COVID-19 (ตอนที่4)
การรับตัวกลับมาคนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ต้องเกิดปัญหาเมื่อคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้หลบหนีจาก การดูแลของเจ้าหน้าที่ ทั้งที่ทางประเทศไทยได้มีมาตรการในการรับตัวผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงต่อการติด เชื้อไวรัส COVOD-19 ไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่การตรวจคัดกรองผู้ที่มีอาการที่สนามบิน การประเมินความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
สาธารณสุขไทยได้มีการหารือกับภาคส่วนต่างๆในการเตรียมรับบุคคลเหล่านี้ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยผู้ที่มีอาการ จะส่งเข้าตรวจรักษา ผู้ที่มาจากพื้นที่มีความเสี่ยงมากจะทำการควบคุมโรคในพื้นที่ที่ได้รับความร่วมมือจากทาง ทหารทั้งสามเหล่าทัพในการหาพื้นที่พักสังเกตอาการ และการส่งตรวจ-เข้ารับการรักษาอย่างเป็นระบบ
การหลบหนีของบุคคลเหล่านี้ทำให้มาตรการในการควบคุมโรคทำได้ยากขึ้น ทำให้การระมัดระวังตัวของบุคคล ในประเทศยังคงมีความสำคัญมาก ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อในประเทศยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มาตรการในการป้องกันการติดเชื้อของแต่ละบุคคลต้องทำอย่างต่อเนื่องจนกว่า สถานการณ์จะคลี่คลาย
ประเทศไทยมิได้ห้ามการเดินทางเข้าออกของบุคคลในการไป-กลับจากประเทศที่มีความเสี่ยง ผู้ที่เดินทางจาก ประเทศพื้นที่เสี่ยงสามารถผ่านเข้า-ออก หรือทำการต่อเครื่องในประเทศได้ ภายใต้การควบคุมดูแลและคัด กรอง อย่างไรก็ตามทางสาธาณสุขได้ขอความร่วมมือผู้ที่จะเดินทางไปในประเทศพื้นที่เสี่ยงให้พิจารณาถึงความ จำเป็น และปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ผู้ที่เดินทางไปอาจจะคิดว่าสภาพร่างกายแข็งแรงและสามารถที่ จะป้องกันตนเองได้ แต่จากการเฝ้าระวังและตรวจพบผู้ติดเชื้อล้วนเป็นการได้รับเชื้อจากพื้นที่เสี่ยง ตัวอย่างผู้ ติดเชื้อจากประเทศอิหร่านซึ่งไม่แสดงอาการเมื่อเดินทางกลับมาถึงไทยวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 จากนั้น เดินทางไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาตามปกติ จนมีอาการไม่สบายเข้ารับการ รักษาตัวในโรงพยาบาลในวันที่ 2 มีนาคม จึงมีความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นในช่วงเวลาที่พักอยู่ใน ประเทศ
อนึ่ง การตรวจหาการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่นี้ ไม่สามารถตรวจทราบโดยง่ายเช่นไข้หวัดใหญ่หรือ ไข้เลือดออก เนื่องจากต้องใช้การตรวจยืนยันโดยตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ใช้เวลาประมาณ 2 วัน หรือ อาจนานกว่านั้นหากมีสิ่งส่งตรวจจำนวนมาก ผู้ที่มีความจะเดินทางไปต่างประเทศจึงตอ้งพิจารณาถึงความ จำเป็นตามคำแนะนำของสาธารณสุข เพราะหากมีผู้เข้าข่ายที่จะมีการติดเชื้อเป็นจำนวนมากก็จะเป็นภาระของ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เจ้าหน้าที่คัดกรอง ให้คำแนะนำ สถานพยาบาลในการจัดหาสถานที่แยกตัวรอผล การตรวจ การติดต่อประสานงานกับห้องปฏิบัติการตรวจ และกรมควบคุมโรค เหล่านี้เป็นภาระงานที่จะมีความ
