การแต่งตั้งตำแหน่งสำหรับเจ้านายเพื่อช่วยในด้านการปกครอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้งตำแหน่งใหม่สำหรับเจ้านายอีก ๒ ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณ และตำแหน่งผู้กำกับราชการกรม

เนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ทำหน้าที่ดูแลราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เจ้านายที่ดำรงตำแหน่งนี้คือ สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งเป็นพระอุปราชอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่อาจจะระบุได้แน่นอนว่าตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งแต่เดิมเป็นตำแหน่งรองลงมาจากพระมหากษัตริย์จะยังคงความสำคัญอยู่หรือไม่เมื่อมีตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณอีกตำแหน่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ทิวงคตลง เมื่อพุทธศักราช๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็มิได้ทรงสถาปนาพระองค์ใด ให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าเลย แต่ทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีดำ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่างๆ พระเนตรพระกรรณจนสิ้นรัชกาล ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณ จึงมีความสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณไว้ว่า

การตั้งตำแหน่งผู้กำกับราชการกรมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้งเจ้านายกำกับราชการกรม ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการ เสนาบดีกรมต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจมีอำนาจสั่งการ ทรงมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินแก่บรรดาเจ้านาย ให้ช่วยกันกำกับราชการก่อนจะนำความกราบบังคมทูล ทรงส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ตนถนัด เท่ากับเป็นการกระจายอำนาจการบริหารงานไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นการบริหารราชการแบบใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวเรื่องนี้ว่า เจ้านายกำกับกระทรวงราชการ ไม่ปรากฏว่ามีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ จึงยุติว่าพึงเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เป็นปฐมและเป็นแบบอย่างต่อมาทรงสันนิษฐานว่าการตั้งตำแหน่งเจ้านายกำกับราชการกรมสำคัญ น่าจะมาจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการ คือ ประการที่ ๑ จะเป็นด้วยเมื่อจัดกองทัพไปรบพม่าเมื่อปีมะเส็ง เอกศก จะมีการบางอย่างไม่เป็นไปได้ดังพระราชประสงค์ด้วยข้าราชการซึ่งเป็นเจ้ากระทรวงต่าง ๆ หย่อนความสามารถ ทรงพระราชดำริเห็นว่าต้องการกำลังช่วยคิดอ่าน อุดหนุนราชการในกระทรวงนั้น ๆ จึงทรงเลือกสรร หรือมิฉะนั้นประการที่ ๒ ในเวลานั้นเจ้านายที่เจริญพระชนมายุและความสามารถมีหลายพระองค์จะทรงพระราชดำริเห็นว่า ให้มีหน้าที่ประจำราชการอย่างใดเสียบ้าง ดีกว่าทิ้งไปให้อยู่เปล่าจึงทรงเลือกสรรเจ้านายซึ่งทรงไว้วางพระราชหฤทัยในความสามารถให้ไปช่วยราชการต่างกระทรวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรด ฯ แต่งตั้งเจ้านายที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกรม ดังนี้

 

290
การแต่งตั้งข้าราชการช่วยราชการด้านปกครอง คาว่า ราชการ เกิดจากคาว่า ราชหมายถึง ราชาหรือพระเจ้าแผ่นดิน กับคาว่าการ เป็นคาบาลี หมายถึง กระทา งาน คาว่าราชการ เป็นคาสมาสซึ่งตรงกับคาประสมในภาษาไทย จึงหมายความว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนคาว่า ข้า ในที่นี้น่าจะหมายถึงผู้กระทา ดังนั้นคาว่า ข้าราชการ น่าจะหมายถึง ผู้ปฏิบัติงานของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นการปฏิบัติงานของข้าราชการในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นศูนย์กลางการบริหาร จึงเป็นการรับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระองค์ทรงแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารข้าราชการให้ไปปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ

คาว่า “ข้าราชการ” ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ในข้อความ “…สิ้นกระบวนข้าราชการแล้วจึ่งพระบรมราชวงษานุวงษ…”

