กองทัพอากาศบรูไนจัดซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบซี-๑๓๐เจ (C-130J, Super Hercules) รวม ๑ เครื่อง (เครื่องยนต์อะไหล่ ๒ เครื่อง พร้อมด้วยการฝึกศึกษา การส่งกำลังบำรุง และอะไหล่) เป็นเงิน ๓๔๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ปรับปรุงมาจากเครื่องบินรุ่นเก่าโดยการเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่และเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์รุ่นใหม่ (Rolls & Royce AE2100D3) เป็นผลให้มีความเร็วสูงสุดเพิ่มขึ้นจากเดิม ๕๙๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นความเร็วใหม่ ๖๗๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเครื่องบินต้นแบบขึ้นทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทำการผลิตขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๒ มีข้อมูลที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง ๓ นาย บรรทุกทหาร ๑๒๘ ที่นั่ง(รุ่นทั่วไป ๙๒ ที่นั่ง) น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๗๙,๓๗๘ กิโลกรัม (๑๗๕,๐๐๐ ปอนด์) ขนาดยาว ๓๔.๓๖ เมตร สูง ๑๑.๘๔ เมตร ช่วงปีก ๔๐.๔๑ เมตร พื้นที่ปีก ๑๖๒.๑ ตารางเมตรเครื่องยนต์ เทอร์โบพร็อพ ขนาด ๔,๖๓๗ แรงม้า (๔ เครื่อง) ความจุเชื้อเพลิง ๓๓,๐๐๐กิโลกรัม (๗๒,๐๐๐ ปอนด์) ใบพัดชนิดหกกลีบความเร็ว ๖๗๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัยบินไกล ๕,๒๕๒ กิโลเมตรและเพดานบินสูง ๑๐,๖๖๘ เมตร (๒๘,๐๐๐ ฟุต) มีการผลิตรุ่นหลักรวม ๙ รุ่น ปัจจุบันมียอดผลิตกว่า ๓๐๐เครื่อง (สิ้นปี พ.ศ.๒๕๕๖) ประจำการกองทัพอากาศรวม ๑๕ ประเทศเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบซี-๑๓๐เจ (C-130J) นำออกปฏิบัติการทางทหารในหลายพื้นที่ของโลกการรบที่สำคัญคือ สงครามกลางเมืองประเทศลิเบียปี พ.ศ.๒๕๕๔ และสงครามในอัฟกานิสถานเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๑๓๐เจ (C-130J)รวมทั้งสิ้น ๒๙๐ เครื่อง รวม ๑๓ ประเทศได้ปฏิบัติการบิน ระหว่างวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๙ – วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ ทำการบินได้รวมกันทั้งสิ้น ๑ ล้านชั่วโมงบิน (มีปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ในประเทศอิรัก และประเทศอัฟกานิสถาน)ประเทศในเอเชียที่นำเข้าประจำการประกอบด้วยกองทัพอากาศอินเดียจัดซื้อเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ รวม ๖ เครื่อง เป็นเงิน๑.๐๕๙ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ประจำการฝูงบิน ๗๗, กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียจัดซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๑๓๐เจ-๓๐ (C-130J-30) รวม ๒๐ เครื่องและเครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศแบบเคซี-๑๓๐เจ (KC-130J) รวม ๕ เครื่อง รวมทั้งสิ้น๒๕ เครื่อง เป็นเงิน ๖.