ในห้วงเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน๒๕๕๗ เกือบครบรอบหนึ่งปี ที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกตกลงอย่างรวดเร็วกว่าร้อยละ ๕๐ ได้มีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับไทย ได้แก่

ความต้องการพลังงานของโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มกว่าร้อยละ ๓๐ ในปี ๒๐๔๐ โดยเฉพาะกับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย และอาเซียน และแม้จะมีความพยายามพัฒนาพลังงานทางเลือกมากขึ้น แต่ด้วยประสิทธิภาพ และความสะดวกพลังงานจากฟอสซิลจะยังคงมีความสำคัญในอันดับต้น โดยเฉพาะจากน้ำมันกับภาคขนส่งกับเครื่องบิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในชีวิต
ประจำวัน

ส่วนปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดราคาน้ำมัน คือปริมาณความต้องการหรือ Demand จากกลุ่มผู้นำเข้า ซึ่งได้แก่ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว หรือ Organization for Economic Cooperation and Development : OECD และประเทศกำลังพัฒนา หรือ Non-OECD เช่น จีน อินเดีย และอาเซียน เปรียบเทียบกับปัจจัยเรื่องปริมาณการผลิต หรือ Supply จากกลุ่มผู้ส่งออกซึ่งได้แก่กลุ่ม Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC ที่นำโดยซาอุดิอาระเบีย และกลุ่ม Non-OPEC ที่นำโดยรัสเซียแต่ที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบีย ในนาม OPEC จะถูกมองว่าเป็น Swing Producer คือจะปรับเพิ่มหรือลด Supply ตามยุทธศาสตร์เพื่อให้ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อาทิ เมื่อปี ๑๙๗๓ มีความร่วมมือกับอิยิปต์ปรับลดกำลังการผลิต และงดการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จากความไม่พอใจสหรัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนอิสราเอลต่อต้านประเทศมุสลิมทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นถึง ๔ เท่าตัว

อย่างไรก็ตามซาอุฯ ก็เคยได้รับประสบการณ์การถูกกดดันให้ลดกำลังการผลิตมาแล้วในห้วงปี ๑๘๘๐ – ๑๙๘๕ ซึ่งแม้จะทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นแต่ในภาพรวม GDP ของซาอุฯ หายไปถึงร้อยละ ๒๐ เนื่องจากเสียสัดส่วนการตลาดให้กลุ่ม Non OPEC โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ไม่ลดกำลังการผลิต

แต่ในห้วงหลายปีมานี้ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกได้สูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการดึงดูดการลงทุน ในขณะเดียวกันก็มีผลต่อความมั่นคงของชาติด้วย จึงทำให้เริ่มสังเกตเห็นการปรับยุทธศาสตร์ทางพลังงานของชาติต่างๆ อาทิ สหรัฐฯ ในฐานะประเทศนำเข้าสุทธิ ได้คิดค้นเทคโนโลยีในการแสวงหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต่างจากรูปแบบเดิมหรือ Unconventional oil and gas โดยเป็นการขุดเจาะจากหินดินดานที่เรียกว่า Shale Technology, จากทราย หรือ Oil Sand และจากทะเลลึก หรือ Deep Oilfield จนเริ่มเปลี่ยนจากผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งออกและน่าจะสามารถเป็นผู้ส่งออกสุทธิในปี ๒๐๓๕ นอกจากนั้น แคนาดา ออสเตรเลียและบราซิลก็ล้วนใช้เทคโนโลยีดังกล่าว และสามารถส่งออกพลังงานสู่ตลาดได้แล้วเช่นกัน

ส่วนจีนที่มีความต้องการพลังงานอย่างมาก นอกจากการมีนโยบายแข็งกร้าวเรื่องแหล่งพลังงานในทะเลจีนแล้ว จีนกำลังฟันฝ่าอุปสรรคเรื่องพื้นที่เขาสูงกับแหล่งน้ำ ในการลงทุนเทคโนโลยี Shale ของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายการขนส่งพลังงานทางบกจากเอเชียกลางถึงไซบีเรีย การควบคุมการขนส่งทางทะเลจากทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้สู่จีนในยุทธศาสตร์การค้าเส้นทางสายไหมใหม่หรือNew Silk Road Strategy ที่ได้ฟื้นฟูขึ้น และจีน ยังมีการกระจายความเสี่ยงจากความไม่มั่นคงในตะวันออกกลางด้วยการปรับยอดการสั่งซื้อมายังรัสเซีย