การแต่งตั้งขุนนาง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีประสบการณ์ทางการเมือง ในกรณีความบาดหมางระหว่างข้าราชการวังหน้ากับวังหลวง ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชดังกล่าวมาแล้ว ทรงเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งข้าราชการวังหน้ากล่าวคือ แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้อานาจสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท แต่งตั้งข้าราชการวังหน้าโดยอิสระ ทาให้วังหลวงไม่สามารถควบคุมข้าราชการวังหน้าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงเปลี่ยนวิธีการใหม่ โดยทรงเป็นผู้แต่งตั้งข้าราชการตาแหน่งสาคัญในวังหน้าเอง ทรงแต่งตั้งเจ้าพระยามหาเสนา(ปิ่น) สมุหพระกลาโหม ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นเป็น “เจ้าพระยาอภัยราชา” เป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายวังหน้า เจ้าพระยาอภัยราชามีความสัมพันธ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโดยการเกี่ยวดองมีฐานะเป็น“พ่อตา” ของพระองค์ คือเป็นบิดาของเจ้าจอมปราง โปรด ฯ ให้ จมื่นเสมอใจราช (สิงห์สิงหเสนี) บุตรเจ้าพระยาอภัยราชา ย้ายมารับราชการวังหน้า โปรด ฯ ให้นายสนิท หุ้มแพร(ทัต) บุตรเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) เป็นจมื่นเด็กชายหัวหมื่นมหาดเล็กวังหน้า จะเห็นได้ว่า บรรดาข้าราชการที่ทรงแต่งตั้งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพระองค์หรือญาติของข้าราชการวังหลวง ทาให้ทรงควบคุมไพร่พลของวังหน้าได้

การปฏิบัติหน้าที่ราชการ ข้าราชการระดับต่าง ๆ ที่ได้รับพระราชทานแต่งตั้งตาแหน่งดังกล่าว จะมีหน้าที่รับราชการต่างพระเนตรพระกรรณ หน้าที่บริหารราชการต่าง ๆ ได้แก่ หน้าที่รักษาพระองค์ หน้าที่ดูแลเสบียง หน้าที่การทูต หน้าที่ทางอักษรศาสตร์หน้าที่พิจารณาความ หน้าที่ดูแลการค้ากับต่างประเทศ ดังนี้

หน้าที่ข้าราชการทหารรักษาพระองค์ข้าราชการทหารรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งเป็น กรมกองต่าง ๆ รวมทั้งทหารต่างชาติ ได้แก่ ขุนหมื่นกรมมหาดไทย ขุนหมื่นกรมม้า กรมอาษาเกณฑ์หัดเจ้ากรมปลัด กรมทหารใน กรมดาบกรมล้อมพระราชวัง กรมดั้งทอง กรมเขนทองกรมเรือกัน กรมอาษาญี่ปุ่น กรมอาษาจามกรมแขก หมู่ขุนตารวจ กรมมหาดเล็ก กรมอภิรมย์ เป็นต้น กรมกองทหารรักษาพระองค์แสดงถึงแสนยานุภาพแห่งกองทัพไทย และความสาคัญของกรมช่างสิบหมู่หรือสิปปหมู่ในการผลิตอาวุธ การปฏิบัติงานของข้าราชการทหารรักษาพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏชัดเจนในการพระราชพิธีอุปราชาภิเษก ดังตัวอย่างข้อความว่า

“…กระบวนแห่พยุห ๘ แถว…กรมทวนทองถือทวนหมู่หนึ่งกรมหารในถือง้าวหมู่หนึ่ง กรมดาบสองมือถือดาบสองมือหมู่หนึ่งกรมล้อมพระราชวังถือโลหแบกดาบหมู่หนึ่งกรมเรือกันถือกระบองทองหมู่หนึ่ง…แล้วจึ่งถึงหมู่ขุนตารวจทั้ง ๘ กรมแต่งตัวตามยศ…”