การสร้างพลังอำนาจของชาติทางทหารในยุคปัจจุบันให้สอดรับกับการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงของชาติไม่ใช่มีเพียงแต่การสะสมยุทโธปกรณ์และกำลังพลที่บรรจุเต็มอัตราเท่านั้น ทั้งนี้เพราะประเทศของเรายังประสบข้อจำกัดจำนวนมากที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างพลังอำนาจของชาติทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงสถานการณ์รอบประเทศทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาค ฐานะทางเศรษฐกิจและที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ข้อจำกัดด้านงบประมาณนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ หนทางปฏิบัติที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการดำเนินกิจการทางทหารและการรักษาความมั่นคงของชาติภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ก็คือ

ประการแรก การจัดกำลังกองทัพประจำการไว้ส่วนหนึ่งในอัตราที่พอเพียงแก่การป้องกันประเทศ รักษาความมั่นคงแห่งชาติพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคง และปกป้องฐานะเศรษฐกิจของประเทศ

ประการที่สอง จัดเตรียมกำลังสำรองไว้เพื่อให้มีความพร้อมที่จะใช้ทดแทนกำลังที่สูญเสียจากการปฏิบัติราชการ การผลัดเปลี่ยนกำลังในยามวิกฤตหรือยามสงคราม และขยายกำลังกองทัพประจำการให้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดความจำเป็นต่อการรักษาเอกราชและความมั่นคงของชาติ

จึงกล่าวได้ว่า การสร้างพลังอำนาจทางทหารด้วยการจัดกำลังกองทัพในลักษณะผสมผสานระหว่างกำลังรบหลักกับกำลังสำรอง จึงเป็นการวางแผนดำเนินการที่มีความเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติการรบและยึดถือหลักการประหยัดงบประมาณ ซึ่งสามารถดำเนินการตั้งแต่ยามปกติและพัฒนาขีดความสามารถ

๑. หน้าที่ควรกระทำให้เป็นประโยชน์ในเวลาสงคราม

๑.๑ รักษาบ้านเมืองซึ่งอยู่หน้าศึกซึ่งไม่มีทหารรักษา
๑.๒ ปะทะต้านทาน หน่วงเหนี่ยวข้าศึกไว้เพื่อให้กองทหารยกไปทัน
๑.๓ รักษาด่านและขัดตาทัพในที่บางแห่งช่วยกองทหารไม่ให้ต้องแยกกองย่อยทำให้เปลืองกำลังเปล่าๆ
๑.๔ รักษาการติดต่อ บรรเทาภารกิจของกองทหาร
๑.๕ ช่วยลาดตระเวนสืบข่าว

ไปจนถึงยามสงคราม ที่ไม่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองงบประมาณจนเกินความจำเป็น ตลอดจน เป็นหลักนิยมในการบริหารจัดการกำลังพลของกองทัพโดยทั่วไป รวมถึง กองทัพไทยในปัจจุบันด้วย

หากพิจารณาถึงความหมายของคำว่ากำลังสำรอง ในปัจจุบันได้มีการบัญญัติความหมายของกำลังสำรองไว้คือ กำลังที่มิใช่กำลังประจำการเตรียมไว้สำหรับใช้ในยามสงครามยามประกาศกฎอัยการศึก ยามประกาศภาวะฉุกเฉินหรือในยามปฏิบัติการใช้กำลังทหารขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติเพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานอย่างชัดเจนที่จะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการปลูกฝังให้พสกนิกรมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนในการช่วยทหารป้องกันภัยอันอาจเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ โดยมีความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ราษฎรเมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปีพุทธศักราช๒๔๕๓ ดังนี้

“…การตั้งกองเสือป่าขึ้นด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่า ความจงรักภักดีต่อผู้ดำรงรัฐสีมาอาณาจักร โดยต้องตามมติธรรมประเพณีประการหนึ่ง ความรักชาติบ้านเมืองและนับถือศาสนาประการหนึ่ง ความสามัคคีในคณะและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน…”

ดังนั้น ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้นโดยได้เริ่มประกาศและชักชวนให้มีการจัดตั้งกองอาสาสมัครเสือป่า โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งอบรมจิตใจให้คนไทยโดยเฉพาะข้าราชการพลเรือน รู้จักรักชาติ มีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญูกตเวทีต่อประเทศชาติบ้านเมืองต่อมา ในวันที่ ๖พฤษภาคม ๒๔๕๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ตั้งกองพลสมัครขึ้นกองพลหนึ่ง ให้ชื่อว่า“กองเสือป่า” และมีการประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาครั้งแรกของเสือป่าในวันเดียวกันนั้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามราชวรมหาวิหาร จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการเสือป่าหรือกิจการกำลังสำรองในประเทศ ทั้งนี้ เสือป่า คือ ผู้ชายไทยที่มิได้เป็นทหารแต่ได้รับการฝึกให้รู้จักวิธีการรบเพื่อจะได้สามารถป้องกันชาติบ้านเมืองในยามที่ประสบภัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำหนดหน้าที่ของเสือป่าไว้กล่าวคือ