ราชวงศ์คองบองหรือราชวงศ์อลองพญา โดยปฐมกษัตริย์เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ราชวงศ์ได้ปกครองอาณาจักพม่านานถึง ๑๒๖ ปี อาณาจักรพม่าได้ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด ของอำนาจ มรอาณาเขตขยายไปสู่อาณาจักรข้างเคียง มีความมั่นคงด้วยทรัพย์สินมีค่ามากมาย โดยมีดินแดนที่อยู่ในอำนาจของอาณาจักรกว้างใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในอดีตจึงเป็นมหาอำนาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์ จากนั้นอาณาจักรพม่าก็เริ่มเสื่อม ลงเป็นลำดับ…. บทความนี้ กล่าวถึงรัชสมัยพระเจ้าธีบอแห่งราชวงศ์คองบอง

๑. สถานการณ์ทั่วไป

อาณาจักรพม่าได้พ่ายแพ้ในสงครามกับ อังกฤษถึงสองครั้ง โดยครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๖๙ และครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ระยะห่างกัน ๒๖ ปี เป็นผลให้พม่าต้อง สูญเสียค่าปรับให้อังกฤษเป็นจำนวนมากและ ต้องสูญเสียดินแดนชายฝั่งทะเลเป็นจำนวน มากหรือที่เรียกว่าพม่าตอนล่าง อาณาจักร ต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมากที่ควรจะได้ จากเมืองท่าที่สำคัญทางตอนใต้ของอาณาจักรที่ต่างอาณาจักรได้นำเรือสินค้าเข้ามาติดต่อค้าขาย ในที่สุดแล้วอาณาจักรพม่าก็อ่อนแอ และเสื่อมลงเป็นลำดับ

๒. ความวุ่นวายปลายราชวงศ์

พระเจ้าธีบอ (Thibaw Min) หรือพระเจ้า สีป่อทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ นับเป็นกษัตริย์ล?าดับที่ ๑๑ แห่ง ราชวงศ์อลองพญา เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กับเจ้าหญิงแห่ง เมอืงสปีอ่จากไทยใหญ่ทรงพระราชสมภพเมอื่ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่กรุงมัณฑะเลย์ พระนามเดิมว่าเจ้าชายหม่องปู (Maung Pu) เมื่อเจริญพระชันษาถึงวัยก็ได้ทรงผนวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเพื่อทรง ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ต่อมาเมื่อพระองค์ทรง ลาผนวชแล้วพระราชบิดาทรงแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองสีป่อ

พระเจ้ามินดงทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายคะนอง พระอนุชาเป็นรัชทายาท เนื่องจากทรงมี พระปรีชาสามารถและมีความเหมาะสมกับ สถานการณ์ของอาณาจักรพม่าในขณะนั้น แต่สร้างความไม่พอใจให้แก่พระราชโอรสของพระองค์ คือเจ้าชายมยินกัน ปีพ.ศ. ๒๔๐๙ เกิดการกบฏโดยมีเจ้าชายมยินกันเป็นผู้นำร่วมกับ พระอนุชาคือเจ้าชายมยินกอนเดียงได้สังหาร รัชทายาท เหตุการณ์นี้เป็นผลให้พระเจ้า มินดงยังไม่สามารถที่จะทรงตั้งรัชทายาทใหม่ ขึ้นมา พระองค์ทรงเกรงว่าหากตั้งรัชทายาท จากพระราชโอรสพระองค์ใดพระองค์อนึ่งแล้ว จะถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน

พระเจ้าธีบอได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ มีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ภายใต้การ สนับสนุนของพระนางอเลนันดอ (มีพระนาม จริงว่าสิ่นพยูมาชิน (Hsinbyumashin) มี ความหมายว่านางพญาช้างขาว มีพระนาม เดิมว่าศุภยากะเล ทรงเป็นพระราชธิดาของ พระเจ้าจักกายแมงพรือพระเจ้าพะคยีดอร์ กษัตริย์ลำดับที่ ๗ ราชวงศ์อลองพญา ต่อมา พระนางทรงดำรงตำแหน่งพระมเหสีต?าหนัก กลาง พม่าจะเรียกว่าอะเลนันดอ ชาวสยามจจะรู้จักพระนางในชื่อนี้ พระนางมีพระราชธิดากับพระเจ้ามินดงรวม ๓ พระองค์ คือพระนางศุภ ยาคยี, พระนางศุภยาลัต และพระนางศุภยาก เล) พระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดงผู้เป็น พระราชบิดาและเหล่าขุนนางชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง (กินหวุ่นมินจี มัคเวมินจี และเยนันจองมินจี)

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนาง ศุภยาลัต (Supayalat) ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของพระเจ้ามินดงกับพระนางอเลนันดอ ร่วม พระราชบิดาเดียวกัน พระนางศุภยาลัตเป็น บุคคลที่ทรงมีบทบาทอย่างมากต่อการตัดสิน พระทัยของพระเจ้าธีบอในเหตุการณ์สำคัญ ๆ

๓. การดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศ

ขณะนั้นอาณาจักรแห่งอุษาคเนย์ได้รับ ความกดดันจากมหาอำนาจทางทหารแห่ง ยุโรป โดยเฉพาะทั้งอาณาจักรอังกฤษและ อาณาจักรฝรั่งเศส ทั้งด้านการค้าขายและการ เข้ายึดครองดินแดนที่มีผลประโยชน์ ประกอกับ กองทัพมีอาวุธที่ทันสมัย ทั้ง ปืนคาบศิลา ปืนใหญ่ และเรือรบที่ติดตั้งปืนใหญ่ (เป็นเรือที่ใช้ในทะเลลึก แต่เรือรบส่วนใหญ่ของอาณาจักร บริเวณแม่น้ำอิระวดีเป็นเรือรบที่ใช้ในแม่น้ำ) ที่มีความก้าวหน้ากว่ากองทัพของอาณาจักรต่าง ๆ แห่งอุษาคเนย์

พระเจ้าธีบอได้ส่งคณะทูตไปยังอาณาจักร ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๖ หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัติได้ ๕ ปี และได้มีการเจรจาเกี่ยวกับการทำสัญญา ทางด้านการค้า ให้ฝรั่งเศสรับสัมปทานป่าไม้ ทางตอนเหนือของอาณาจักร เดินเรือในแม่น้ำอิระวดีแทนอังกฤษและดำเนินกิจการไปรษณีย์ในพม่า และให้ฝรั่งเศสสร้างทางรถไฟบางสาย ทางตอนเหนือ เพื่อแลกกับฝรั่งเศสยอมขายอาวุธให้พม่า ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างมาก พม่าพยายามที่จะพึ่ง ฝรั่งเศสเพื่อจะนำมาถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษ และพยายามลดอิทธิพลของอังกฤษ

เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ พม่ามีความขัดแย้งกับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิ่งอังกฤษว่าผิดสัญญาสัมปทานการค้าไม้สักทางภาคเหนือโดยชักลากไม้ที่ยังไม่ได้ชำระภาษี ศาลพม่าตัดสินให้ชำระภาษีพร้อมค่าปรับเป็น เงิน ๒,๓๐๐,๐๐๐ รูปี บริษัทของอังกฤษไม่ยอมเป็นผลให้พม่าเข้ายึดไม้สัก ซึ่งทางบริษัทอังกฤษได้เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษเข้าช่วยเหลือ อังกฤษจึงขอให้พม่าพิจารณาคดีใหม่แต่ ทางพม่าได้ปฏิเสธ เมื่อพม่าปฏิเสธอังกฤษก็ได้ยื่นคำขาดในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ว่าจะเข้าดำเนินการเรื่องบริษัทอังกฤษเองห้ามพม่าเกี่ยวข้อง ถ้าหากพม่าจะทำสัญญาไมตรีกับต่างอาณาจักรใดอังกฤษจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เมื่อพม่าได้รับคำขาดจากอังกฤษก็ได้ประชุมหารือ ในที่สุดพม่าก็ได้ปฏิเสธอังกฤษ ดังนั้นสงครามครั้งใหม่ก็กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

๔. บทสรุป

ราชวงศ์คองบองหรือราชวงศ์อลองพญา ตอนปลายเกิดความวุ่นวายขึ้นหลายครั้ง การแย่งชิงราชสมบัติภายในราชวงศ์ซึ่งก่อให้เกิด ความสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้ราชสำนักเกิดความอ่อนแอทั้งทางด้านการปกครอง ด้านการทหาร ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำ อาณาจักรพม่าก็เริ่มอ่อนแอและเสื่อมลงเป็น ลำดับ ในที่สุดจึงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต