ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ กำลังประสบกับปัญหาการก่อการร้ายที่มุ่งต่อต้านอำนาจรัฐ และต้องการก้าวไปสู่การจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วยหลักศาสนาเช่นเดียวกับความพยายามของกลุ่มไอเอส (IS) หรือ “ไอซิส” (ISIS) ในตะวันออกกลาง ที่ก..ำลังส่งออก “แนวความคิด” ดังกล่าวไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ผ่านกองกำลังที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ และภายหลังจากจบภารกิจในซีเรียหรืออิรักแล้วนักรบเหล่านี้ต่างก็พากันแยกย้ายกลับประเทศของตน พร้อมกับแนวความคิดในการสร้างประเทศของตนให้เป็นดินแดนบริสุทธิ์ทางศาสนาผ่านกระบวนการ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” เป็นที่น่าสังเกตว่าสงครามศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มไอเอสนั้นมีความตกต่างจากสงครามศักสิทธิ์ของกลุ่มอัลกออิดะห์อยู่บางส่วน เพราะสงครามของพวกไอเอส คือการสู้รบภายในศาสนาอิสลามด้วยกันเอง (war within Islam) ในขณะที่สงครามของอัลกออิดะห์คือการสู้รบกับต่างศาสนา

ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศในภูมิภาคนี้มีพลเมืองของตนเดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ทางการอินโดนีเซียพบว่ามีชาวอินโดนีเซียจำนวน๕๑๔ คน เดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสในอิรักและซีเรีย แต่เชื่อกันว่าตัวเลขนี้น้อยกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ล่าสุดพบว่ามีครอบครัวชาวอินโดนีเซียจำนวน ๓ ครอบครัว รวม ๑๖ คนมีทั้งชาย หญิง ผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กทารกเดินทางออกจากอินโดนีเซียเพื่อไปท่องเที่ยวตุรกี ก่อนที่จะขาดการติดต่อกับคณะท่องเที่ยวหลังจากเดินทางถึงที่หมายได้เพียง ๒ วันในเวลาใกล้เคียงกันทางการตุรกีก็สามารถจับกุมชาวอินโดนีเซียได้อีกนับสิบคน ขณะกำลังจะหลบหนีข้ามพรมแดนเข้าไปในประเทศซีเรียชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้เป็นกลุ่มครอบครัวอีกเช่นเดียวกัน นับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การเกณฑ์พลพรรคเข้าร่วมกลุ่มไอเอสและเข้าร่วมกลุ่มอัลกออิดะห์นั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันอีกประการหนึ่งคือ ผู้เข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสจะอพยพครอบครัวตามมาด้วยเพื่อตั้งถิ่นฐานถาวร ในขณะที่การเข้าร่วมกับกลุ่มอัลกออิดะห์นั้น จะเป็นลักษณะเฉพาะตัวบุคคล มิได้นำครอบครัวติดตามมาด้วยแต่อย่างใ

ทางด้านฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนในเกาะมินดาเนา (Mindanao) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ นับเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดนที่ยาวนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะการสู้รบกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (MILF : Moro Islamic Liberation Front) ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะมินดาเนาดังกล่าวมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่๑๖ จนกระทั่งมีการเจรจาสันติภาพเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕ โดยรัฐบาลและกลุ่มแนวหน้าปลดปล่อยอิสลามโมโรตกลงที่จะกำหนดกรอบเจรจาสันติภาพโดยให้มีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองบนเกาะมินดาเนาในปีพ.ศ.๒๕๕๙ แต่กระแสนิยมกลุ่มไอเอส ได้ส่งสัญญาณบางประการถึงการเจรจาสันติภาพที่เกิดขึ้นดังกล่าว เนื่องจากมีกระแสข่าวว่ากลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร กำลังนำแนวความคิดในการจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วยหลักศาสนาบริสุทธิ์ตามแบบฉบับของกลุ่มไอเอสมาใช้ในเกาะมินดาเนาซึ่งมีผู้คนนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก ความวิตกกังวลของฟิลิปปินส์ต่อการขยายตัวของกลุ่มไอเอสในเกาะมินดาเนาแสดงออกมาให้เห็นด้วยการเพิ่มกำลังทหารกว่า ๑,๕๐๐ นาย ในเกาะโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เช่น เมืองซัมบวงกาบาสิลัน ซูลู และเกาะตาวี-ตาวี ทั้งนี้เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของกลุ่มไอเอส และเพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มในพื้นที่ดังกล่าว

แต่ที่น่าจับตามองมากที่สุด น่าจะเป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มไอเอสในประเทศมาเลเซีย ที่มีประชาชนเดินทางเข้าร่วมกับกล่มุไอเอสเป็นจำนวนมาก แม้จะมีตัวเลขอย่างเป็นทางการว่ามีจำนวนเพียงประมาณ ๒๐๐ คนแต่แหล่งข่าวต่างๆ ก็เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงมีจำนวนมากกว่าหลายเท่าตัว อีกทั้งยังมีทหารและอดีตทหารผ่านศึกในกองทัพมาเลเซียเดินทางเข้าร่วมหรือแม้แต่เป็นแนวร่วมอยู่ภายในประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการเกณฑ์ชาวมาเลเซียเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส ทั้งนี้เพราะประชากรมาเลเซียบางส่วน มีแนวความคิดต่อต้านโลกตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์เป็นชนวน ทำให้ชาวมาเลเซียบางส่วนมองสหรัฐฯ และโลกตะวันตกในแง่ลบเช่นเดียวกับกลุ่มไอเอส ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่เอ็มเอช-๑๗ ถูกยิงตกในยูเครนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา สื่อกระแสหลักในมาเลเซีย เช่น หนังสือพิมพ์ “นิวสเตรทส์ไทม์” ได้เสนอข่าวว่าผู้โจมตีเครื่องบินโดยสารลำดังกล่าวคือเครื่องบินรบของ “กองทัพยูเครน”ที่เป็นผู้ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่อากาศใส่เครื่องบินของมาเลเซีย พร้อมทั้งกล่าวหาว่าสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกคือผู้สนับสนุนกองทัพยูเครนมาโดยตลอด แม้กระแสข่าวอีกด้านหนึ่งจากสหรัฐฯ และโลกตะวันตกจะระบุว่าผู้ลงมือยิงคือ “กลุ่มกบฎ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียก็ตาม ดังนั้นแนวความคิดของชาวมาเลเซียบางส่วนจึงสอดคล้องกับแนวคิดต่อต้านตะวันตกของกลุ่มไอเอส ซึ่งทำให้ง่ายต่อการโน้มน้าวจิตใจให้คล้อยตามต่อการชักนำเข้าร่วมกลุ่ม

จึงไม่น่าแปลกใจที่ปรากฏข่าวการเข้าร่วมของพลเรือนและทหารมาเลเซียกับกลุ่มไอเอสอย่างไม่ขาดสาย เช่น เว็บไซต์ “อินเตอร์เนชั่นแนล บิสเนส ไทม์” (International Business Times) ที่ได้นำเสนอข่าวเมื่อวันที่๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมา โดยเปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของนายอับดุล ราฮิม บากรี(Abdul Rahim Bakri) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของมาเลเซียว่า มีกำลังพลหรือทหารผ่านศึกของกองทัพมาเลเซียจำนวนอย่างน้อย ๗๐ นาย เดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสในซีเรียและอิรัก หรือทำการติดต่อสื่อสารข้ามโลกกับกลุ่มไอเอสผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อทำหน้าที่ในการจัดหาชาวมาเลเซียไปร่วมการสู้รบในตะวันออกกลาง จนส่งผลให้ชาวมาเลเซียกลายเป็นนักรบในระดับแนวหน้าของกลุ่มไอเอส โดยเฉพาะการเป็นมือระเบิดพลีชีพ (suicide bomber)

หนังสือพิมพ์เดอะ สเตรท ไทม์ (The Straits Times) ของมาเลเซียฉบับวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ ได้เสนอข่าวการจับกุมทหารมาเลเซีย ๒ นาย ที่ต้องสงสัยว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มไอเอสในตะวันออกกลาง ผลการสอบสวนทำให้ทราบว่า ขณะนี้กลุ่มไอเอสกำลังพุ่งเป้าไปที่กำลังพลของกองทัพมาเลเซียเพื่อที่จะชักนำให้เข้าร่วมเป็นนักรบของกลุ่มเนื่องจากทหารของมาเลเซียนั้นถือได้ว่าเป็นนักรบที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี และเป็นจักรกลสงครามชั้นยอดที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องเสียเวลาในการฝึกฝนใหม่ สามารถทุ่นเวลาในการสร้างนักรบของกลุ่มไอเอส ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง และขาดการทดแทนกำลังพลที่มีขีดความสามารถในระดับสูงอย่างเพียงพอ

ดร.บิลเวียร์ ซิงฮ์ (Dr.Bilveer Singh) ผู้ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่า ๓๐ ปี ได้กล่าวแสดงความวิตกกังวลถึงกรณีที่ทหารมาเลเซียหันไปเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสว่า เมื่อบุคลากรของกองทัพมาเลเซีย ผู้ซึ่งควรจะเป็นผู้ปกป้องอำนาจอธิปไตยของประเทศ ได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกบั องค์กรก่อการร้าย เช่น กล่มุ ไอเอสและกลุ่มอัลกออิดะห์ในซีเรียและอิรัก สิ่งนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นความกังวลที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น หากแต่มันยังเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่ของมาเลเซียอีกด้วย

เมื่อปีที่แล้วมีรายงานข่าวว่า กลุ่มนักรบไอเอสจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ได้ร่วมกันจัดตั้งหน่วยรบของตนขึ้นในซีเรีย โดยมีสมาชิกจากกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษามลายูในการติดต่อสื่อสาร มีชื่อหน่วยว่า “กาติบาฮ์ นูซันตาราลิด ดัวลาฮ์ อิสลามิยา” (Katibah Nusantara Lid Daulah Islamiyyah) หรือแปลเป็นไทยว่า “หน่วยภูมิภาคมาเลย์เพื่อไอซิส” ประกอบด้วยชาวอินโดนีเซียมากกว่า ๕๐ คน และชาวมาเลเซียอีกจำนวนหนึ่ง เป็นการจัดตั้งขึ้นด้วยเหตุผลด้านการใช้ภาษามลายูในการสื่อสารทั้งนี้เพราะนักรบไอเอสจากมาเลเซียและอินโดนีเซียมีอุปสรรคอย่างมากเกี่ยวกับภาษาอังกฤษและภาษาอารบิกที่กลุ่มไอเอสใช้กันอยู่ในซีเรียและอิรัก นอกจากนี้หน่วยดังกล่าวยังมีวัตถุประสงค์ที่จะชักนำและอำนวยความสะดวกให้กับชาวมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ต้องการจะเดินทางไปร่วมกับกลุ่มไอเอสในตะวันออกกลาง รวมทั้งยังต่อต้านรัฐบาลมาเลเซียและอินโดนีเซียที่กำลังทำการจับกุมกวาดล้างสมาชิกในประเทศอีกด้วย

ความกังวลของมาเลเซียที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือการเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาของนักรบเหล่านั้นภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในตะวันออกกลาง ความวิตกกังวลเหล่านี้มิใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะเมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมา สมาชิกกลุ่มเจไอหรือ เจ๊ะมาฮ์อิสลามิยาฮ์ จากมาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ก็เคยเดินทางไปร่วมกับกลุ่มนักรบมูจาฮิดีนในอัฟกานิสถานเพื่อต่อสู้กับสหภาพโซเวียตมาแล้ว และเมื่อจบภารกิจบุคคลเหล่านี้ก็ได้นำแนวความคิดและยุทธวิธีการรบกลับมายังประเทศของตน ต่อมานักรบเหล่านี้บางคนได้กลายเป็นแกนนำของกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

หน่วยไอเอส “กาติบาฮ์ นูซันตารา ลิด ดัวลาฮ์ อิสลามิยา” ดังกล่าว ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มเป็นนักรบจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย จึงกลายเป็นความกังวลและเป็นภัยคุกคามที่สำคัญยิ่งสำหรับภูมิภาคนี้ เพราะเมื่อพวกเขาเดินทางกลับมายังภูมิลำเนาแล้ว ก็จะยังคงดำรงการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน รวมทั้งยังสถาปนาการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มก่อการร้ายดั้งเดิมในภูมิภาค เช่น กลุ่มเจไอ กลุ่มอาบู ไซยาฟกลุ่มสุลต่านซูลู และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร เป็นต้น

งด..ำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวของประชาชน คอยดูแลและสอดส่องบุตรหลานไม่ให้ติดต่อสื่อสาร หรือถูกโน้มน้าวจากกลุ่มไอเอสร่วมชาติพันธุ์เดียวกัน เพื่อป้องกันการเติบโตของภัยคุกคามจากกลุ่มดังกล่าวในประเทศของตน แต่ทุกอย่างก็ดูเหมือนกำลังจะก้าวเข้าสู่จุดวิกฤติ เพราะพลเมืองมาเลเซียที่เข้าร่วมกลุ่มไอเอสได้ถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นนักรบและเป็น “มือระเบิดพลีชีพ” ที่น่าสะพรึงกลัวไปแล้ว จากข้อมูลในเว็บไซต์ “เดอะสตาร์ออนไลน์” (The Star online) เมื่อวันที่๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗ ได้นำเสนอข้อมูลของนายอาหะหมัด ทาร์มิมี มาลิกิ (Ahmad Tarmimi Maliki) วัย ๒๖ ปี มือระเบิดพลีชีพชาวมาเลเซียคนแรกของกลุ่มไอเอสว่า นายมาลิกิเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในรัฐเซลังงอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนที่จะเดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสและได้ขับรถยนต์ตรวจการณ์บรรทุกระเบิดจำนวนหลายตันเข้าโจมตีกองบัญชาการหน่วยสวาท (SWAT) ของอิรักที่เมืองอัล อันบาร์ (al-Anbar) เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ก่อนที่จะกดระเบิดจนกองบัญชาการดังกล่าวกลายเป็นจุลไปในพริบตา สามารถสังหารหน่วยรบพิเศษของอิรักได้เป็นจำนวนถึง ๒๕ นายผลงานในครั้งนี้ทางกลุ่มไอเอสได้ตีพิมพ์ผลงานลงในเว็บไซต์ของกลุ่มโดยขนานนามเขาว่า “นักรบมูจาฮิดิน มาเลเซีย”

ลึงจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันครั้งนี้ ได้เปิดเผยว่านายมาลิกิเดินทางไปยังตะวันออกกลางเพื่อศึกษาต่อในวิชาการทางด้านศาสนา และไม่ทราบมาก่อนเลยว่าลูกชายของพวกตนได้กลายเป็นมือระเบิดพลีชีพชาวมาเลเซียคนแรกของกลุ่มไอเอส ทุกคนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ก่อนหน้านี้นายมาลิกิเป็นเหมือนคนปกติทั่วไป ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นคนเงียบขรึมและดูมีความลับอยู่เสมอ จากข้อมูลในเฟซบุ๊คของนายมาลิกิ แสดงให้เห็นว่าเขาเดินทางออกจากมาเลเซียไปยังประเทศตุรกีและผ่านเข้าประเทศซีเรียเพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศอิรักจนจบชีวิตลงด้วยการเป็นมือระเบิดพลีชีพของกลุ่มไอเอสในที่สุด

สำหรับมือระเบิดพลีชีพของมาเลเซียคนที่สองนั้น หนังสือพิมพ์ “เดอะ สเตรท ไทม์” ฉบับวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ได้เปิดเผยว่าเป็นชายหนุ่มอายุ ๒๗ ปีจากรัฐกลันตัน ชื่อ นายอาหะหมัด อับดุล มานาฟ (Ahmad Abdull Manaff) ซึ่งเป็นผู้ขับรถบรรทุกดินระเบิดบุกเข้าไปถล่มฐานปฏิบัติการของทหารซีเรียในเมือง “ฮอมส์” (Homs) เมื่อวันที่ ๘ หรือ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ ส่งผลให้ทหารซีเรียเสียชีวิตเป็นจำนวนกว่า ๕๐ นาย โดยนายมานาฟได้เดินทางเข้าไปในประเทศซีเรียเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ และเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสโดยใช้ชื่อว่า “อาบู ซากาเรีย” (Abu zakaria)

ในขณะเดียวกันสำนักงานตำรวจแห่งชาติของมาเลเซียก็ได้เผยแพร่รายงานว่า มีชาวมาเลเซียจำนวนอย่างน้อย ๑๐ คนที่เสียชีวิตจากการเป็นมือระเบิดพลีชีพให้กับกลุ่มไอเอส แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ รายงานข่าวในเว็บไซต์ “ทูเดย์” (Today’s) ของสิงคโปร์ได้อ้างค..ำให้สัมภาษณ์ของนายอายุบ ข่าน มายดิน(Ayub Khan Mydin) ผู้อำนวยการองค์การต่อต้านการก่อการร้ายของมาเลเซีย ซึ่งกล่าวว่ามีหลักฐานยืนยันว่า ชาวมาเลเซียที่เคยเดินทางไปร่วมรบกับกลุ่มไอเอสในตะวันออกกลางได้ทยอยเดินทางกลับประเทศพร้อมกับจัดตั้งกลุ่มไอเอสในมาเลเซียขึ้น เพื่อเตรียมการโจมตีสถานที่สำคัญในประเทศ โดยพวกเขากล่าวว่า การโจมตีมาเลเซียนั้นเป็นการกระท..ำเพื่อลงโทษมาเลเซียในฐานะที่เป็น “ประเทศผู้ละทิ้งศรัทธา” (apostate) ในหลักศาสนาโทษของการกระทำดังกล่าวคือการหลั่งเลือดของชาวมาเลเซีย

