อาณาจักรพม่าในยุคที่สอง เป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งทางทหาร เริ่มต้นราชวงศ์จากเมืองตองอูก้าวขึ้นสู่การมีอำนาจทางทหารทีละน้อยพระเจ้าบุเรงนอง (King Bayinnaung) กษัตริย์ลำดับที่สาม แห่งราชวงศ์ตองอู ทรงมีการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ขยายอาณาจักรสุ่เพื่อนบ้าน หลังจากตั้งราชวงศ์ได้ ๔๐ ปี อาณาจักรพม่าในยุคที่สองก้าวขึ้นสู่อำนาจทางทหารอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้นอาณาจักรที่กว้างใหญ่ขึ้นกว่าในอดีตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พระองค์อยู่ในราชสมบัตินาน ๓๐ ปี ขยายอำนาจทางทหารก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของการเป็นมหาอำนาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์ มีอาณาจักรขนาดใหญ่ บทความนี้ กล่าวถึงเหตุการณ์หลังการสวรรคตของพระเจ้านันทบุเรง (King Nanda Bayin) ยุคแห่งความวุ่นวายของอาณาจักรพม่า

ประมาณ ๒ เดือน เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๓ แต่เมืองตองอูมีป้อมปราการแน่นหนาพร้อมทั้งมีคูน้ำล้อมรอบจึงยากที่จะตีหักให้ได้และรุกเข้าสู่ตัวเมืองในเวลารวดเร็ว ประกอบกับไม่ได้เตรียมเสบียงอาหารเพื่อมาทำศึกที่เมืองตองอูกองทัพสยามเตรียมทำศึกกับพม่าที่กรุงหงสาวดีแต่กองทัพสยามต้องเดินทัพขึ้นมาทางเหนืออีกประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร เพื่อจะติดตามพระเจ้านันทบุเรง จึงต้องสูญเสียเสบียงอาหารเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในแผนการทัพ ในที่สุดจอมทัพสยามคือสมเด็จพระนเรศวรทรงตัดสินใจให้ถอนกองทัพสยามกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยาเมื่อแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ แต่สภาพของเมืองตองอู (Toungoo) หลังศึกใหญ่กับสยามได้รับความเสียหายและต้องสูญเสียมากเช่นกัน ทั้งสภาพบ้านเมืองสูญเสียกำลังทหาร และประชาชน รวมทั้งเสบียงอาหารจำนวนมากการเมืองของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่านำมาสู่เจ้าชายนัดจินหน่อง (Natshinnaung)เป็นรัชทายาทของพระเจ้าตองอู (เมงเยสีหตู/Minye Thi Hathu) กับพระนางเมงกอสอ(พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระนางตะขิ่น จีหรือพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนอง) ทรงตกลงใจที่จะลดความยุ่งยากในการปกป้องพระเจ้านันทบุเรง โดยการลอบวางยาพิษเพื่อจะปลงพระชนม์พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง กษัตริย์ลำดับที่สี่ แห่งราชวงศ์ตองอู(เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๑๔๒) พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในวัย ๖๔ พรรษา ทรงอยู่ครองราชสมบัตินานถึง ๑๘ ปี (พ.ศ.๒๑๒๔-๒๑๔๒, พระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๐๗๘ พระราชมารดาคือพระอัครมเหสีอดุลสิริมหาราชเทวี พระนามเดิมพระนางตะขิ่นจีทรงเป็นพระพี่นางในพระเจ้าตะเบงชะเวตี้)

ความวุ่นวายในราชวงศ์ตองอูหลังสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง

เจ้าชายนะยองยานเป็นพระอนุชาของพระเจ้านันทบุเรง (พระราชโอรสองค์เล็ก ของพระเจ้าบุเรงนอง) เมื่อทราบข่าวสิ้นพระชนม์เจ้าชายจึงได้เข้ายึดเมืองตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอังวะ และได้เป็นเจ้าเมืองอังวะ (Ava) เรียกว่าพระเจ้าอังวะ (ชาวพม่าให้การสนับสนุนเนื่องจากเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าบุเรงนอง) ทรงทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่าทรงพระนามสีหสุธรรมราชา เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๔๘ พระองค์คิดทรงขยายอาณาเขตขึ้นไปทางเหนือเข้าโจมตีไทยใหญ่ แต่ความประสงค์ของพระองค์ยังไม่ทันที่จะได้บรรลุเป้าหมายทรงวางไว้ก็สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อนขณะทำศึก เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายนพ.ศ.๒๑๔๘ ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๔๙ พรรษา(ประสูติเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๐๙๘)พระราชโอรสของพระองค์คือพระเจ้ามหาธรรมราชาทรงครองราชย์ต่อ

ขึ้นโดยพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีปี พ.ศ.๒๐๙๔ ระยะเวลา ๓๐ ปี อาณาจักรตองอูก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจแห่งอุษาคเนย์ เมื่อเวลาผ่านมา ๑๘ ปี แผ่นดินมีความแตกแยกและวุ่นวาย ทุกเมืองต่างก็พยายามสร้างอำนาจให้เมืองตนเองมีอำนาจสูงสุดเพื่อความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพระญาติกับพระเจ้าบุเรงนองทั้งสิ้น เมืองที่พอจะมีกำลังทหารหรือมีอำนาจประกอบด้วยพระเจ้าตองอู (เจ้าชายนัดจินหน่อง ขึ้นเป็นพระเจ้าตองอูพระองค์ใหม่ แทนพระราชบิดา)และพระเจ้าอังวะ (พระเจ้าอนันกะเพตลุน)ทรงขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของพม่าคือไทยใหญ่จึงมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น แต่พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการขยายอำนาจลงมาทางใต้คือเมืองแปรและเมืองตองอู ซึ่งเป็นพระญาติและพม่าด้วยกัน

ทางตอนใต้ของอาณาจักรพม่าที่ติดกับชายฝั่งทะเลมีชาวโปรตุเกสได้เป็นเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) ชื่อว่า ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต (Philip de Brito Nicote) ทำการปรับปรุงเมืองสิเรียมให้ป้องกันตัวเองด้วยการสร้างกำแพงเมือง และได้ขุดคูรอบเมืองเป็นผลให้เมืองมีความแข็งแรงอย่างมาก (เป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นดินดอนสามเหลี่ยมตั้งอยู่บริเวณที่ปากแม่น้ำอิระวดี แม่น้ำมีความยาว๒,๑๗๐ กิโลเมตร ไหลผ่านอาณาจักรจากทางด้านเหนือไหลลงสู่ด้านใต้) เป็นกองทัพที่มีอาวุธทันสมัยเมื่อเปรียบเทียบกับกำลังทหารของกองทัพท้องถิ่นที่เป็นชาวพม่า โดยมีทหารโปรตุเกสเป็นกำลังสำคัญพร้อมด้วยทหารชาวมอญ เมื่อกรุงหงสาวดีถึงกาลล่มสลายแล้วจึงขาดอำนาจการปกครองจากศูนย์กลาง เป็นผลให้เมืองสิเรียม (Syriam) มีบทบาทมากยิ่งขึ้นกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าของพม่าทางตอนใต้เมืองจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นแทนกรุงหงสาวดี เมืองยะไข่และเมืองตองอูเห็นว่าเจ้าเมืองสิเรียมกำลังคิดการใหญ่

กองทัพเรือยะไข่เข้าโจมตีเมืองสิเรียม(Syriam) แต่ก็ต้องพ่ายแพ้และสามารถจับตัวแม่ทัพเรือยะไข่ไว้ได้ (เป็นเจ้าชายเมืองยะไข่)เป็นผลให้กองทัพยะไข่และตองอูต้องถอยทัพและต้องเสียเงินค่าไถ่ตัวแม่ทัพเรือยะไข่ ในเวลาต่อมาได้รับการสนับสนุนจากอุปราชเมืองกัว (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย) ได้รับเรือรบอีก ๖ ลำพร้อมด้วยทหาร ๓,๐๐๐ นายทำให้เจ้าเมืองสิเรียมมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นมีอำนาจสูงสุดในพม่าตอนล่าง (เมืองต่างๆ ที่เป็นชาวมอญก็ได้มาขึ้นกับเมืองสิเรียม)

