การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ โลกส่งผลให้ปัญหาความมั่นคง ในปัจจุบันมีความหลากหลาย สลับซับซ้อน และเชื่อมโยงกันมากขึ้น โดย เฉพาะอย่างยิ่งภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (NonTraditional Threat) สำหรับประเทศไทย ปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงเกิดจากความ มั่นคงจากภายนอกประเทศ และความมั่นคง จากภายในประเทศ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ในการ แก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยมี ๒ ลกัษณะคอื การบังคับใช้กฎหมายในภาวะปกติ และการบังคับใช้กฎหมายในภาวะไม่ปกติ
การบังคับใช้กฎหมายในภาวะปกติ
เป็นการใช้กฎหมายในความรับผิดชอบตาม ภารกิจของหน่วยงานรัฐแต่ละหน่วย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายเกี่ยวกับ การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด เป็นต้น
การบังคับใช้กฎหมายในภาวะไม่ปกติ
เป็นการบังคับใช้กฎหมายพิเศษเข้าแก้ไข ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยคุกคามต่อความ มั่นคงในระดับที่ไม่สามารถใช้มาตรการตามกฎหมายทั่วไปหรือกฎหมายในภาวะปกติ เข้า แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมาย ในภาวะไม่ปกติตามลำดับความรุนแรงของ สถานการณ์ มีดังนี้
ลำดับที่ ๑ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑
ลำดับที่ ๒ พ.ร.ก. การบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ลำดับที่ ๓ พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗
พ.ร.บ.การรักษา ความมั่นคงภายในราช อาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
“การรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร” หมายความว่า การดำเนินการ เพื่อป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใด ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ โดยมี หลักการและเหตุผลของกฎหมายฉบับนี้คือ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติงาน ในเชิงป้องกัน ต่อผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้น ต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักรก่อนที่สถานการณ์จะขยายตัว จนถึงขั้นต้องใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการใช้กฎอัยการ ศึก โดยกำหนดให้มีกลไกหลัก เพื่อรับผิดชอบ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในเชิงบูรณาการ (มาตรา ๕) โดยให้จัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร “กอ.รมน.” ขึ้นในส?านักนายก รัฐมนตรี มีฐานะเป็น ส่วนราชการรูปแบบ เฉพาะภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายก รัฐมนตรี มีภารกิจการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๕ เมื่อ ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคง แต่ไม่จำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์มีแนวโน้มจะอยู่ต่อไปเป็นเวลา นาน ทั้งอยู่ในความรับผิดชอบในการแก้ไข ปัญหาของหน่วยงานรัฐหลายหน่วย ครม. จะมีมติมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิด ชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง
และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์นั้นภายใน พื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ผู้อำนวยการ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจ ออกข้อก?าหนดตามมาตรา ๑๘ ให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการ หรืองดเว้นการ ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด ห้ามเข้า หรือ ให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ ห้ามออก นอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามนำ อาวุธออกนอกเคหสถาน ห้ามการใช้เส้นทาง คมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ อย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการบรรเทา ความเสียหาย หรือการช่วยเหลือ ตามมาตรา ๒๐ – มาตรา ๒๑ คือ การกระทำของรัฐที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้สุจริต ให้ กอ.รมน. จัดให้ผู้นั้นได้รับการชดเชยค่า เสียหายตามควรแก่กรณี ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ส่วนพนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะจากการปฏิบัติงาน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกจากที่กฎหมาย กำหนด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในกรณีที่เหตุการณ์สิ้นสุดลง หรือสามารถ ดำเนินการแก้ไขตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ แล้วให้นายกรัฐมนตรีประกาศใช้อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ที่ได้รับมอบหมายสิ้นสุดลง และให้นายก รัฐมนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภาทราบโดยเร็ว
พระราชกำหนด การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ สถานการณ์ซึ่งกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของ รัฐ และจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประเทศและ ประชาชน ภัยพิบัติสาธารณะซึ่งตามประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรา ๕ ประกาศใช้ เมื่อมีขอ้เท็จจริงว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น และนายกรัฐมนตรีเห็นควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ ของรัฐหลายฝ่ายเข้าร่วมปฏิบัติงานแก้ไข ปัญหาเพื่อให้ยุติโดยเร็ว ซึ่งวิธีการประกาศจะ ต้องประกาศโดยนายกรัฐมนตรีโดยความเห็น ชอบของ ครม. มีอำนาจประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินได้ โดยจะให้ใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือ บางท้องที่แล้วแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะมี ผลตามระยะเวลาที่ประกาศแต่ไม่เกิน ๓ เดือน แต่ถ้าสถานการณ์สิ้นสุดลงก่อนก็ต้องประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีข้อ ยกเว้นคือ กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งเรียกประชุม คณะรัฐมนตรีไม่ทันนายกรัฐมนตรีประกาศไป ก่อนแล้วต้องน?าเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ภายใน ๓ วัน มิฉะนั้นการประกาศจะสิ้นผล