ในขณะนี้รัฐบาลมาเลเซียกำลังจะออกกฎหมายในการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อให้อำนาจรัฐบาลในการควบคุม คุมขังลงโทษและยึดเอกสารการเดินทางของผู้ต้องสงสัยที่อาจจะเป็นแนวร่วมของกลุ่มไอเอสโดยในปีที่ผ่านมามีการจับกุมแนวร่วมของกลุ่มไอเอสในมาเลเซียได้หลายครั้ง พร้อมทั้งมีสัญญาณบอกเหตุว่า กลุ่มเหล่านี้กำลังวางแผนที่จะโจมตีมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโจมตีห้างสรรพสินค้าและสถานบันเทิงต่างๆ นอกจากนี้ผลการจับกุมกลุ่มผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มไอเอสในมาเลเซียครั้งล่าสุดจำนวน ๑๒ คนได้ให้การว่า พวกเขากำลังวางแผนที่จะโจมตีอาคารรัฐสภาของมาเลเซียในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยกลุ่มไอเอสในมาเลเซียลงความเห็นว่า รัฐสภาของมาเลเซียคือ “ศูนย์กลางแห่งความชั่วร้าย” หรือในภาษามลายูเรียกว่า “กาวาซัน มัคเซียท” (kawasan maksiat : Center of Vice)

ยทั้ง ๑๒ คนนั้น จำนวนกว่าครึ่งมีอายุต่ำ
กว่า ๔๐ ปีลงมา และทั้งหมดเป็นนักเรียนที่ผ่านการศึกษาจากโรงเรียนทางศาสนาหรือที่เรียกว่า “ปอเนาะ” (pondok) นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียยังพบว่า แรงจูงใจที่ทำให้ชาวมาเลเซียเข้าร่วมขบวนการกับกลุ่มไอเอสนั้น มีอยู่ ๓ ประการคือ แรงจูงใจจากครอบครัว แรงจูงใจจากปัญหาการเงินและแรงจูงใจจากเพื่อนโดยในห้วงเวลาที่ผ่านมา ทางการมาเลเซียสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มไอเอสได้จำนวน ๑๐๗ คน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยก และมีความเชื่อว่าพวกเขาจะเดินทางสู่สรวงสวรรค์โดยการสู้รบร่วมกับกลุ่มไอเอส

การวางแผนจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วยหลักศาสนาบริสุทธิ์ของกลุ่มไอเอสในมาเลเซียนั้น ไม่เพียงแต่ครอบคลุมประเทศมาเลเซียเท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมไปถึงประเทศสิงคโปร์ด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ โรฮาน กูนารัตนา (Rohan gunaratna) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการก่อการร้ายและภัยคุกคามทางการเมืองระหว่างประเทศของสิงคโปร์ได้ยืนยันถึงข้อมูลของฝ่ายมาเลเซียว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยศาสตราจารย์กูนารัตนา ได้กล่าวว่า องค์กรไอเอสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังวางแผนที่จะโจมตีภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่ามีชาวสิงคโปร์จำนวนหนึ่ง ได้เดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสในซีเรีย เช่น นายฮาจา ฟัคกูรูดินอุสมาน อาลี (Haja Fakkurudeen Usman Ali) ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่ได้นำภรรยาและลูกอีก ๓ คนเดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสในซีเรีย พร้อมทั้งยังมีสตรีชาวสิงคโปร์ซึ่งสมรสกับชาวต่างชาติ ได้เดินทางเข้าไปในซีเรียพร้อมด้วยลูกชายของเธออีก ๒ คน รวมทั้งทางการสิงคโปร์ยังสามารถจับกุมนาย อับดุลบาเชียร์ อับดุล คาเดอร์ (Abdul Basheer Abdul Kader) ทนายความหัวรุนแรงในข้อหาให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มไอเอสในตะวันออกกลาง และทำการคุมตัวนายซากาเรียรอสดาน (Zakaria Rosdan) และนายไครุลโซฟรี ออสมาน (Khairul Sofri Osman) ซึ่งต้องสงสัยว่าพัวพันกับกลุ่มไอเอส โดยห้ามบุคคลทั้งสองเดินทางออกนอกประเทศอย่างเด็ดขาด

จะเห็นได้ว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่มไอเอสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมาเลเซียนั้น เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีสัญญาณบอกเหตุว่า เหล่านักรบที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลางกำลังมีความพยายามในการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มไอเอสในประเทศของตนขึ้น เพื่อทำการต่อสู้และนำพาประเทศก้าวไปสู่ความเป็นรัฐที่ปกครองด้วยหลักศาสนาบริสุทธิ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความรุนแรงและความโหดร้ายทารุณ อันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะต้องร่วมมือร่วมใจกัน ต่อต้านการรวมตัวของกลุ่มไอเอส มิให้ลุกลามขยายตัวออกไป จนกลายเป็นภัยคุกคามของภูมิภาคในที่สุด