พ.ศ.๒๑๕๑ พระเจ้าอังวะ (พระเจ้าอนันกะเพตลุน/Anaukpetlun) ทรงสามารถยึดครองภาคเหนือของพม่าได้ทั้งหมดมีกำลังทหารและอาวุธเพิ่มมากขึ้น ทรงขยายอำนาจลงมาทางใต้ที่เป็นพม่าด้วยกัน สามารถยึดครองเมืองแปรได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๑๕๑ อีกสองปียึดได้เมืองตองอู และทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองตองอูคนใหม่ (นัดจินหน่อง) ในฐานะเมืองขึ้นของกรุงอังวะ (ก่อนนั้นเป็นเอกราช) เป็นผลให้พระเจ้ากรุงอังวะทรงมีอำนาจทางทหารเพิ่มมากขึ้นเป็นดำลับ พระเจ้ากรุงอังวะเสด็จกลับไปแล้ว (ทรงนำพระเขี้ยวแก้วและบาตรศักสิทธิ์กลับไปด้วย) เจ้าเมืองตองอูก็ไม่พอใจที่ถูกลดฐานะต่ำลง ก็ได้ส่งสาส์นให้เจ้าเมืองสิเรียม (ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต) ให้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองตองอู ต่อมากองทัพเมืองสิเรียมทางตอนใต้ปากแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy)ก็ยกกองทัพขึ้นเหนือเข้าล้อมเมืองตองอู แต่พระอนุชาของเจ้าเมืองตองอูไม่ทรงยินยอมทรงยกกองทัพมาต่อต้านอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดกองทัพเมืองสิเรียม (Syriam) ก็สามารถยึดได้เมืองตองอูสำเร็จ พร้อมทั้งได้เผาเมืองตองอูเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่ต่างกับเมื่อครั้งที่พระองค์เชิญพระเจ้านันทบุเรงเสด็จจากกรุงหงสาวดีเสด็จประทับที่เมืองตองอู พร้อมทั้งกรุงหงสาวดีก็ถูกเผาโดยกองทัพยะไข่ที่ร่วมมือกับกองทัพตองอูก่อนที่กองทัพสยามมาถึงชานกรุงหงสาวดี ๘ วัน และเจ้าเมืองตองอู (นัดจินหน่อง) ได้ดื่มน้ำสาบานเป็นพี่น้องกับเจ้าเมืองสิเรียม (ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต) พร้อมทั้งได้ติดตามไปที่เมืองสิเรียม (Syriam)

เพตลุน/Anaukpetlun) ทรงยกกองทัพลงมาทางด้านใต้ด้วยกำลังทหาร ๑๒๐,๐๐๐ คน พร้อมด้วยเรือรบ ๔๐๐ ลำ ได้เข้าล้อมเมืองสิเรียม (Syriam) แต่กำแพงเมืองสิเรียมมีความมั่นคง (ได้รับการปรับปรุงใหม่) อย่างมาก จึงเป็นการยากที่กองทัพอังวะจะตีหักเข้าไปในเมืองให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

บทสรุป

ที่เมืองตองอู เมืองต่างๆ แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดีต่างก็ได้แย่งชิงความเป็นใหญ่ ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรหงสาวดีจากราชวงศ์ตองอูเริ่มที่จะอ่อนกำลังลง จึงกลายเป็นสงครามกลางเมืองของพม่าในยุคที่สอง พร้อมทั้งมีชาวโปรตุเกสเข้ามามีส่วนร่วมทางด้านการเมืองของพม่าทางตอนใต้ การแย่งชิงอำนาจเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาณาจักรพม่าแห่งหงสาวดี (Hanthawaddy) ในยุคที่สองก็ล่มสลายลงตามกาลเวลา