๗ พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ กองทัพอากาศบังคลาเทศจัดซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๑๓๐อี (C-130E) รวม ๔ เครื่องเป็นเงิน ๑๘๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ด้วยวิธี FMS)เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (JASDF) มีโครงการปรับปรุงเครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศแบบเคซี-๑๓๐อาร์ (KC-130R) รวม ๖ เครื่อง เป็นเงิน ๑๗๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ด้วยวิธี FMS)เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๑๓๐(C-130, Hercules) พัฒนาขึ้นในห้วงต้นของสงครามเย็นผลิตขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๙๗เพื่อประจำการทดแทนเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นเก่ายุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ นำออกปฏิบัติการทางทหารในสงครามเวียดนามปฏิบัติการในเขตหน้าของพื้นที่การรบใช้ในการส่งกำลังบำรุงในหลายยุทธการหลักตลอดปฏิบัติการทางทหาร (ปฏิบัติการทางทหารที่โด่งดังในการรบที่เคซานห์หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาถูกปิดล้อมระหว่างวันที่ ๒๑มกราคม – วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑นานถึง ๑๓๙ วันใช้ได้เฉพาะการส่งกำลังบำรุงทางอากาศเท่านั้นประกอบด้วยการสนับสนุนด้าน อาหาร อะไหล่ การส่งกลับสายแพทย์และลูกกระสุนปืนชนิดต่างๆ มีส่วนร่วมหลักในการส่งสัมภาระสนับสนุนกำลังทหารที่ถูกล้อมที่มีความต้องการสัมภาระวันละ ๖๐ ตันห้วงมีการรบรุนแรงสูงสุดต้องการสัมภาระเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นเป็นวันละ ๑๘๕ ตันตลอดห้วงของการรบมีการส่งกำลังบำรุงรวม๑๔,๓๕๖ ตัน เป็นการทิ้งสัมภาระจากร่มรวม๘,๑๒๐ ตัน แต่ต้องสูญเสียเครื่องบินขนส่งซี-๑๓๐ ขณะลงส่งสัมภาระที่สนามบินทหารเคซานห์หลายเครื่องในที่สุดสหรัฐอเมริกาชนะในการรบ) จนสงครามเวียดนามได้ยุติปฏิบัติการปี พ.ศ.๒๕๑๘ และในยุทธการพายุทะเลทรายห้วงสงครามหนึ่งร้อยชั่วโมงของการรุกทางพื้นดิน ระหว่าง ๒๔ – ๒๘ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๓๔ เครื่องบินแบบ ซี-๑๓๐ ทำการขนส่งสัมภาระวันละกว่า ๕๐๐ เที่ยวบินสหรัฐอเมริกานำเครื่องบินแบบซี-๑๓๐ทำการดัดแปลงในภารกิจพิเศษที่สำคัญคือรุ่นเติมน้ำมันทางอากาศ (เริ่มผลิตขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๐๕ ทำการดัดแปลงหลายรุ่นรวมทั้งสิ้น ๑๒๗ เครื่อง และรุ่น KC-130J รวม ๔๒เครื่อง) และรุ่นติดตั้งอาวุธที่เรียกว่ากันชิพ(ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร, ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด ๔๐ มิลลิเมตร และปืนกลขนาด ๒๐ มิลลิเมตรทำการผลิตขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๑ รวมทั้งสิ้น ๔๗ เครื่องมีชื่อเรียกใหม่ว่าAC-130H Spectre ปฏิบัติการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศด้วยเครื่องบินแบบเอซี-๑๓๐ให้หน่วยรบทางพื้นดินในการรบที่โทราโบรา (Tora Bora) ทำการโจมตีกองกำลังอัลเคด้า(Al-qaeda) และกองกำลังทาลิบัน (Taliban)ด้วยการยิงปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตรกว่า๒๐๐ นัดระหว่างวันที่ ๖ – ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ปฏิบัติการทางทหารในสมรภูมิอัฟกานิสถาน กองกำลังทหารพันธมิตร (ISAF)ได้นำเครื่องบินขนส่งทางทหารตระกูลซี-๑๓๐ เฮอร์คิวลิสเข้าปฏิบัติการทางทหารสนับสนุนกำลังทหารพันธมิตร (ISAF) ประมาณ ๑๘,๐๐๐ นาย พื้นที่การรบขนาด ๖๔๗,๕๐๐ตารางกิโลเมตร เพื่อที่จะสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดินในการเคลื่อนย้ายกำลังทหารด้านยุทธวิธี ด้านสนับสนุนการรบประกอบด้วยด้านส่งกำลังบำรุงและซ่อมบำรุงและด้านการส่งกลับสายแพทย์ ประเทศพันธมิตรหลักนำเข้าปฏิบัติการคือสหรัฐอเมริกา (ผู้นำในปฏิบัติการทางทหารประจำการเป็นจำนวนมาก), แคนาดา (๓ เครื่อง), อิตาลี (๑ เครื่อง),ออสเตรเลีย (๓ เครื่อง) และอังกฤษ (สนับสนุนภารกิจพิเศษ) กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ประจำการฝูงบินที่ ๑๒๒ ประกอบด้วย รุ่นซี-๑๓๐เอช (C-130H) รวม ๕ เครื่อง, รุ่นซี–๑๓๐บี (C-130B) รวม ๒ เครื่องและรุ่นเติมน้ำมันทางอากาศ เคซี-๑๓๐บี/เอช (KC-130B/H)รวม ๓ เครื่อง ฐานทัพอากาศพายาเลบาร์(PayaLebar) ประจำการทั้งสิ้น ๑๐ เครื่องกองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ประจำการฝูงบินที่ ๑๔ รุ่นซี–๑๓๐เอช (C-130H) ฐานทัพอากาศลาบวน (Labuan) เกาะบอร์เนียวมาเลเซียตะวันออก และประจำการฝูงบินที่ ๒๐ รุ่นซี-๑๓๐เอช/เอช-๓๐/ที ฐานทัพอากาศซูบัง (Subang) รัฐซาลังงอร์ ประจำการทั้งสิ้น ๑๕ เครื่อง (รุ่นเติมน้ำมันทางอากาศ KC-130T รวม ๔ เครื่อง และรุ่นปฏิบัติการทางทะเล C-130MP รวม ๑ เครื่อง) กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF) ประจำการฝูงบินที่ ๒๒๒, กองบินขนส่งที่ ๒๒๐ ฐานทัพอากาศที่จังหวัดเซบู (Cebu) เป็นรุ่นซี–๑๓๐บี/เอชและได้จัดซื้อเพิ่มเติมรุ่นซี-๑๓๐ที (C-130T)รวม ๒ เครื่อง (เครื่องยนต์ อะไหล่ ๒ เครื่อง)เป็นเงิน ๖๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ จะได้รับมอบเครื่องบินในปี พ.ศ.๒๕๕๙ กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU)ประจำการฝูงบินที่ ๑๗ รุ่น ซี-๑๓๐เอช-๓๐(C-130H-30) สำหรับขนส่งบุคคลสำคัญ,ฝูงบินที่ ๓๑ รุ่น ซี-๑๓๐เอช-๓๐ (C-130H-30)และฝูงบินที่ ๓๒ รุ่นซี-๑๓๐บี/ซี/เอช-๓๐/เคซี-๑๓๐บี (C-130B/C/C-130H-30/KC-130B รวม ๒ เครื่อง) รวมทั้งสิ้น ๑๙ เครื่องกองทัพอากาศไทย (RTAF) ประจำการฝูงบินที่๖๐๑ ฐานทัพอากาศดอนเมือง ประกอบด้วยรุ่น ซี-๑๓๐เอช/เอช-30 (C-130H/H-30)รวม ๑๒ เครื่อง นอกจากนี้ยังใช้ในภารกิจสนับสนุนทางด้านการขนส่งสัมภาระและเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในต่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาล กรณีรัฐบาลไทยช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ โดยใช้เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบ ซี-๑๓๐เฮอร์คิวลิสทำการขนส่งสัมภาระและเจ้าหน้าที่ทางทหารช่วยเหลือประเทศเนปาลเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ บินสู่ประเทศเนปาล

 

เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบ ซี-๑๓๐เอช (ใบพัดชนิดสี่กลีบ) กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (USAF) ขณะปฏิบัติการทางทหารในประเทศอัฟกานิสถานที่สนามบินบากรัม (Bagram) มีประจำการ ๑๒ ฝูงบิน และกองกำลังรักษาดินแดน(USANG) ประจำการ ๑๗ ฝูงบิน