ปัจจุบันเรามักจะได้ยินข่าวภัยแล้งพายุฝนรุนแรง น้ำท่วม คลื่นความร้อน การระบาดของโรคภัยต่าง ๆ ที่รุนแรงและบ่อยขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลก สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอันเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนองค์ประกอบของบรรยากาศโลกโดยตรงหรือโดยอ้อม และที่เพิ่มเติมจากความแปรปรวนของสภาวะอากาศตามธรรมชาติที่สังเกตได้ในช่วงพันเอกสุรัตน์ ปราชญากุลระยะเวลาเดียวกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นปริมาณน้ำฝน ฤดูกาล อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่

บรรยากาศโลกและสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการร่วมกันมายาวนาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ทำ ให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ได้ แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ ค.ศ. ๑๗๕๐ เป็นต้นมา ทำให้มีการนำพลังงานฟอสซิลเช่น ถ่านหิน น้ำมัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนมาใช้ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะการตัดไม้ทำลายป่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ เมื่อปล่อยก๊าซดังกล่าวในบรรยากาศปริมาณมหาศาลอย่างต่อเนื่องทำให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในบรรยากาศ มีความรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ ส่งผลให้สมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มันเป็นมากกว่าเรื่องของความร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบของลม จำนวน และชนิดของไอน้ำในอากาศ (ฝน ลม หิมะ น้ำแข็ง) มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ ก็จะค่อย ๆ ตายลงและอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด ทำให้ความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับผลกระทบต่อมนุษย์นั้น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ผลผลิตการเกษตรลดต่ำลง ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มบางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักเนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น

น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลายทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบโดยตรง อาจทำให้บางพื้นที่จมหายไปอย่างถาวร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการสืบเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตามธรรมชาติ การเกษตรเพื่อผลิตอาหารของมนุษย์ สุขภาพอนามัยตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศได้รับจะแตกต่างกันตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยเกื้อหนุนอื่น ๆ ดังนั้น ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นปัญหาสำคัญที่มวลมนุษยชาติจะต้องร่วมมือกันป้องกัน และเสริมสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น และสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากว่า๒๐ ปี รวมทั้งได้ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Non-Annex I คือ ไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยมีสภาวะแวดล้อมและภูมิประเทศเป็นตัวกำหนด ดังนั้น ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงไม่ได้น้อยตามสัดส่วนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ไทยปลดปล่อย ซึ่งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่

๑. น้ำท่วม โดยในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ไทยมักประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเกิดในเขตชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากกว่าที่กักเก็บ และระบบระบายน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมนำความเสียหายอย่างมหาศาลมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินขึ้น โดยทำลายสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทางสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทำลายพืชผลทางการเกษตรชะล้างหน้าดินทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกิดการปนเปื้อนของน้ำ และน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ยังส่งผลต่อการแพร่ของโรคระบาดทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ และมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตร ประชาชนต้องสูญเสียที่ทำกิน ต้องอพยพย้ายถิ่นมาทำงานในเมือง ผลผลิตระดับท้องถิ่นและระดับประเทศลดลง

๒. ความแห้งแล้ง สืบเนื่องจากปริมาณรังสีดวงอาทิตย์บริเวณผิวโลกสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนและการระเหยของน้ำมีการเปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำในลำธารและน้ำใต้ดินลดลงเนื่องจากระเหยแห้งไปกับความร้อนที่สูงขึ้นหมด ทำให้ปริมาณฝนตกน้อยลงหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานานในหน้าแล้งและหน้าร้อน ผลคือทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้ง มีผลกระทบต่อการทำเกษตรของไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมอย่างยิ่ง และไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน

๓. ความหลากหลายทางชีวภาพ แม้ประเทศไทยมีความหลากหลายของทรัพยากรมาก แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่สัตว์และพืชหลาย ๆ สายพันธุ์ในประเทศไทยจะลดลงและสูญพันธุ์ไป เนื่องจากพืชและสัตว์จะรับสัญญาณจากภูมิอากาศในการเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตให้สมบูรณ์ สามารถสืบทอดขยายพันธุ์ต่อไปได้ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลให้สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมถึงป่าไม้ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในภาวะที่โลกร้อนขึ้น ในบริเวณที่ระดับน้ำลดต่ำก็มีผลทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงเช่นกัน ส่วนพื้นที่ชายฝั่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นแอ่งเก็บน้ำหรือทะเลสาบน้ำตื้น พืชน้ำและพืชชุ่มน้ำโดยรอบจะลดลง ส่งผลกระทบต่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของสัตว์น้ำ และการลดลงหรือหายไปของพืช เกิดความเสื่อมถอยด้านการผลิตชีวมวล หรือแม้แต่การสูญพันธุ์ของปลา การที่ปริมาณน้ำและอาณาเขตของแหล่งน้ำที่ลดลง ส่งผลให้แหล่งน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมธาตุที่กระตุ้นให้สาหร่ายและวัชพืชน้ำเจริญในปริมาณมาก ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้บริเวณที่ฝนตกหนัก สารมลภาวะที่เป็นกรดในอากาศจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำมากขึ้น ความเป็นกรดนี้ก็มีส่วนทำลายความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเช่นกัน

๔. สุขอนามัย จากการที่อุณหภูมิเฉลี่ยและอุณหภูมิสูงสุดในที่ต่าง ๆ สูงขึ้น เป็นผลให้มีจำนวนวันที่อากาศร้อนเพิ่มขึ้นและคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น มีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ทั้งทางตรง ได้แก่ การเป็นลมแดด หรือ Heat stroke และทางอ้อม ได้แก่ การระบาดของโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเร่งวงจรชีวิตของยุง การเกิดโรคอุจจาระร่วงเนื่องจากอาหารและน้ำปนเปื้อนเชื้อจากการกระจายของน้ำผิวดิน และภาวะน้ำท่วม เกิดภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำและทำให้มีการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินมากขึ้น

๕. อุณหภูมิ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยและอุณหภูมิสูงสุดในที่ต่าง ๆ สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นสูงขึ้น เกิดการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ที่จะใช้ผลิตไฟฟ้า และอุปโภคบริโภค

๖. ระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกทำให้ระดับน้ำเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๐.๐๙ – ๐.๘๘ เมตร มีผลต่อสภาวะคลื่นและการกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นทั้งทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญ และแหล่งประกอบอาชีพของชุมชนชายฝั่ง ผลผลิตทางการประมง และเกษตรกรรมบริเวณชายฝั่งรวมไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และเศรษฐกิจของประเทศ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นยังทำให้บริเวณชะวากทะเล (Estuary) ที่อยู่ในเขตพื้นที่ต่ำ จะจมลงและถูกกัดเซาะมาขึ้น บริเวณปากแม่น้ำจะเกิดการผันแปรของน้ำขึ้นน้ำลงและมีการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าสู่ลำน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์โดยเฉพาะปลา ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและเข้าท่วมบริเวณที่ลุ่มน้ำเค็มและป่าชายเลน ส่งผลให้บริเวณที่ติดอยู่กับชายฝั่งทะเลของพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำทะเลท่วมขัง และกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสูญเสียสภาพทางนิเวศและกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม นอกจากนี้การเพิ่มของระดับน้ำทะเลยังเป็นสาเหตุนำไปสู่การเคลื่อนตัวของน้ำ เค็มสู่แผ่นดิน ทำ ให้เกิดปัญหาน้ำจืดใต้ดินเค็ม ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำจืดใต้ดิน และยังทำให้ชุมชนชายฝั่งทะเลระบายน้ำเสียลงสู่ทะเลได้ยากขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยควรจะต้องคำนึงถึงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็คือ ภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้เป็นปรากฏการณ์ในระดับโลก และคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปอีกหลายทศวรรษเป็นอย่างน้อย เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่เราสามารถกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบด้วยการเตรียมพร้อมและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๙๓ (THAILAND Climate Change Master Plan 2012 – 2050) จัดทำโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยและใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของทุกภาคส่วนในประเทศให้สามารถรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเตรียมตัวหรือปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในอนาคตอย่างเหมาะสมได้ และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อไป