เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาถทือเป็นหน้าประวัติศาสตร์ หนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. และ แวดวงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ ไทย เนื่องจากทาง สทป. ได้ท?าการทดสอบ และสาธิตการยิงจรวด DTI-2 ขนาด ๑๒๒ มิลลิเมตรให้กับนายทหารและนักศึกษาจาก หลกัสตูรต่าง ๆ ของกองทัพได้ชมเป็นผลสำเร็จในวันรวมอำนาจการยิงของศูนย์การทหาร ปืนใหญ่ ที่สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การ ทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
DTI-2 เป็นจรวดที่ทำขึ้นด้วยฝีมือของคน ไทย ๑๐๐% โดยใช้เทคโนโลยีส่วนหนึ่งที่ได้ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการ DTI-1 รวมเข้ากับประสบการณ์และเทคโนโลยีของ นักวิจัย สทป. ที่สั่งสมขึ้นมาใช้ในการออกแบบ และทดสอบผลิตจรวด DTI-2 ซึ่งนำมาสู่การ ทดสอบการยิงดังกล่าว โดยการยิงนั้นทำการ ยิงจากเครื่องยิงแบบลากจูงซึ่งสามารถติด กระเปาะหรือ Pod ที่บรรจุจรวด DTI-2 ได้ หลายนัด แต่ในวันนั้นบรรจุจำนวน ๒ นัด และ อีกส่วนหนึ่งทำการยิงจากรถยิง DTI-1 ที่ติดตั้งท่อรองใน เพื่อทำให้สามารถยิงจรวจ DTI-2 ที่มีขนาดเล็กลงได้โดยการยิง ๔ นัดแบบซัลโว
การติดตั้งท่อรองในบนรถยิง DTI-1 จะ ทำให้รถยิง DTI-1 ที่ปรกติจะใช้ยิงจรวดขนาด ๓๐๒ มม. ทำการยิงจรวด DTI-2 ขนาด ๑๒๒ มม. เพื่อใช้ในการฝึกเนื่องจากจรวด DTI-1 นั้นมีระยะยิงที่ไกลมากและมีราคาแพงกว่า แต่ถ้า ใชจ้รวด DTI-2 ที่มีราคาถูกกว่ามากและมีระยะยิงที่ใกล้กว่าก็จะทำให้กำลังพลสามารถฝึกได้ อย่างต่อเนื่องและสมจริงตามวงรอบการฝึกของกองทัพบก
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จรวด DTI-1 ซึ่ง เป็นจรวดขนาดใหญ่ที่มีระยะยิงถึง ๑๘๐ กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธการ ส่วน จรวด DTI-1 ที่มีระยะยิงสั้นกว่าคือ ๔๐ กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธวิถี ซึ่ง การพัฒนาจรวดทั้งสองแบบนี้นอกจากจะ เป็นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความ เชี่ยวชาญที่นักวิจัยและนักพัฒนาของ สทป. มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังทำให้ สทป. สามารถสนับสนุนกองทัพบกให้มีจรวดทั้งใน ระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการที่สอดคล้อง กับภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต ได้อีกด้วย
ในส่วนของเครื่องยิงแบบลากจูงนั้น ก็เป็นการพัฒนาโดยนักวิจัยของ สถาบัน เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม เองเช่นกัน ซึ่งแท่นยิงดัง กล่าวสามารถติดตั้งกระเปาะบรรจุจรวด DTI2 จ?านวน ๒๐ ล?ากล้องได้ ๒ กระเปาะ ทำให้ รวมแล้วสามารถยิงจรวดได้ถึง ๔๐ ลูกทีเดียว
DTI-2 นั้นจะมีระยะยิงทั้งหมด ๓ ระยะ คือ ๑๐ กิโลเมตร ๓๐ กิโลเมตร และ ๔๐ กิโลเมตร ซึ่ง สทป. ได้ทำการพัฒนาทั้งใน ส่วนของดินขับ หัวรบ และชุดพวงหาง และทำการผลิตองค์ประกอบของจรวดในประเทศ ทั้งหมด ซึ่งในวันรวมอำนาจการยิงที่ผ่านมา จรวดท้ัง ๖ ลูกสามารถทำลายเป้าหมายเป็น พื้นที่ที่อยู่ห่างออกไป ๔ กิโลเมตรได้ถูกต้อง ตามที่คำนวณเอาไว้
โดยในอนาคต สทป. กับกองทัพบกกำลังจะลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อพัฒนา จรวด DTI-2 และนำส่งให้กองทัพนำไปทดลอง ใช้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบท่อรองในที่ใช้งานใน การยิงครั้งนี้ให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้ การ พัฒนาจรวดระยะยิง ๔๐ กิโลเมตรเพื่อใช้งาน กับจรวดหลายลำกล้อง SR-4 ที่กองทัพบกจัด ซื้อจากต่างประเทศ และการติดตั้ง DTI-2 บน รถสายพานลำเลียงพล Type-85 ทดแทนจรวด หลายลำกล้องขนาด ๑๓๐ มม. ที่มีระยะยิงสั้น กว่าอีกด้วย
หลังจากนี้ สทป. จะทำการทดสอบและ ปรับปรุงจรวด DTI-2 ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งยังต้อง ทำการยิงทดสอบอีกเป็นจำนวนมากก่อนที่ จะพร้อมผลิตเข้าประจำการต่อไป แต่ผลลัพธ์ ที่ได้จากการพัฒนา DTI-2 ด้วยฝีมือคนไทย นั้นเริ่มแสดงให้เห็นแล้วว่า ในวันที่คนไทย สามารถพัฒนาอาวุธเพื่อใช้งานได้เอง ก็จะ ทำให้ประเทศลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่าง ประเทศ ทำให้กองทัพสามารถใช้งานจรวดที่ ผผลิตขึ้นได้ในประเทศโดยไม่ติดข้อจำกัดการนำเข้าอาวุธ สามารถประหยัดงบประมาณที่ต้อง ใช้ในการจัดซื้ออาวุธ และรวมถึงเป็นการสร้าง เทคโนโลยีซึ่งสามารถต่อยอดไปยังการพัฒนา จรวดแบบอื่น ๆ ได้ต่อไป