• กระทรวงกลาโหม โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยสนับสนุนภารกิจของรัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติตามมาตรา ๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ และเป็นหน่วยสนับสนุนตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้เตรียมพร้อมสนับสนุนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตามนโยบายของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบกมีความห่วงใยผลกระทบต่อภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนอย่างมาก โดยได้กำชับและสั่งการในทุกการประชุมให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ เตรียมการและปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม โดยให้ประสานงานกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบแผนงานของแต่ละหน่วย ในการสนับสนุนการเตรียมการและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม สำนักงานโฆษกกระทรวงกลาโหมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี ๒๕๕๘ ของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการประสานสอดคล้องกันในภาพรวมของประเทศ เพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมและเข้าถึงทุกพื้นที่
แผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม ได้แบ่งมอบความรับผิดชอบให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพอันประกอบไปด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบกกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ในการจัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยขึ้น โดยแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบตามที่ตั้งของหน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่จนถึงระดับอำเภอ โดยให้นำศักยภาพและขีดความสามารถของหน่วยมาใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของประเทศที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งได้กำหนดการปฏิบัติสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลใน ๒ ลักษณะคือ การช่วยเหลือเชิงป้องกันและการช่วยเหลือเฉพาะหน้า
๑. การช่วยเหลือเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนที่จะเกิดภัยแล้ง โดยกระทรวงกลาโหม ได้นำกำลังพลและยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะทางการช่าง มาดำเนินการตามแผนงานและนโยบายของรัฐบาลในโครงการต่าง ๆ ล่วงหน้ามาแล้ว ตามการแจ้งเตือนมาตั้งแต่ปี๒๕๕๖ อาทิ โครงการขุดลอกคูคลอง โครงการสร้างฝาย โครงการขุดบ่อน้ำบาดาล โครงการพัฒนาบ่อน้ำบาดาล โครงการก่อสร้างถังเก็บน้ำ โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาโครงการกำจัดผักตบชวา โครงการปลูกป่าและโครงการปลูกป่าชายเลน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะพื้นที่ๆ เคยได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ดังตัวอย่างที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น
ได้ดำเนินการขุดลอกคลองตามโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ จำนวน ๒๖๐ โครงการนอกจากนี้ยังได้สนับสนุนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ โดยการสร้างฝายชะลอน้ำแบบถาวร แบบกึ่งถาวร และแบบผสมผสาน รวมจำนวน ๕,๐๔๗ แห่ง การปลูกหญ้าแฝก จำนวน ๓.๘ ล้านต้นการปรับปรุงสภาพลำน้ำในพื้นที่จังหวัดต้นน้ำกลางน้ำ และปลายน้ำ รวม ๒๔ จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งช่วยให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการรองรับน้ำได้ประมาณ ๓๔ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการตามแผนงานประจำปีของหน่วย ได้แก่ การขุดลอกบ่อกักเก็บน้ำ การขุดบ่อน้ำบาดาล การพัฒนาบ่อบาดาล การขุดลอกคูคลอง การสร้างฝายน้ำล้น และการแจกจ่ายภาชนะกักเก็บน้ำ เป็นต้น
โครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมีปลูกต้นไม้ สร้างฝาย ขยายคูคลอง ซึ่งสามารถปลูกต้นไม้ได้ ๓๔,๖๑๓ ไร่ สร้างฝายได้๔๕,๖๗๕ ฝาย และ ปลูกป่าชายเลนได้๒๔,๐๗๐ ไร่ ดำเนินโครงการฟื้นคืนผืนป่าแนวชายแดน ซึ่งสามารถปลูกต้นไม้ได้ ๑,๒๒๐ ไร่ สร้างฝาย ๙๙๓ ฝาย และปลูกหญ้าแฝก๑,๖๕๐,๐๐๐ ต้น ดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ มีเป้าหมายนำร่องฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ๖,๔๕๐ ไร่ ดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ได้ขุดลอกคูคลองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ระบบการระบายน้ำมีประสิทธิ-ภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐ – ๙๐ ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งได้ประยุกต์ใช้ขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ มาใช้ในการสนับสนุนการแก้ปัญหาภัยแล้ง ทั้งในเชิงป้องกันและการช่วยเหลือเฉพาะหน้า อาทิ การใช้อากาศยานโปรยเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าลงในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมการใช้อากาศยานสนับสนุนกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในโครงการฝนหลวง ซึ่งในปี๒๕๕๗ นี้ ได้ปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ การจัดเตรียมอากาศยานพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพ สำหรับการบินลาดตระเวน การถ่ายภาพทางอากาศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง รวมทั้งสนับสนุนการใช้อากาศยานดับไฟป่า