“ โรคไบโพล่าร์ (Bipolar) ”
เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่องอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า คือ โรคอารมณ์ที่ชัดเจน ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรคไบโพลาร์ จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะมีลักษณะรื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง
โรคนี้มีหลายชื่อ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน, manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ(mania) ก็ได้
โรคไบโพล่าร์นั้นมักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปีแต่ก็มีบางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ ๔๐ ปีได้โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องค่อนข้างมากโดยพบว่าเมื่อลองถามประวัติให้ดีๆ มักจะพบว่ามีคนอื่นบางคนในวงศ์ญาติป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ และลูกหลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ได้มากกว่าคนทั่วไป
อาการของโรค
* อารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็นและมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล อาจจะมีปัญหากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน อารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และ ไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด แล้วถึงขั้นใช้อารมณ์ก้าวร้าวได้
ผู้ป่วยบางคนกลางคืนไม่ยอมหลับ ไม่ยอมนอน อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมากมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น สำส่อนทางเพศอารมณ์ดีที่มากเกินปกติและไม่สมเหตุสมผลที่เป็นมากขึ้น ต่อเนื่องยาวกว่าหนึ่งอาทิตย์แล้วก่อให้เกิดปัญหาคือ จุดที่ควรสงสัยว่าคนนั้นอาจเป็นโรคไบโพล่าร์ ความหมายของไบโพล่าร์ไม่จำเป็นต้องสลับกับช่วงซึมเศร้าบางคนเป็นโรคนี้ อยู่ช่วงหนึ่งอาจจะประมาณ๔ – ๖ เดือนอาจจะสามารถกลับคืนเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องรักษา ทำให้คนรอบข้างจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา ถ้าไม่สังเกตอย่างใกล้ชิดเมื่อปกติแล้วเขาจะดำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึงช่วงหนึ่งจะรื่นเริงอีก หรืออาจจะสลับไปขั้วตรงข้าม เป็นแบบซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มตั้งแต่แยกตัว เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้นอนไม่หลับ เบื่อๆ เข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าที่สำคัญที่สุดคือการฆ่าตัวตาย
* โรคนี้ช่วงซึมเศร้าจะเหมือนกับโรคซึมเศร้า อัตราการฆ่าตัวตายคือร้อยละ ๑๕ -๒๐ เพราะฉะนั้น หนึ่งในห้ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเบื่อเศร้าและฆ่าตัวตาย ช่วงที่รื่นเริงมากๆ ก็จะมีประเด็นการฆ่าตัวตายได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนซึมเศร้า คนไข้ที่จะป่วยเป็นโรคนี้ จากการวิจัยพบว่า จะเริ่มเกิดอาการของโรคนี้ในช่วงวัยรุ่น แต่อาการจะไม่ปรากฏชัด ซึ่งบางทีวัยรุ่นเป็นโรคนี้อยู่แต่ไม่ปรากฏอาการที่รุนแรง คนรอบข้างจะไม่สามารถสังเกตได้ อาจเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเช่น อาจจะเที่ยวกลางคืน อยากไปเตร็ดเตร่ไม่มีสมาธิในการเรียนทำให้ผลการเรียนตกลงอาจจะมีปัญหาเรื่องของพฤติกรรมที่สร้างปัญหา เช่น ทะเลาะกับเพื่อนฝูง ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ใกล้ชิด เห็นแค่ปรับเปลี่ยนไปนิดหน่อยเหมือนกับไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย
แนวทางในการรักษาโรค
ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสาร สื่อนำประสาท ที่ไม่สมดุลคือมีสารซีโรโทนิน(serotonin) น้อยเกินไปและสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป ดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
๑. การรักษาในปัจจุบันนี้ ใช้ยาไปช่วยในการปรับสารสื่อนำประสาทตรงให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่มปรับอารมณ์ให้คงที่ mood stabilizer ซึ่งจะมียาเฉพาะไม่กี่ตัวที่จะใช้ในการรักษาที่จะช่วยอาการนี้ได้ ช่วงระยะการรักษา ช่วงแรกจะเป็นการคุมอาการให้กลับมา เป็นปกติที่สุดภายใน ๑ สัปดาห์ก่อน หรืออย่างช้า ๑ เดือนหลังจากนั้น จะเป็นการรักษาต่อเนื่องอาจต้องใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับอาการคนไข้เป็นสำคัญ ในคนไข้บางราย ๑ ปี อาจมาพบหมอแค่ ๒ – ๔ ครั้งเท่านั้น ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลตลอด
lithium ควบคุมอาการ mania ได้ดีมากแต่ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานเนื่องจากโรคนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้ ตัวยายังสามารถป้องกันได้ทั้งอาการ mania และอาการซึมเศร้า ยาอื่นๆ ที่ได้ผลดี ได้แก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin
๒. ยาหลักที่นิยมใช้รักษาและได้ผลดีคือ lithium ควบคุมอาการ mania ได้ดีมากแต่ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานเนื่องจากโรคนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้ ตัวยายังสามารถป้องกันได้ทั้งอาการ mania และอาการซึมเศร้า ยาอื่นๆ ที่ได้ผลดี ได้แก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin
๓. สำหรับอาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และ ziprasidone
๔. สิ่งสำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ๖ – ๘ ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
๕. ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วงก่อนโรคกำเริบรุนแรงเพราะว่ามีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำอีก ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนมากที่สุด คือ ๑๕ – ๒๕ ปี กลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์แอคทีฟ”ต่อมา บางช่วงของการเจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เป็นมากๆ อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
โรคนี้รักษาได้ ญาติควรนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยด่วน หากพบว่าอาการเริ่มเพิ่มชั้นความรุนแรง
ปัจจุบันมียาที่ใช้ปรับอารมณ์ให้คงที่ปกติสามารถให้ผู้ป่วยดำเนินได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป และลดซึ่งความสูญเสียทางด้านหน้าที่การงาน และเงินทอง เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้