สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศผลงานวิจัยพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ
อากาศยานไร้คนขับ คือ ระบบอากาศยานที่ทำงานอัตโนมัติโดยไม่มีคนขับ อาจจะใช้ระบบบังคับจากระยะไกล มีระบบและอุปกรณ์ต่างๆเช่น ระบบเซ็นเซอร์ ระบบสื่อสาร ระบบอาวุธ ฯลฯมีทั้งแบบใช้ได้ครั้งเดียวและแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติภารกิจทางทหาร ได้รับการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหาร เหมาะสมกับภารกิจประเภท 3D กล่าวคือ ภารกิจที่ต้องปฏิบัติซ้ำๆ หรือต้องใช้เวลานานมากๆ (Dull) ภารกิจที่ต้องเข้าไปปฏิบัติงานในสภาวะฉุกเฉิน สภาวะวิกฤตของสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษหรือปนเปื้อนสารพิษ (Dirty) และภารกิจที่ต้องเสี่ยงอันตราย (Dangerous) ซึ่งขีดความสามารถที่โดดเด่นของระบบอากาศยานไร้คนขับคือภารกิจด้านการข่าว (Intelligence) การค้นหาเป้าหมาย (Target Acquisition) การลาดตระเวน (Reconnaissance) การติดต่อสื่อสาร (Communication) และภารกิจอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของระบบสงครามที่ใช้เครือข่าย (Network Centric Warfare) ในบทบาทการทำหน้าที่เป็น Sensor และ Shooter เนื่องจากคุณลักษณะที่โดดเด่นกว่าเครื่องบินเช่น น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย ฯลฯ สามารถติดตั้ง Payload ได้หลากชนิดสำหรับเลือกใช้งานได้ในหลากหลายภารกิจทั้งภารกิจทางทหารและภารกิจทางพลเรือน เช่น การบินสำรวจสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดลอ้ มเพื่อ การเกษตรและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ งานด้านอุตุนิยมวิทยาการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติจากขีดความสามารถที่หลากหลายดังที่กล่าวไปส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน อากาศยานไร้คนขับมีความสำคัญมากขึ้นและใช้กันกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ให้กองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงใช้งาน ดำเนินการวิจัยพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับตามแผนแม่บทการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบยานไร้คนขับ (พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๖๓)ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภากลาโหมเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ และได้ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับโดยดำเนินการร่วมกับกองทัพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศมีเป้าหมายที่จะวิจัยพัฒนาต้นแบบระบบยานไร้คนขับที่มีมาตรฐานการใช้งาน (Functional Standard) ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีมาตรฐานทางวิศวกรรม (Engineering Standard) ที่จะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สายการผลิตโดยมุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับแบบต่างๆ ที่ สทป. ดำเนินการในปัจจุบัน
๑. ระบบอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่ง(Fixed Wing UAV)
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้นักบินแบบปีกนิ่ง ต่อเนื่องจากโครงการเดิมที่กองพลทหารปืนใหญ่ร่วมกับกองทุนสนับสนุนการวิจัย ดำเนินการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างและสมรรถนะการใช้งานระบบอากาศยานไร้นักบินตามความต้องการของหน่วยผู้ใช้งาน โดยได้ต้นแบบระบบอากาศยานไร้นักบินระดับยุทธวิธีแบบปีกนิ่ง พร้อมอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องประกอบด้วยระบบควบคุมเคลื่อนที่ ระบบตรวจจับ ระบบติดต่อสื่อสารข้อมูล สถานีควบคุม ระบบติดตั้งอุปกรณ์ และระบบสนับสนุนการทำงานเพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวน ตรวจการณ์ และค้นหาเป้าหมายสมรรถนะอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่ง (FixedWing UAV)
• รัศมีปฏิบัติการ ๑๐๐ – ๑๕๐ กิโลเมตร
• ความเร็ว ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• เพดานบินสูงสุด ๑๐,๐๐๐ ฟุต
• เวลาปฏิบัติการ มากกว่า ๖ ชั่วโมง
• น้ำหนักบรรทุก ๔๐ กิโลกรัม
• การขึ้น-ลง จากทางวิ่ง (Runway)
• อุปกรณ์ติดตั้ง กล้องถ่ายภาพกลางวัน/กลางคืน (EO/IR Payload Camera System)
• อุปกรณ์วัดระยะด้วยเลเซอร์ (Laser Range Finder) ระยะทาง ๑ – ๔ กิโลเมตร
๒. ระบบอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้น-ลงทางดิ่ง (VTOL UAV)
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)กองทัพเรือ และภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ในการวิจัยพัฒนาต้นแบบระบบอากาศยานไร้นักบินขึ้น-ลงทางดิ่ง