การออกข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีเพื่อ แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (มาตรา ๙) เพื่อแก้ไข ปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีอาจ ออกข้อกำหนดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คือ ห้าม การออกนอกเคหสถานในเวลา ที่กำหนด ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือ กระทำการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย ทำให้แพร่หลาย ซึ่งหนังสือสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด โดยจำกัด เฉพาะกรณี สื่อที่แสดงข้อความให้ประชาชน เกิดความหวาดกลัว และสื่อที่แสดงข้อความ ที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิด ความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ ห้ามการใช้ เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ห้าม การใช้อาคารหรือเข้าไปอยู่ในสถานที่ใด ๆ ให้ อพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ การออกข้อ กำหนดจะต้องกำหนดเงื่อนไข เงื่อนเวลา และ มอบให้เจ้าหน้าที่ ไปกำหนดรายละเอียดเพิ่ม เติม ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และจะต้อง ไม่มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนจนเกินไป นอกจากนายกรัฐมนตรี จะมีอำนาจตามมาตรา ๙ แล้วยังจะมีอำนาจ เพิ่มขึ้นด้วย ดังนี้
๑. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ จับกุมและควบคุมตัว การดำเนินการดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ได้ ออกไว้ และพิจารณานำแนวทางตามมาตรา ๑๒ มาประกอบการดำเนินการอย่างเคร่งครั
๒. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัว มา ใหถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใด
๓. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึดหรืออายัดรายการสินค้า เครื่อง อุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ใน กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะได้ใช้หรือจะใช้ สิ่งนั้นเพื่อกระทำการหรือสนับสนุนให้เกิด สถานการณ์ฉุกเฉิน
๔. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งตรวจค้นรื้อ ถอน หรือทำลายซึ่ง อาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางตามความ จำเป็นในการปฏิบัติ
๕. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีอื่นใด ตลอด จนการสั่งระงับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ โดยอนุโลม
๖. ประกาศห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือ สงั่ใหก้ระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นในการรักษาความมั่นคงของรัฐบาล ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน
๗. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราช อาณาจักร
๘. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ สั่งการให้คนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้โดยนำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้ บังคับโดยอนุโลม
๙. ประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ใน ครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่อง อุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอย่างหนึ่ง อย่างใด ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ นายกรัฐมนตรีกำหนด โดยการดำเนินการให้ นำมาตรา ๑๓ มาประกอบการพิจารณา
๑๐. ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับ เหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ในการปฏิบัติ หน้าที่ของทหารให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียว กับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชกำหนดน้โดยการใช้อำนาจหน้าที่ฝ่ายทหารให้เป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณี ที่มีการใช้กฎอัยการศึก
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗
หลักการและเหตุผลในการประกาศกฎ อัยการศึก เมื่อมีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความ เรียบร้อย ปรากฏภัยซึ่งมาจากภายนอกหรือ ภายในราชอาณาจกัร จะได้มีปะกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตราหรือ แต่บางมาตรา โดยการประกาศจะประกาศทั่ว พระราชอาณาจักร หรือประกาศเฉพาะมณฑล ใด ตำบลใด หรือเขตใดก็ได้ (ม.๒ และ ม.๓)
เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นซึ่งมีกำลังอยู่ ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือ เป็นผู้ บังคับบัญชาในป้อม หรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของ ทหาร มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้น แต่จะ ต้องรับรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด (ม.๔) อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเมื่อได้ ประกาศกฎอัยการศึก มีอำนาจเหนือเจ้า หน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับ ปราบปราม การรักษา ความสงบ เรียบร้อย (ม.๖) อำนาจในการตรวจค้น (ม.๙) อำนาจในการเกณฑ์ (ม.๑๐) อำนาจในการ ห้ามการกระทำการ (ม.๑๑) อำนาจในการยึด (ม.๑๒) อำนาจในการเข้าอาศัยในสถานที่ ทุกแห่ง (ม.๑๓) อำนาจในการทำลายหรือ เปลี่ยนแปลงสถานที่ (ม.๑๔) อำนาจใน การขับไล่ (ม.๑๕ ม.๑๕ ทวิ) การคุ้มครอง การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ไม่สามารถร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับจาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ (ม.๑๕ ทวิวรรคสอง และ ม.๑๖) การจะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น จะเป็นไปได้เมื่อมีประกาศกระแสพระบรม ราชโองการเสมอ
สรุปสาเหตุของการประกาศใช้กฎหมาย ในภาวะไม่ปกติในแต่ละฉบับ
สาเหตุของการประกาศใช้ พ.ร.บ.การ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข และ ฟื้นฟูสถานการณ์ใด ๆ ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รวมทั้ง ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้งในกรณีที่ปรากฏ เหตุอันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วน พ.ร.ก. การบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ สาเหตุของการประกาศใช้เนื่องจากมีการใช้ กำลังประทุษร้ายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินหรือ มีเหตุเชื่อได้ว่ามีการกระทำรุนแรงกระทบ ต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิต หรือทรัพย์สินและมีความจำเป็นที่จะต้องเร่ง แก้ปัญหาหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจาก ภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและ ร้ายแรง สำหรับ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ สาเหตุของการประกาศใช้เมื่อเวลา มีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อย ปราศจากภัยจะมีมาจากภายนอกหรือภายใน ราชอาณาจกัร เมอื่มสีงครามหรอืจลาจลขนึ้ ใน บับหน้าจะเป็นสรปุ ข้อสังเกตข้อดี – ข้อเสีย ของกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับต่อไป