กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ADSOM – Plus WG) วางแนวทางการหารือสู่การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา หรือ ADMM – Plus ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในปี 2562

เมื่อ 1 มี.ค.62 พลเอกรักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา ( ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting – Plus Working Group: ADSOM – Plus WG)ณ โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า จ.ภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนกระทรวงกลาโหมระดับผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหมจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจา 8 ประเทศ และผู้แทนเลขาธิการอาเซียน เพื่อเตรียมการประชุมและร่วมกำหนดหัวข้อในการหารือ ก่อนที่กระทรวงกลาโหมจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา หรือ ADMM-Plus ในเดือนพฤศจิกายนปี 2562
การประชุมในครั้งนี้จะประกอบไปด้วยการพิจารณาร่างปฏิญญาร่วมและร่างแถลงการณ์ร่วมต่างๆ การหารือและประเมินความสำเร็จของการประชุมADMM – Plus EWGs ครั้งที่ผ่านๆมา การหารือถึงความเป็นไปได้ในการเป็นประธานร่วมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆในกรอบADMM – Plus ในวงรอบใหม่ (เม.ย.63 – เม.ย.66) การหารือการคัดเลือกประเทศผู้สังเกตการณ์ของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆในกรอบการประชุม ADMM – Plus รวมถึง การร่วมพิจารณาในเรื่องการฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียนกับอเมริกา และการให้สหภาพยุโรปเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบสรุปการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน(ADSOM WG)เมื่อวานนี้ ที่ติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน 13 ความร่วมมือ ซี่งครอบคลุมความร่วมมือที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านความมั่นคงในรูปแบบต่างๆที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น และ ในส่วนของทางกระทรวงกลาโหมที่ได้นำเสนอความริเริ่มในความร่วมมือด้านความมั่นคงต่อที่ประชุมได้แก่ การประเมินผลความร่วมมือต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการให้ดียิ่งขึ้น ความร่วมมือของฝ่ายทหารอาเซียนในการสนับสนุนการบริหารจัดการชายแดน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามข้ามแดนและบทบาทของฝ่ายทหารในการสนับสนุน การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ไร้การรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unreported Fishing : IUU Fishing)เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาในการประชุม ADSOM และ ADSOM – Plus ในวันที่ 2 – 5 เม.ย. ณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อไป

 

2501 2519 2511 2507 2505