เดือนกันยายนของทุกปีในประเทศไทยเป็นห้วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของการทำงานในระบบราชการ นอกจากเป็นช่วงสิ้นสุดการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งมักจะปรากฏเหตุการณ์หาที่ใช้เงินให้หมด ยังเป็นเวลาของการโฟกัสว่าปรับย้ายประจำฤดูการคราวนี้ใครจะไปใครจะมา โดยปี ๒๕๕๘มีตำแหน่งสำคัญระดับผู้บังคับบัญชา ทั้งปลัดกระทรวง อธิบดีไปจนถึงผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม้ผลัดใบยกแผง ชวนให้ลุ้นกันอยู่เป็นอันมากจะเรียกว่าเป็นปีทองแห่งการปรับย้ายผู้บริหารระดับสูงของหลายหน่วยงานก็คงจะว่าได้ หมายรวมไปถึงการปรับคณะรัฐมนตรี ประยุทธ์ ๒ ที่เป็นความสนใจไม่แพ้กันยุทธศาสตร์ในการเลือกคนให้เป็นหัวหน้างานโดยเฉพาะสำหรับระบบราชการไทยไม่มีหลักตายตัวนัก แต่มักหนีไม่พ้นเหตุผล ๓ – ๔ประการได้แก่ ความรู้ ความสามารถ เป็นผู้อาวุโสและสามารถเป็นมือไม้สั่งซ้ายสั่งขวาได้ตามรัฐบาลต้องการ แต่บ่อยครั้งที่เรามักจะพบว่าหัวหน้างานผู้นั้นก็ไม่สามารถผลักดันให้องค์กรที่ตนได้รับแต่งตั้งสูงสุดประสบความสำเร็จดังความคาดหวังจากการศึกษา ซีอีโอ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารพบความจริงว่า การเป็นผู้นำของพวกเขา หมายถึงการจุดพลังและจูงใจทีมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นโดยมีหลักคิดที่ว่าต่อให้พยายามเท่าไรคุณจะไม่สามารถจูงใจผู้อื่นได้เลย เนื่องจากมนุษย์มักถูกจูงใจด้วยเป้าหมายและค่านิยมส่วนตัวก่อนเสมอ อย่าถามตัวเองว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อจูงใจพวกเขาแต่ควรพยายามคิดว่าพวกเขามีอะไรจูงใจอยู่แล้ว ทันทีที่รู้ว่าแรงจูงใจส่วนตัวของพวกเขาเริ่มทำงาน จงพยายามทำทุกอย่างเพื่อจับคู่
ความคาดหวังของพวกเขาให้ตรงกับงานที่ทำเช่น ถ้าใครชอบทำงานสร้างสรรค์ก็ควรจะมอบหมายงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ถ้าใครชอบงานด้านปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ก็จงพยายามให้โอกาสพวกเขาได้ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ถ้าเป็นไปได้ ควรออกแบบงานที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ทำในสิ่งที่ชอบมากที่สุดแต่ถ้าหากจับคู่ผิดพลาดระหว่างสิ่งจูงใจส่วนตัวกับงานที่ทำ แทนที่จะแก้ปัญหาโดยใช้วิธีให้รางวัลหรือลงโทษ แต่จงหาสิ่งที่เข้ากันมากกว่าจึงจะดีที่สุดหรือกล่าวได้ว่า ถ้าความต้องการของงานตรงข้ามกับสิ่งที่คนนั้นถูกจุดพลังมาอย่างสิ้นเชิง ควรช่วยเขาหาการงานหรือบทบาทหน้าที่อื่นจึงจะดีที่สุดหัวใจสาคัญของความก้าวหน้าในองค์กรจึงอยู่ที่ว่า ผู้บังคับบัญชาจะต้องค้นให้พบว่าคนของคุณคาดหวังอะไรจากงานตัวเอง จากนั้นจงทำทุกอย่างเพื่อเชื่อมความหวังของเขาให้เข้ากับงานที่คุณอยากให้เขาทำ การจุดพลังทั้งองค์กรซึ่งมีคนจานวนมากเป็นเรื่องไม่ง่าย ต่างไปจากการจุดพลังตนเองหรือผู้ใต้บังคับบัญชาผู้นำที่ประสบความสาเร็จต้องมีความสามารถในการสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงจากฉันเป็นเรา จึงมักจะพบว่าโดยเฉลี่ยในทุกคนทำงาน ๔ คนจะมี ๓ คนที่หยุดชะงักเมื่อถึงจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญ ซึ่งน่าคิดว่าเหตุใดหลายคนที่ขยันทุ่มเทเพื่อแลกกับการเป็นผู้นำตลอดชีวิต แต่เมื่อได้รับรางวัลตามที่ต้องการกลับเกิดความชะงักงันเสียอย่างนั้น เคล็ดลับของความสาเร็จนั้นอยู่ที่ว่าผู้บริหารจะต้องรู้จักการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบแก่คนในทีมและเก็บงานที่ซับซ้อนหรือสาคัญมากที่สุดให้ทำเอง สร้างสภาพแวดล้อมให้แก่คนทำงานนอกจากนี้คนทำงานมักมีความคาดหวังให้ผู้บริหารทุ่มเวลาให้พวกเขามากพอ ส่วนใหญ่ของพวกเขาต้องการประสบความสาเร็จและไม่อยากทำให้ผู้บังคับบัญชาผิดหวังความคาดหวังทั่วไปอีกประการก็คือความยุติธรรม คนส่วนใหญ่ชอบทำงานด้วยความซื่อตรงและขยันหมั่นเพียร และมักพยายามที่จะใช้ความสามารถอย่างที่สุดพวกเขาคาดหวังจะได้รับการประเมินและให้รางวัลด้วยความยุติธรรมเป็นการตอบแทนการชดเชยหรือให้ความยุติธรรมเป็นรางวัลมีความสาคัญมากกว่าตัวเงินเสียด้วยซ้ำคนส่วนใหญ่รับตาแหน่งผู้นำโดยไม่เข้าใจลึกซึ้งว่าต้องเผชิญกับอะไรบ้าง และ
ไม่เคยถามว่าตัวเองเหมาะกับการเป็นผู้นำหรือไม่ หลายคนประเมินงานการเป็นผู้นำ
ต่ำเกินไป ผลลัพธ์เห็นได้จากความล้มเหลวขององค์กรที่มีอยู่มากมาย ความเป็นผู้นำคือศาสตร์แห่งการควบคุมพลังมนุษย์ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า ผู้นำองค์กรต้องเอาชนะอุปสรรคสาคัญ สามารถประสบความสาเร็จแม้สิ่งแวดล้อมไม่เป็นใจ รางวัลของผู้นำเมื่อถึงที่หมายจะเป็นผลพลอยได้ที่ไม่ได้คาดหวังจากนั้นพวกเขาก็จะหาแหล่งพลังในตัวเองใหม่ๆพร้อมไปกับการขับเคลื่อนพลังงานของผู้อื่นสร้างความไว้วางใจ สร้างการมีส่วนร่วมให้ความหวังและช่วยเหลือหมดสมัยที่การแต่งตั้งโยกย้าย ปรับเปลี่ยนข้าราชการไทยในระดับสูงเพื่อรองรับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่งและยั่งยืน ๒๐๑๕ – ๒๐๒๐ จะเป็นแค่คนของใครอีกแล้ว