หากจะกล่าวถึง กรมยุทธนาธิการ ซึ่งถือได้ว่าส่วนราชการแรกเริ่ม ในยุคของกิจการทหารยุคใหม่ของประเทศ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มี พัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนเป็นกระทรวง กลาโหมในปัจจุบันที่มีอายุและเกียรติภูมิ ยืนยาวมาจวบจน ๑๒๗ ปี ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗ นี้
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่ายังมีส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมอีกหนึ่งหน่วยที่มี เกียรติประวัติและมีความยืนยาวของหน่วยมา ถึง ๑๒๗ ปี เช่นเดียวกันกับกระทรวงกลาโหม ทั้งยังมีวันสถาปนาหน่วยเป็นวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ซึ่งเป็นเดียวกันกับการสถาปนากรมยุทธนาธิการอีกด้วย ส่วนราชการที่กล่าวถึงนี้ คือ กรมการเงินกลาโหม นั่นเอง
ในยุคกว่า ๑๓๐ ปีที่ผ่านมา สยามประเทศ ต้องเผชิญกับปัญหาร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพของประเทศเป็นอย่างยิ่ง กล่าว คือ ประเทศมหาอำนาจจากโลกตะวันตกที่มี แสนยานุภาพทางทหารที่สูงมากและทันสมัย ต่างแสวงหาอาณานิคม และสยามประเทศก็ เป็นที่หมายตาของมหาอำนาจเหล่านั้นด้วย จึงนับเป็นวิกฤตการณ์สำคัญของประเทศที่อยู่ท่ามกลางภัยคุกคามมที่เหนือกว่าและถือเป็นจุดล่อเเหลมกับการสูญเสียเอกราชของชาติ หาก ไม่มีการวางรากฐานของประเทศและดำเนิน วิเทโศบายอย่างรัดกุม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานที่จะพัฒนาขีดความ สามารถของกองทัพสยามประเทศให้มีความ เจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศโลกตะวันตก ด้วยการพัฒนากองทัพให้มีแบบธรรมเนียม วิธีการบริหารจัดการในลักษณะที่เทียบเคียง ได้กับประเทศโลกตะวันตก เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศ พระบรมราชโองการที่เรียกว่าประกาศจัดการ ๑๒๗ ปี กรมการเงินกลาโหม พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ทหาร เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ จัดตั้ง กรม ยุทธนาธิการ ให้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาทหาร บกและทหารเรือให้เกิดความเป็นเอกภาพ ในการบังคับบัญชา รวมทั้งจัดระเบียบการ บริหารราชการทหารอย่างเป็นมาตรฐานทั้ง ในเรื่องการเตรียมกำาลังและการสนับสนุน ในด้านต่าง ๆ โดยประกาศจัดการทหาร ได้ มีการจัดส่วนราชการของกรมยุทธนาธิการ ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ กรมใช้จ่าย และกรมยุทธภัณฑ์ พร้อมทั้งทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้บังคับบัญชาการทั่วไป สำหรับกรมทหาร เรียกว่า คอมมานเดออินชิฟ (Commander In Chief) โดย สมเดจ็พระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ ราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้ เพื่อ ให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี และมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานใหญ่ผู้จัดการในกรมสำหรับช่วยผู้บัญชาการทั่วไปอีก ๔ ตำแหน่ง ซึ่งมี ตำแหน่งสำคัญที่น่าสนใจคือ เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย หรือ เปมาสเตอเยเนอราล (Paymaster General)
ซึ่งหากพิจารณาให้ถ่องแท้ จะเห็นได้ว่าใน ประกาศจัดการทหาร ได้ให้ความสำคัญต่อ การบริหารจัดการและควบคุมการใช้จ่ายของ กรมยุทธนาธิการเป็นอย่างมาก จนกำหนดให้ มีหน่วยงานระดับกรม มีหน้าที่ดำเนินกิจการ ในการใช้จ่ายในภาพรวมโดยใช้ชื่อว่า กรมใช้ จ่าย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรา นุวัตติวงศ์ เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการ ใช้จ่าย เพื่อบริหารจัดการในเรื่องการบริหาร ทรัพยากรประเภทเงิน ๆ ทอง ๆ ของทหาร ซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจนในหน้าที่ว่า “…ให้ จัดการทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกเงิน ใชส้อย จา่ย ทเี่กยี่วขอ้งดว้ยประมาณราคาของ แลตรวจตราลดหย่อนเติมเงินขึ้นที่จะใช้ใน กรมทหารทั้งปวง…”
ในเวลาต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ ได้ มีการตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิ การ ร.ศ.๑๐๙ ด้วยการยกฐานะกรมยุทธนาธิ การขึ้นเป็น กระทรวงยุทธนาธิการ ก็ได้มีการ จัดส่วนราชการให้มี กรมใช้จ่าย ซึ่งมีผู้บังคับหน่วยใช้ชื่อว่า เจ้ากรมคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการ ในขณะเดียวกัน ในส่วนของกรม ทหารเรือได้มีการตั้ง กองบัญชีเงิน ขึ้นเพื่อ ปฏิบัติงานด้วย
ปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ ได้ปรับเปลี่ยน ส่วนราชการจาก กระทรวงยุทธนาธิการ ให้ คงเหลือเป็นกรมยุทธนาธิการ ดังนั้น กรม ใช้จ่าย จึงได้เปลี่ยนเป็น กรมคลัง และใน ส่วนกรมทหารเรือก็ยังคงใช้ กองบัญชีเงิน เช่นเดิม แม้ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ จะได้ มีการรวมกรมยุทธนาธิการและกรมทหาร เรือมาขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมก็ตาม กรมคลังและกองบัญชีเงินก็ยังคงปฏิบัติใน ลักษณะเดิม ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อมีการปรับ ส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก หลายครั้ง กิจการการเงินของทหารเรือยังคงเดิม แต่สำหรับกิจการการเงินของทหารบกได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็น กรมคลังเงินทหารบก และเป็น กรมปลัดบัญชีทหารบก ตามลำดับ
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกระทรวงทหารบก ทหารเรือ ร.ศ. ๑๒๙ โดยให้ยกฐานะกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ คู่กับกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่กำกับดูแลทหารบก จึงได้มีการตั้งกรม ปลัดบัญชีทหารบกและกรมปลัดบัญชีทหาร เรือ ขึ้นเพื่อกำกับดูแลกิจการการเงินของทั้ง ๒ กระทรวง
หลักจากนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ รวม กระทรวงทหารเรือ กับ กระทรวงทหาร บก เข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ จึงทำให้มีการรวมกรมปลัดบัญชีทหารบกและ กรมปลัดบัญชีทหารเรือ เป็นกรมเดียวกันใน นาม กรมปลัดบัญช
ต่อมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง มีพระบรมราชโองการ ประกาศจัด ระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้ จัดส่วนราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ กอง บังคับการกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และกรมทหารเรือ โดย กรมปลัดบัญชี ขึ้นอยู่ใน กองบังคับการกระทรวงกลาโหม มีเจ้ากรมเป็นบัญชา ขึ้นตรงต่อปลัดทูลฉลอง ซึ่งเป็น ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้ากองบังคับการ
ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้มีการตราพระ ราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการเปลี่ยนนามหน่วยและจัด ส่วนราชการกระทรวงกลาโหมขึ้นใหม่ โดย กำหนดให้ กรมปลัดบัญชี ขึ้นอยู่ในสำนักงาน ปลัดกระทรวง ซึ่งมีปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับ บัญชา และเมื่อกิจการของกองทัพบกได้ขยาย ตัวมากขึ้น กรมปลัดบัญชี จึงได้มีการพิจารณา แยกงานออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายกระทรวง กลาโหม และฝ่ายกองทัพบก ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมการแยกงานเบิกจ่ายของกองทัพบก ออกจากกรมปลัดบัญชีเช่นเดียวกันกับการ แยกงานเบิกจ่ายของกองทัพเรือ ซึ่งต่อมาฝ่าย กองทัพบกก็ได้แยกออกไปจัดตั้งเป็น กรมการ เงินทหารบกขึ้นตรงต่อกองทัพบก เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๘๑
ต่อมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขการจัดแบ่ง หน้าที่ราชการใหม่ตาม พระราชบัญญัติจัด ระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๑ ส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวง จึงได้ปรับเปลี่ยนไปตาม พระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวง ใน กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งได้ลง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๖๑ เล่ม ๖๕ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๑ เปลี่ยนชื่อ กรมปลัดบัญชีเป็นกรมการเงนิกลาโหม ซึ่งเจ้ากรมการเงินกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการที่ดินของกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๑ เป็นต้นมา
ตลอดระยะเวลา ๑๒๗ ปี ของการเดิน ทางในภารกิจการบริหารจัดการธนกิจหรือ กิจการทางการเงินของกรมยุทธนาธิการจน สืบทอดมาถึงกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่เริ่มตั้ง กรมใช้จ่าย มาเป็นกรมคลัง กรมคลังเงิน กรม ปลดับญัชีและกรมการเงินกลาโหม ตามลำดบั ซึ่งผลงานในห้วงเวลาต่าง ๆ ได้สะท้อนให้เห็น ถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการปฏิบัติภารกิจ ของผู้บังคับบัญชาและกำาลังพลมาโดยตลอด และในวันนี้แม้ว่ากรมการเงินกลาโหมจะมี ภารกิจเพิ่มขึ้นมากมายเท่าใดก็ตาม แต่ความ มุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง ไปด้วยดีก็มิได้ลดน้อยถอยลง ในทางกลับกัน ยังจะเพิ่มขึ้นต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดเพื่อภารกิจ สำคัญในการบริหารจัดการธนกิจเพื่อกระทรวงกลาโหมสืบไป
และในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗ จะเป็น วันครบรอบวันสถาปนากรมการเงินกลาโหม ปีที่ ๑๒๗ กำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ใคร่ขอมอบความปรารถนาดีไปยัง ผู้บังคับบัญชาและกำลังพล กรมการเงิน กลาโหม ทุกท่าน ณ โอกาสนี้