ซึ่งในปัจจุบันกองทัพอากาศได้จัดเครื่องบิน BT-67 เครื่องบิน AU-23 และ Alphajet ปฏิบัติภารกิจการบินฝนหลวงร่วมกับสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร สนับสนุนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจัดตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวงณ กองบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ และโรงเรียนการบิน รวมทั้งทำการบินโปรยน้ำเพื่อสลายหมอกควัน และการบินควบคุมไฟป่า สนับสนุนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ยังทำการบินลาดตะเวนทางอากาศเพื่อสำรวจพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดยกองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลกจะเป็นฐานปฏิบัติการหลักในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำของภาคเหนือตอนล่าง
๒. การช่วยเหลือเฉพาะหน้า เป็นการช่วยเหลือเมื่อภัยแล้งเกิดขึ้น โดยหน่วยทหารในพื้นที่ซึ่งได้รับการแบ่งมอบตามแผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยสนับสนุน สำหรับการสนับสนุนส่วนราชการและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมานั้น ได้แจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคให้กับประชาชนที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ ไปเป็นจำนวนประมาณ ๓๒ ล้านลิตร สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งตั้งแต่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมามี ๓๐ อำเภอในพื้นที่ ๘ จังหวัด ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งหน่วยขึ้นตรงศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพได้ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนด้วยการนำรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ รวมปริมาณน้ำจนถึงปัจจุบันประมาณ ๑ ล้านลิตรนอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมให้การสนับสนุนอากาศยานในการทำฝนหลวงและการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ที่อาจเกิดขึ้น โดยได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โครงการ “ราษฎร์รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งด้วยการนำน้ำอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้กับประชาชนโดยความร่วมมือ ๕ หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพบก การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยการแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคประมาณ๒๗ ล้านลิตร ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งกว่า ๒๐ จังหวัด สำหรับปี ๒๕๕๘ นี้พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบกได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการไป เมื่อ๒๘ มกราคม ๒๕๕๘ โดยจะมีการดำเนินการไปจนถึง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ หรือจนกว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะคลี่คลาย
ใช้เรือระบายพลขนาดใหญ่ลำเรียงน้ำจืดไปแจกจ่ายในพื้นที่เกาะต่าง ๆ เช่น เกาะกูดและ เกาะหมาก เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาจากกรณีน้ำทะเลหนุนจนส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปานั้น ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ ได้จัดเรือผลักดันน้ำเพื่อผลักดันน้ำทะเล ด้วยการสนับสนุนด้านอื่น ๆ
นอกจากนี้ ยังได้ใช้วิทยุในเครือข่ายของกระทรวงกลาโหม และวิทยุสาธารณะในเครือข่ายความมั่นคง สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนต่อภัยแล้งและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น โรคที่อาจเกิดขึ้นจากภัยแล้งไฟป่า เป็นต้น รวมทั้ง รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเห็นคุณค่า
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ จึงได้พัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายภาคพลเรือนเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหมได้นำเทคโนโลยี Application บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือ LINE มาจัดตั้งกลุ่ม “ศบภ.กห. พลเรือน – ทหาร” เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการติดตามสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งจะทำให้ส่วนกลางสามารถให้การสนับสนุนหน่วยในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ ยังได้ประสานขอความร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ในการพัฒนาเว็ปไซต์เพื่อการรวบรวมและติดตามสถานการณ์สาธารณภัยรวมทั้งการแจ้งขอรับการสนับสนุนจากทหารและการแจ้งเตือนสถานการณ์สาธารณภัยด้วย ซึ่งในอนาคตหลังจากที่ผลการทดสอบได้ผลตามที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะมีการเปิดให้บริการApplication บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไป ซึ่งจะนำมาใช้ในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและการรายงานผลการปฏิบัติของหน่วยทหารในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยขีดความสามารถด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างแพทย์ทหารกับกระทรวงสาธารณสุข ทำให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาโรคที่เกิดในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาเป็นไปได้อย่างดี สำหรับภัยแล้งในปี ๒๕๕๘ นั้นหน่วยแพทย์ทหารมีความพร้อมในการออกไปให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย