ย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณหกสิบกว่าปีที่แล้ว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช ในเช้าวันที่ ๙ มิถุนายนเกิดเหตุอันไม่มีใครคาดฝัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จ สวรรคต วันเดียวกันรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ที่จะกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระ อนุชาผู้มีพระชนมายุเพียง ๑๘ พรรษาเสด็จ ขึ้นดำรงสิริราชสมบัติ ค่ำนั้น ขณะที่ความทุกข์ที่สุดจากการสูญเสียพระบรมเชษฐาธิราชอย่างฉับพลันยังท่วมท้นในพระราชหฤทัยต้องทรงตัดสินพระทัยว่าจะทรงรับพระราช ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้หรือไม่ สมเด็จพระบรม ราชชนนีทรงถามพระโอรสว่า “รับไหมลูก” ทรงตอบด้วยพระราชหฤทัยเข้มแข็งว่า “รับ” ซึ่งต่อมาพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภ พฤฒิยากร อดีตประธานองคมนตรี ทรงเล่า เหตุการณ์ในวันนั้นว่า “ได้กราบบังคมทูลถาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงเรื่องที่ทรง รับราชสมบัติ มีพระราชดำรัสตอบว่า หน้าที่และความเป็นคนไทยทำให้ทรงรับ เพราะ ฉันเป็นคนไทย ประชาชนเขาต้องการให้ฉัน ทำาหน้าที่ ” ในช่วงนั้นนับเป็นช่วงเวลายาก จะทำใจเมื่อคนไทยต้องสูญเสียพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ ผู้ทรงเป็นความหวังอันสดใส ด้วยทรงริเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจอย่าง “พระเจ้าแผ่นดินยุคใหม่”่ เสดจ็พระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรอย่างใกล้ชิด โดย มีพระอนุชาธิราชทรงร่วมปฏิบัติพระราช ภารกิจอย่างเข้มแข็ง เมื่อเสด็จสู่สวรรคาลัย รวดเร็วเช่นนี้ ความหวังอันเรืองรองที่อยู่ในใจคนไทยก็ดูคล้ายจะดับวูบไปชั่วขณะว่า ประเทศไทยไม่มีพระเจ้าอยู่หัวแล้ว และนี่คือ พระราชดำรัสปลุกปลอบ ที่กลายเป็นเปลว เทียนจุดสว่างกลางความมืดมนในใจราษฎร์ ว่า “พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่ พระอนุชาต่างหาก ที่ไม่มีแล้ว”
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล ได้กราบบังคมทูลถวายชัยมงคลแทน พระบรมวงศานุวงศ์เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเถลิง ถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี โดยมีความตอน หนงึ่ยอ้นอดตีกลบัไปยงัวนัทที่รงรบัอญัเชญิขนึ้ ครองราชย์ว่า “…เมื่อ ๒๕ ปี โพ้นต่อหน้ามหา สมาคมกอปรด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ และข้าราชการผู้ใหญ่ พระราชาพระองค์ หนึ่งตรัสมีความโดยสังเขปว่า ‘ข้าพเจ้าขอ ขอบใจที่มอบราชสมบัติให้ ข้าพเจ้าจะทำทุก อย่างเพื่อประเทศชาติและเพื่อความผาสุก ของประชาชนอย่างเต็มความสามารถ ขอให้ ท่านจงช่วยร่วมกันทำดังกล่าว แล้วก็เสด็จไป จากมหาสมาคมนั้น ครั้นแล้วทรงหันกลับมา ใหม่แล้วตรัสอย่างหนักหน่วงว่า และด้วยใจ สจุรติ…’ พระราชกระแสรบัสงั่และสพีระพกัตร์ตอนที่รับสั่งนั้น เป็นที่ซาบซึ้งจับจิตและตื้นตัน ใจแก่ผู้ที่มีวาสนาได้เห็นได้ฟังอย่างยากยิ่งที่จะ พรรณนาใหถ้กูตอ้งไดเ้พราะ ประการแรกขณะ นั้นมีพระชนม์เพียง ๑๘ พรรษา อีกทั้งขณะ นั้นเป็นยามที่ตื่นตระหนกและยามเศร้าหมอง อย่างที่สุดที่พระมหากษัตริย์หรือบุคคลใดจะ พึงกำลังเผชิญในชีวิต อีกทั้งเป็นกาลเวลาที่ บ้านเมืองกำลังปั่นป่วน มิอาจที่จะทรงทราบ หรือทรงเดาได้ว่าเหตุการณ์ภายในประเทศ ตอ่ไป แมเ้พยีงในชวั่โมงขา้งหนา้ วนัหนา้ จะเปน็ อย่างไร ประการที่สอง พระราชกระแส พระสุรเสียง ตลอดจนสีพระพักตร์ในขณะที่ รับสั่งนั้นแสดงถึงความจริงจัง ความแน่ชัด และความเด็ดขาดเห็นได้ชัดว่าเป็นพระราช กระแสรับสั่งที่มาจากเบื้องลึกของพระราช หฤทัย จึงเป็นราชปฏิภาณที่แน่นอนและเด่น ชัด และเห็นได้ว่าเป็นพระราชดำรัสที่มิได้ทรง ตระเตรียมแต่งหรือเขียนไว้ก่อน จึงไม่มีผู้ใดได้ เตรียมบันทึกพระราชกระแสนั้นไว้…”
๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ หลังจากทรงรับ อัญเชิญขึ้นครองราชย์ได้สองเดือนก็ต้องทรง อำลาประเทศไทยเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไป ศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะ รถยนต์แล่นจากพระบรมมหาราชวังผ่าน ถนนราชดำเนินกลางมุ่งสนามบินดอนเมือง ท่ามกลางประชาชนชาวไทยที่มาส่งเสด็จ สองข้างทาง อาจด้วยอารมณ์อ้างว้างและ ใจหายผลักดันให้ชายคนหนึ่งในหมู่พสกนิกร ตะโกนขึ้นมาขณะที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านว่า “ในหลวงอย่าละทิ้งประชาชน” ไม่มีใครรู้ ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อเสียงนั้นจนเมื่อ ได้พระราชทานพระราชนิพนธ์ “เมื่อข้าพเจ้า จากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์”ลงตีพิมพ์ใน หนังสือ“วงวรรณคดี”อีกหลายเดือนต่อมาว่า “…อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชน ไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งได้อย่างไร..” แล้วความอ้างว้างทั้งมวลตลอดเวลาที่ทรง จากไปเพอื่การศกึษากม็ลายหายไปจนหมดสนิ้ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครในอีกสี่ปีต่อมา ในครั้ง นี้ได้พระราชทาน “คำมั่นสัญญา” ที่ไม่เพียง ทรงกำหนดไว้ในพระราชหฤทัยเพียงลำพังอีก แล้วแต่ทรงเปล่งพระบรมราชโองการอันหนัก แนน่ยงิ่ใหค้นไทยรทู้วั่กนัในวนัพระราชพธิบีรม ราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๙๓ ซึ่ง ถือเป็นพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะ ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชนชาวสยาม” ปี ๒๔๙๓ จึงเป็นปีที่หัวใจ คนไทยได้รับการถมเต็มด้วยความสุขความ ปลมื้ปตีจินอมิ่ลน้ และไดท้รงตงั้พระราชหฤทยั อย่างแน่วแน่ว่าจะไม่เสด็จออกนอกประเทศ ถา้ไมม่เีหตผุลสำคญั ในฐานะทที่รงเปน็ประมขุ ของชาวไทยสมควรที่จะประทับอยู่ในบ้าน เมืองเพื่ออยู่ใกล้ชิดราษฎรให้มากที่สุด
การประทับอยู่ในบ้านเมืองนั้นมิได้หมายถึง การประทับอยู่ในเมืองหลวงเท่านั้นแต่ยังเสด็จ ไปเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์จนแทบทั่ว ทกุตารางนวิ้ทพี่ระบาทจะยา่งไปถงึได ้และเมอื่ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๗ ได้ปรากฏว่าเกิด เหตุการณ์อัคคีภัยครั้งร้ายแรงขึ้นที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร ผู้ประสบภัยในท้องที่ ทรงทอดพระเนตร บรเิวณทเี่กดิเพลงิไหมแ้ละพระราชทานสงิ่ของ บรรเทาทุกข์ การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ราษฎรครั้งแรกในรัชกาลนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เสด็จเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดเป็นครั้ง ที่สองที่ จ. สุพรรณบุรีจึงไม่แปลกที่ราษฎรใน แดนไกลผู้ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ของเขาเป็นครั้งแรกและอาจเป็นครั้งเดียว ในชีวิต เมื่อได้ทราบข่าวว่าจะเสด็จลงเรือ พระที่นั่งเพื่อประพาสในแม่น้ำสุพรรณบุรีจะ พากันแห่มารอชมพระบารมีทั้งสองฟากฝั่ง บางคนยอมถึงกับลุยลงไปเฝ้ารออยู่ในน้ำเพื่อ ให้เห็นพระองค์ใกล้ชิดที่สุด โดยไม่หวั่นว่าจะ ต้องแช่น้ำอยู่นาน ๆ ท่ามกลางแดดร้อนเปรี้ยง แต่อย่างใด ปลายปีเดียวกันนั้นเองชาวอีสาน ทราบข่าวดีว่าในหลวงและพระราชินีของพวก เขาจะเสด็จฯเยี่ยมอีสานเป็นเวลา ๑๙ วันใน ระหว่าง ๒ – ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ในช่วง นั้นเป็นช่วงเวลาที่ภาคอีสานแห้งแล้งมากไม่มี อ่างเก็บน้ำชลประทานดังเช่นปัจจุบัน เส้นทาง รถยนต์ยังเป็นดินแดงทุรกันดาร น้ำพระราช หฤทัยที่แสดงออกด้วยการเจาะจงเสด็จเยี่ยม บางคนยอมถึงกับลุยลงไปเฝ้ารออยู่ในน้ำเพื่อ ให้เห็นพระองค์ใกล้ชิดที่สุด โดยไม่หวั่นว่าจะ ต้องแช่น้ำอยู่นาน ๆ ท่ามกลางแดดร้อนเปรี้ยง แต่อย่างใด ปลายปีเดียวกันนั้นเองชาวอีสาน ทราบข่าวดีว่าในหลวงและพระราชินีของพวก เขาจะเสด็จฯเยี่ยมอีสานเป็นเวลา ๑๙ วันใน ระหว่าง ๒ – ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ในช่วง นั้นเป็นช่วงเวลาที่ภาคอีสานแห้งแล้งมากไม่มี อ่างเก็บน้ำชลประทานดังเช่นปัจจุบัน เส้นทาง รถยนต์ยังเป็นดินแดงทุรกันดาร น้ำพระราช หฤทัยที่แสดงออกด้วยการเจาะจงเสด็จเยี่ยม พระราชดำรัสพระราชทานเกี่ยวกับการปฏิบัติ พระองค์ในการเยี่ยมเยียนราษฎรซึ่งพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบ อย่างว่า “เวลามีพระราชปฏิสันถารกับราษฎร ซึ่งเป็นชั่วโมง ๆ ทีเดียวทรงคุยกับราษฎรนี่ ไม่โปรดทรงยืน ทรงถือขนบธรรมเนียมไทยที่ จะไม่ยืนค้ำผู้เฒ่าผู้แก่ จะประทับลงรับสั่งกับ ราษฎรเสมอมา แม้จะเป็นตอนเที่ยงแดดร้อน เปรี้ยงก็ตาม ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นพระราชจริยวัตร นี้มาตั้งแต่ตอนต้นรัชกาลแล้ว…”
และเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทาน คำอธิบายไว้ว่า “…รับสั่งว่าเราต้องตอบแทน ความรกัของประชาชนดว้ยการกระทำมากกวา่ คำพูด ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่จะบำบัดความทุกข์ ของเขา เพราะเขาเป็นหลักพึ่งพาของพระมหา กษัตริย์ตลอดเวลา จึงตัดสินพระทัยว่าการ เสด็จไปไหน ๆ แล้วแจกผ้าห่มแจกเสื้อผ้า เป็นการถมมหาสมุทร อย่างไรก็ช่วยไม่ได้หมด ทางที่ดีรับสั่งว่าต้องลงไปพูดคุยกับเขาเรียก ว่าสอบถามถึงความทุกข์ของเขาว่าอยู่ที่ใหน.. ตั้งแต่นั้นมาเมื่อเริ่มตั้งพระทัยเช่นนั้นก็เริ่มทรง ศกึษาแผนทซี่งึ่กรมแผนทแี่ละกรมชลประทาน ช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาได้รัฐบาลที่คอย ช่วยเหลือเกื้อกูลพระองค์ตลอดเวลา เพื่อที่ จะได้ทรงตอบแทนพระคุณประชาชนได้อย่าง เต็มที่…”