สำหรับภารกิจในการตรวจจับเป้าหมายลาดตระเวนพิสูจน์ทราบ ต่อระยะการตรวจการณ์ทางทะเลร่วมกับเรือของกองทัพเรือ โดยได้วิจัยและพัฒนาต้นแบบส่งให้หน่วยงานผู้ใช้กองทัพเรือ ผ่านสำนักงานวิจัยและพัฒนาทางการทหารกองทัพเรือ เมื่อ ๙ กันยายน๒๕๕๖ นำไปทดลองใช้งาน เพื่อนำผลการทดสอบมาปรับปรุงและพัฒนาต้นแบบในระยะที่ ๒ ให้มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของกองทัพเรือ และนอกเหนือจากการใช้งานในภารกิจทหารแล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้ในภารกิจทางพลเรือน ได้อีกด้วยสมรรถนะอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้น-ลงทางดิ่ง
(VTOL UAV)
• รัศมีปฏิบัติการ ๕๐ กิโลเมตร
• ความเร็วเดินทาง ๗๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• ความเร็วสูดสุด ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• เพดานบิน ๒,๐๐๐ ฟุต
• เวลาปฏิบัติการ มากกว่า ๒.๕ ชั่วโมง
• น้ำหนักบรรทุก ๒ กิโลกรัม
• อุปกรณ์ติดตั้ง กล้องถ่ายภาพกลางวัน/กลางคืน (EO/IR Payload CameraSystem)
• ระบบสื่อสาร การส่งข้อมูล/ถ่ายภาพ แบบ Real Time
๓. ระบบอากาศยานไร้คนขับระยะกลาง
(Medium Range Tactical UAV – TigerShark) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับกองทัพอากาศ ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบอากาศยานไร้นักบินต้นแบบของกองทัพอากาศ ประเภทยุทธวิธีระยะกลาง (Medium Range Tactical UAV)รุ่น Tiger Shark II ให้มีคุณลักษณะ สมรรถนะและขีดความสามารถสูงขึ้น มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นในการรับมือกับภารกิจที่หลากหลายในปัจจุบันสมรรถนะอากาศยานไร้คนขับแบบ Medium RangeTactical UAV (Tiger Shark)
• รัศมีปฏิบัติการ ๑๐๐ – ๒๐๐ กิโลเมตร
• ความเร็วเดินทาง ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• เพดานบิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต
• เวลาปฏิบัติการ มากกว่า ๑๐ ชั่วโมง
• การขึ้น-ลง จากทางวิ่ง (Runway)
• อุปกรณ์ติดตั้ง กล้องถ่ายภาพกลางวัน/กลางคืน (EO/IR Payload Camera System)
• น้ำหนักบรรทุกมากกว่า ๔๐ กิโลกรัม
๔. ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กแบบส่งขึ้นด้วยมือ (Hand-Launched Mini UAV)
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) ร่วมกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ในการวิจัยพัฒนาต้นแบบระบบอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก ที่มีน้ำหนักเบากะทัดรัด สะดวกในการใช้งานด้านการตรวจการณ์ทางอากาศ ตรวจตำบลกระสุนตกและการลาดตระเวน สำหรับหน่วยในระดับยุทธวิธีสมรรถนะอากาศยานไร้คนขับแบบส่งขึ้นด้วยมือ (Hand-Launched)
• รัศมีปฏิบัติการ ๑๐ กิโลเมตร
• เพดานบิน ๓,๐๐๐ ฟุต
• เวลาปฏิบัติการ มากกว่า ๑.๕ ชั่วโมง
• การขึ้นลง ใช้มือขว้างไปข้างหน้า ลงด้วยร่มหน่วง และร่อนลง
• อุปกรณ์ติดตั้ง กล้องถ่ายภาพกลางวัน/กลางคืน (EO/IR Payload Camera System) แบบ stabilized gimbal
• รองรับการเชื่อมต่อกับระบบ Network Centric และ Data Link
๕. ระบบอากาศยานไร้คนขับขึ้น-ลงทางดิ่งขนาดเล็ก แบบ Multi Rotor (DTI Multi Rotor UAV)
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) ร่วมกับภาคเอกชนที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขึ้น-ลงทางดิ่งขนาดเล็กแบบ Multi Rotorที่สามารถพับเก็บพกพาได้ สะดวกง่ายต่อการใช้งาน และ มีความทนทาน สามารถบินลอยตัวรักษาตำแหน่งได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความตระหนักรู้ในสถานการณ์ได้อย่างเต็มที่ เหมาะกับภารกิจการปิดล้อมตรวจค้น การรักษาความปลอดภัยด้านความมั่นคง และค้นหาช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ ตลอดจนงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งนำไปประยุกต์ใช้งานด้านพลเรือนและเชิงพาณิชย์ได้ง่าย เป็นต้นสมรรถนะอากาศยานไร้คนขับแบบแบบ Multi Rotor(DTI Multi Rotor UAV)
• รัศมีปฏิบัติการ ๑.๖ กิโลเมตร
• เพดานบิน ๑,๐๐๐ ฟุต
• เวลาปฏิบัติการ มากกว่า ๑ ชั่วโมง
• ระบบควบคุมการบินขึ้นและลงจอดแบบอัตโนมัติ
• อุปกรณ์ติดตั้ง กล้องถ่ายภาพกลางวัน/กลางคืน (EO/IR Payload Camera System) แบบ stabilized gimbal เทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วกว้างขวาง และแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับที่วิจัยพัฒนา คือ อากาศยานไร้นักบินที่มีระยะเวลาปฏิบัติการที่นานขึ้น บินเร็วขึ้นมีเพดานบินสูงขึ้น สามารถบรรทุกอุปกรณ์ได้มากขึ้น และหลากหลายประเภทยิ่งขึ้นโครงสร้างอากาศยานที่มีความแข็งแรง แต่น้ำหนักเบา มีระบบนำทางที่แม่นยำสามารถกำหนดตำแหน่งพิกัดได้อย่างแม่นยำ ระบบ Avionics และระบบควบคุมการบินที่มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ระบบหลีกเลี่ยงการชนกัน (Detect, Sense and Avoid : DSA) หน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับในปัจจุบันมีองค์ความรู้สะสมจากการวิจัยพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองภารกิจการทำงานตามความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้งาน