังและการเสียภาษีหลายชั้นให้เป็นไปตามความต้องการของอังกฤษ

การดำเนินการด้านเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศเกิดจากการเก็บภาษีอากร การค้ากับต่างประเทศดังปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ด้านนาฏยศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงได้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีช่วยเหลือในการทดสอบท่ารำในละครในเรื่องอิเหนาจนงดงามและเข้าจังหวะอย่างดีจนได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดแห่งละครรำ และเป็นบ่อเกิดแห่งระเบียบแบบแผนการรำที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน และอาจกล่าวได้ว่าการมีบทละครที่สวยงามในด้านท่ารำ มีเพลงที่ไพเราะและฉากที่สวยงามนับว่าเป็นหลักการทางด้านนาฏยศาสตร์ที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน จนมีผลทำให้โรงเรียนนาฏศิลป์และกรมศิลปากรตลอดจนประเทศไทยได้มีต้นฉบับของการฟ้อนรำและมีศิลปะการแสดงประจำชาติที่สวยงามอ่อนช้อยหาที่ติมิได้

นอกจากนี้ กระบวนการทางนาฏยศิลป์ยังก่อให้เกิดงานศิลป์ด้านช่างเขียนภาพด้วยดังจะเห็นได้จากภาพตัวละครต่าง ๆ ที่สวยงามมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เช่น ภาพอิเหนา นางบุษบา จากเรื่องอิเหนา ภาพนางพิม จากเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น นักเขียนภาพดังกล่าวน่าจะได้แรงบันดาลใจจากตัวละครฉากและท่ารำจากบทละครและงานนาฏยศิลป์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับงานทางพุทธศิลป์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมด้านการศาสนาตามขัตติยราชประเพณีในฐานะที่ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภก ตั้งแต่ทรงเริ่มศึกษาที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม)ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อทรงขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยทรงสร้างวัด บูรณปฏิสังขรณ์วัดสำคัญ ๆ และสร้างพุทธเจดีย์ ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เองหลายแห่ง ดังนี้

๑) พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้มาก พระองค์สร้างพระอุโบสถรวมทั้งโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลกขึ้นเป็นพระประธาน โดยทรงปั้นหุ่นในส่วนพระพักตร์ พระปฏิมาประธาน ด้วยฝีพระหัตถ์ ลักษณะทรวดทรงเป็นอย่างใหม่ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๒ รวมทั้งทรงสร้างพระระเบียงที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ ได้รับคำกล่าวถึงว่า“ทรวดทรงงามกว่าพระระเบียงที่ไหนหมด เป็นศรีแห่งฝีมือในรัชกาลที่ ๒ ควรชมอย่างยิ่ง”

๒) พระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างวัดสุทัศนเทพวรารามสืบต่อจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเริ่มไว้ และทรงจำหลักบานประตูกลางพระวิหาร พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง ทรงแกะสลักลวดลายซับซ้อน ๔ ชั้น งดงามเป็นเยี่ยม

๓) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ คือ พระพุทธจุฬารักษ์ เป็นฝีพระหัตถ์ปั้นหุ่นพระพักตร์ที่งดงามยิ่ง

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดสำคัญอื่นๆ อีกหลายวัด เช่น วัดพุทไธสวรรค์วัดดุสิดาราม วัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) วัดระฆังพระมณฑป วัดพระพุทธบาท สระบุรี ส่วนการสร้างพุทธเจดีย์ทรงสร้างไว้ครบ ๔ ประเภท คือธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ พระธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์

การสร้างวัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ย่อมชี้ให้เห็นแนวคิดสำคัญคือวัดเป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนการที่ทรงบำรุงวัดจึงเป็นการบำรุงการศึกษาสำหรับประชาชนประการหนึ่งด้วย

บทสรุป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบริหารราชการ โดยการกระจายอำนาจการบริหารไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ทรงมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินแก่เจ้านายและขุนนางที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ทรงส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามความสามารถและความถนัดของบุคคลนั้น ๆ การปกครองหัวเมืองประเทศราช ทรงใช้นโยบายสร้างดุลอำนาจของขุนนางในการบริหารการปกครองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทรงใช้นโยบายการทหาร การทูต และการค้าควบคู่กันไป ตามแต่สถานการณ์ตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังผลให้บ้านเมืองมีความสงบสุขนอกจากนี้ พสกนิกรไทยปัจจุบัน ต่างตระหนักถึงพระบารมีปกเกล้าด้านพุทธศาสนา อักษรศาสตร์ ศิลปะ และนาฏยศิลป์ อันเป็นต้นแบบแห่งศาสตร์และศิลป์นานัปการ