✅กล่าวนำ :
[1] กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
[2] กระทรวงกลาโหม น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
[3] กระทรวงกลาโหม ยึดมั่นในหลักนิติธรรม กฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล
.
📌นโยบายทั่วไป : กรอบแนวทางการดำเนินงาน ตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ใน…
[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
[2] พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
[3] พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
[4] พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551
[5] ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อ…ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม คือ (ก) การเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ (ข) การพัฒนาระบบการบริหารราชการกระทรวงกลาโหมและการพัฒนากองทัพ และ (ค) การสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
.
โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุกองค์ประกอบอย่างสมดุล สำหรับ…
[1] การเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ
[2] การพัฒนาระบบการบริหารราชการกระทรวงกลาโหมและการพัฒนากองทัพ
[3] การสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
.
📌นโยบายเฉพาะ : ความมุ่งหมาย เพื่อ… (ก) พัฒนากองทัพให้มีศักยภาพพร้อมรองรับภัยคุกคามและความท้าทายในทุกมิติ (ข) เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของประชาชน รวมทั้ง (ค) พัฒนาให้ทุกเหล่าทัพมีขีดความสามารถและบูรณาการทำงานร่วมกัน
โดย…ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับบทบาทของเทคโนโลยีและระบบการทำงานรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางทหารในศตวรรษที่ 21 โดยมีความสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ
.
ประกอบด้วยนโยบายสำคัญ 11 ประการ ได้แก่…
[1] พิทักษ์รักษา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
[2] เปลี่ยนผ่านการตรวจเลือกทหารกองประจำการ (พลทหาร) ไปสู่การสมัครใจ
[3] ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้มีขนาดกะทัดรัด คล่องแคล่ว และทันสมัย
[4] ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของกองทัพในการพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งสนับสนุนรัฐบาลและส่วนราชการอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนของประเทศ
[5] เสริมสร้างความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ โดยใช้การซ่อมปรับปรุง และการเพิ่มขีดความสามารถยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เป็นลำดับแรก
[6] ขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดินในความรับผิดชอบของหน่วยทหาร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม
[7] พัฒนาระบบงานอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานของกองทัพและหน่วยงานความมั่นคง ตลอดจนสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
[8] ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ในทุกมิติของกระทรวงกลาโหม
[9] ให้ความสำคัญกับกำลังพลชั้นผู้น้อยทุกระดับ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีของทหารและกองทัพในภาพรวม
[10] ให้การดูแลทหารผ่านศึกและครอบครัวในทุกพื้นที่ มีการพัฒนาทักษะเพื่อการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของโลกยุคใหม่ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรี
[11] สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกองทัพกับประชาชน โดยสร้างความเชื่อมั่นให้สาธารณชนเห็นว่ากองทัพมีความเป็นทหารอาชีพในระบอบประชาธิปไตย คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนตามกติกาสากล
.
นายภูมิธรรม เวชยชัย
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
31 ตุลาคม 2567
—————-
.