ยากลำบากขึ้นหากมีผู้ที่เข้าข่ายการติดเชื้อปริมาณมาก และมีโอกาสที่จะล่าช้าในการดำเนินการ ส่งผลให้การ ควบคุมทำได้ยากขึ้น
ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2563 ประเทศที่มีการระบาดเชื้อมาก ผู้ที่เดินทางไปต้องได้รับการควบคุมดูอาการใน สถานที่ที่รัฐบาลกำหนดเป็นเวลา 14 วันนับแต่วันที่เดินทางกลับสู่ประเทศไทยจำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ จีน (รวมฮ่องกงและมาเก๊า) เกาหลีใต้ อิตาลีและอิหร่าน พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่องและควรหลีกเลี่ยงการเดินทาง ผู้ที่เดินทางต้องแยกตัวจากผู้อื่น ไม่ควรออกจากบ้านเป็นเวลา 14 วันนับแต่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ เยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
การระวังป้องกันในส่วนรวม ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้ที่สงสัยหรือพบเห็นผู้ที่เป็น หรือมีเหตุอันควรสงสัย ให้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือโทรปรึกษาได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
ในส่วนมาตรการส่วนบุคคล ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าวแล้ว รวมทั้งสถานที่แออัด การใส่ หน้ากากป้องกันหากต้องออกจากบ้าน ใช้บริการพื้นที่หรือการคมนาคมสาธารณะ ที่สำคัญการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการเอามือแตะโดนบริเวณใบหน้า การกินอาหารสุกร้อน ใช้ช้อนกลาง เป็นสิ่งพึงกระทำ
จากปัญหาหน้ากากอนามัยขาดตลาด ทางภาครัฐและเอกชนบางส่วนได้ดำเนินการร่วมการแก้ไข ในแง่ดีการ ขาดเกิดจากการที่ประชาชนมีความตระหนักในการระมัดระวังตัว แต่ก็มีผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลน ในการ นี้ทางกรมอนามัยได้มีการศึกษาถึงแนวทางแก้ไข และแจ้งให้ประชาชนทราบว่าการใช้หน้ากากผ้าโดยทั่วไปถือ ว่าป้องกันการติดเชื้อได้น้อยหรือไม่ได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะหน้ากากผ้าธรรมดามีคุณสมบัติการดูดซับความชื้นได้ ดี ทำให้เชื้อโรคสามารถเจริญได้ และมีช่องระหว่างเส้นใยผ้าที่ไม่สามารถป้องกัน หน้ากากผ้าที่ป้องกันได้ต้อง เป็นผ้าชนิดที่มีคุณสมบัติไม่ซับน้ำ มีช่องระหว่างเส้นใยในระดับที่ป้องกันได้ ผ้าที่สามารถนำมาใช้เช่น ผ้าฝ้าย ผ้า ใยสังเคราะห์ ผ้าสาลู ที่สำคัญต้องสวมให้คลุมทั่วทั้งปากและจมูก ควรจะมีไว้ใช้ 2-3 อันเพื่อสับเปลี่ยนทำความ สะอาดโดยการซักด้วยผงซักฟอกปกติ กรมอนามัยได้เผยแพร่คลิปวิดีโอการทำหน้ากากผ้าด้วยตนเอง สามารถ หาดูและทำเองได้
สถาณการณ์ทั่วโลกปัจจุบัน (8 มีนาคม 2563) มีผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้ว 107,726 ราย เสียชีวิต 3,656 ราย ประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 รายในวันที่ 7 มีนาคม เป็นผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศอิตาลี กลุ่มเดียวกับผู้ตดิ เชื้อรายก่อนหน้านี้ ซึ่งกลุ่มนี้เดินทางไปทั้งหมด 6 คน ยืนยันติดเชื้อแล้ว 3 คน อีก 3 คนอยู่ระหว่างสังเกตอาการ รวมผู้ติดเชื้อยืนยัน 50 ราย เสยีชีวิต 1 ราย อาการหนักอยู่ระหว่างการรักษา 1 ราย และรักษาหายแล้ว 33 ราย

S__4497548