หลักเมืองกันยายน 61_Page_56

โครงการผลิตกระสุนขนาดกลางร่วมกับกรมสรรพาวุธทหารอากาศ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ ๖ ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔  โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ลงทุนวงเงินผลิตกระสุน ๒ ขนาด ประกอบด้วย กระสุน ขนาด ๒๓ มิลลิเมตร ชนิด TP จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ นัด และกระสุนขนาด ๓๐x๑๗๓ มิลลิเมตร ชนิด TP-T จำนวน ๒๕,๐๐๐ นัด เพื่อส่งให้กับเหล่าทัพ

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ เป็นหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่สำคัญ ของกระทรวงกลาโหม มีภารกิจในการดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ สนับสนุนเหล่าทัพ เพื่อการพึ่งพาตนเองในด้านความมั่นคงของชาติ รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม และปฏิบัติงานอื่นผลิตออกเป็น

๑. ผลิตเอง

๒. ผลิตร่วมกับเหล่าทัพ

จากการบูรณาการร่วมกับเหล่าทัพ พิจารณาและเห็นว่าสายงานการผลิตที่มีอยู่เดิมของเหล่าทัพนั้น ถ้าปรับปรุงพัฒนาเพื่อรองรับการผลิตก็จะใช้งบประมาณที่ถูกกว่า ในด้านการผลิตกระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ได้ทำการผลิตกระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง สนับสนุนให้กับเหล่าทัพ ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการผลิตกระสุนขนาดกลาง ซึ่งประกอบด้วย ๒ ประเภทนี้ คือ

๑. โครงการผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๒๓ มิลลิเมตร ชนิดฝึกโครงการผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๒๓ มิลลิเมตร ชนิดฝึกต่อเนื่อง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕) เป็นโครงการเริ่มใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระยะเวลาดำเนินการ ๖ ปี ผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๓๗ มิลลิเมตร Type 74 ชนิดฝึก จำนวน ๒๕,๐๐๐ นัด โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จะเป็นการจัดพัสดุสำหรับการผลิตให้กับโครงการฯ และจะเริ่มผลิตตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ เพื่อขายให้กับกองทัพเรือ

๒. โครงการผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยานขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มิลลิเมตร ชนิดฝึก
ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ให้โครงการผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มิลลิเมตร ชนิดฝึก (ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) เป็นโครงการเริ่มใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ๕ ปี ผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยานขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มิลลิเมตร ชนิดฝึก จำนวน ๑๕,๐๐๐ นัด เพื่อขายให้กับกองทัพเรือ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการด้วยเงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
– กองทัพมีศักยภาพในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์

– กองทัพสามารถพึ่งพาตนเองได้

– ลดการนำเข้าและประหยัดงบประมาณของประเทศ

– เพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้จากการผลิตฯ ให้บุคลากร

– เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งในและต่างประเทศ

– ลดปัจจัยเสี่ยงด้านงบประมาณ ผลิตตามความต้องการของเหล่าทัพ