โดยได้ทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมูลค่าถึง ๔ แสนล้านเหรียญ ระยะเวลาถึง ๓๐ ปี ซึ่งเป็นจังหวะที่ลงตัวสำหรับรัสเซีย ที่ต้องการคืนความเป็นชาติมหาอำนาจด้วยศักยภาพทางพลังงานเช่นกัน โดยรัสเซียมีการเพิ่มกำลังการผลิต และได้เข้าผนวกไครเมียซึ่งมีแหล่งพลังงานของยูเครน จนถูกต่อต้านและคว่ำบาตรการส่งออกพลังงานไปยังชาติตะวันตกจึงทำให้รัสเซียประกาศเน้นการส่งออกพลังงานมายังเอเชียมากขึ้น ทำให้ในภาพรวมแล้วนักวิเคราะห์มองว่าโลกกำลังเข้าสู่กระบวนการปรับสมดุลการผลิตน้ำมันหรือRebalancing of Global Oil Production และส่งผลให้ Supply น้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

หากแต่ในปีที่แล้ว Demand กลับไม่ได้มากตามคาดการณ์ จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ดังนั้นเมื่อ Supply เกิน Demand ราคาจึงตกลง แต่ครั้งนี้ซาอุฯ ในนาม OPEC ได้ยืนยันไม่ลด Supply ทำให้มองได้ว่าการที่ซาอุฯ ใช้ยุทธศาสตร์ราคาต่ำ และยอมสูญเสียรายได้ น่าจะเพื่อประโยชน์อื่น อันได้แก่ ต้องการให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัสเซียและอิหร่าน คู่แข่งและมีรายได้หลักจากการส่งออกพลังงาน ทั้งยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนสำคัญแก่รัฐบาลมุสลิมชีอะห์ของ ประธานาธิบดี Assad แห่งซีเรีย ที่ซาอุฯ ต้องการโค่นล้ม

เนื่องจาก ประธานาธิบดี Assad ได้ขัดขวางคำขอของกาตาร์ ในการสร้างท่อแก๊สผ่านซีเรียไปยังยุโรป แต่กลับทำข้อตกลงเรื่องดังกล่าวกับอิหร่าน (ปี ๒๐๑๑ อิหร่าน อิรักซีเรีย ทำข้อตกลงสร้างท่อแก๊สจากอิหร่านผ่านอิรักไปซีเรีย เพื่อโครงการต่อเนื่องไปยังยุโรป) ซึ่งหากโครงการประสบผลสำเร็จ และผนวกกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรกรณีนิวเคลียร์อิหร่าน นอกจากจะหมายถึงการเสียสัดส่วนการตลาดพลังงานของกลุ่มประเทศรอบอ่าวแล้ว ยังจะหมายถึงการเพิ่มความเข้มแข็งให้อาณาจักรรัฐชีอะห์ หรือ Shiite axis คู่ขัดแย้งเรื่องนิกายศาสนาของซาอุฯ อีกด้วย

แม้ผลลบทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียและอิหร่าน จะตรงกับความต้องการของสหรัฐฯ หากแต่ซาอุฯ ก็น่าจะมีเป้าหมายเพื่อจำกัดSupply จากกลุ่ม Unconventional โดยเฉพาะจากแหล่งผลิตใหญ่ในสหรัฐฯ ด้วยเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ซึ่งหากบังเกิดผลดังกล่าว ก็น่าจะทำให้ OPEC คงความเป็นผู้ผลิตรายสำคัญและคงศักยภาพการกำหนดราคาต่อไป

มันตกต่ำครั้งนี้แล้วคือ เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้ส่งออก โดยเฉพาะอิหร่านและรัสเซีย ซึ่งแนวทางความร่วมมือในการแก้ปัญหาของทั้งสองประเทศ อาจทำให้ภาพการแบ่งขั้วกลุ่มประเทศมีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิต Unconventional คือมีรายงานการลดกำลังการผลิตลงและบางแห่งต้องปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถทนต่อภาวะขาดทุนได้

แต่ผลต่อประเทศผู้ นำเข้าราคาน้ำมันที่ตก ทำใ ห้ GDP เติบโตขึ้น โดยอินเดีย และจีน ได้รับประโยชน์มากที่สุด อินเดียมีการริเริ่มขบวนการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์หรือ Stra tegic Petroleum Reserve : SPR เพิ่มการลงทุนขยายโรงกลั่น เพื่อผลกำไรการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนจีนได้เพิ่ม SPR เพื่อควา มมั่นคงทางพลังงานมากขึ้นเช่นกัน แต่สำหรับ EU บางประเทศและญี่ปุ่น ระบบเศรษฐกิจ มีความซับซ้อนราคาน้ำมันที่ลดลง สินค้าที่ราคาถูกลงทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต่ำ ก ลับไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ส่วน AEC ในปลายปีนี้ที่รวมทั้งไทย ราคาน้ำมันที่ถูกลง จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของ GDP เช่นกัน แต่ไทยก็จะเสียรายได้ภาษีสรรพสามิต, รายได้กา รส่งออกไปยังตะวันออกกลางและรัสเซีย ที่กำลังซื้อลดลง, รายได้การท่องเที่ยวในจั งหวัดที่มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียมาก เช่น พัทยาและภูเก็ต และยังอาจทำให้ช่องว่าง ทางเศรษฐกิจระหว่างคนเมืองที่ได้ประโยชน์จากการใช้น้ำมันราคาถูกกับเกษตรกรในชนบทกว้างขึ้น จากราคายางพาราที่มีส่วนที่ตกต่ำตา มราคายางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี รวมถึงผู้ปลูกพืชพลังงานอาจได้รับผลกระ ทบจากความต้องการใช้พลังงานทดแทนจากพืชลดลง

ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันในห้วงต่อไปที่อาจผันผวนยากต่อการคาดการณ์ แต่มีการประเมินว่า ราคาที่ตกลง ส่วนหนึ่งมาจากการเสนอข่าวของสื่อ เรื่อง supply ล้นตลาด ที่โดยความเป็นจริง supply เริ่มลดลงแล้ว และการที่น้ำมันราคาถูก น่าจะดึงดูด Demand รวมทั้งDemand ในช่วงฤดูหนาวปลายปี โดยธรรมชาติจะมีมากขึ้น ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าวอาจจะได้เห็นราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นต่อเนื่องอีกครั้ง แต่ราคาไม่น่าจะถึงระดับร้อยเหรียญต่อบาร์เรลเนื่องจากแหล่ง Supply Shale Oil แหล่งใหญ่ของสหรัฐฯ จะสามารถฟื้นตัวกลับมาให้ผลผลิตได้ในเวลาไม่นาน หากราคาปรับตัวสูงขึ้น

ข้อพิจารณา
สถานการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำในครั้งนี้น่าจะเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนยุทธศาสตร์ ที่มีความซับซ้อนของประเทศต่างๆ ซึ่งไทยจำเป็น16 นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์ต้องทำความเข้าใจกับพลวัตที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อการกำหนดมาตรการรองรับอย่างเหมาะสมที่ได้แก่

๑. ในฐานะประเทศนำเข้าพลังงาน ควรศึกษาโครงสร้างราคาพลังงานที่อาจเปลี่ยนแปลงตามยุทธศาสตร์ของผู้ส่งออก ทั้งจากรัสเซียและกลุ่ม Unconventional รวมทั้งการเฝ้าติดตามสถานการณ์ที่มีผลต่อราคาพลังงาน อาทิ การสู้รบในเยเมน การเจรจานิวเคลียร์อิหร่าน หรือสถานการณ์ความขัดแย้งเรื่องพลังงานของชาติต่างๆ ซึ่งฝ่ายความมั่นคงน่าจะมีมาตรการในหลักประกันเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน หากสถานการณ์ขับเคลื่อนสู่ความขัดแย้งทางทหารและมีผลต่อการนำเข้าพลังงานของไทย

๒. ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน ASEAN Main Land ที่มีศักยภาพการเป็นพื้นที่เชื่อมโยง น่าจะได้ศึกษาแนวทางให้ไทยเป็นพื้นที่เชื่อมโยงการขนส่งพลังงาน อาทิ การศึกษาถึงความเป็นไปได้ และความท้าทายต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน กับโครงการให้คอคอดกระ เป็นพื้นที่เชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ที่จีนเคยให้ความสนใจ ที่อาจเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ได้

๓. ในฐานะที่ต้องแสวงหาแนวทางใน การพึ่งพาพลังงานในประเทศ ซึ่งนับเป็นห้วงเวลาที่ดีที่ประชาชนกำลังตื่นตัวกับการปฏิรูประบบพลังงานไทย โดยประเด็นที่อยู่ในความสนใจได้แก่ การสำรวจแหล่งพลังงานใหม่และการทำให้ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้สัมปทานหรือการแบ่งปันผลประโยชน์ มีความโปร่งใสเพื่อให้ชาติได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการแสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือกลุ่มด้อยโอกาสทางพลังงาน ที่นอกเหนือจากการอุดหนุนราคาที่อาจนำมาซึ่งการแสวงประโยชน์ สร้างความไม่เป็นธรรมและเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งในสังคม อย่างไรก็ตามข้อมูลด้านพลังงานนับว่ามีความซับซ้อน ซึ่งประชาชนอาจถูกชี้นำด้วยอคติต่างๆ ให้มองผ่านข้อมูลเพียงด้านเดียวได้โดยง่าย ฝ่ายความมั่นคงจึงน่าจะมีมา ตรการเชิงรุก เพื่อให้การปฏิรูปพลังงานในครั้งนี้ ปราศจากการใช้อคติมานำแนวทางการแก้ปัญหา และยังหมายรวมถึงปัญหาแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้านที่แนวทางการแก้ไข ต้องมองอย่างครอบคลุมแล ะต้องคำนึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกรอบความร่วมมือ AEC ด้วย