กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ได้จัดซื้อจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ รุ่นใหม่แบบ เอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์-๒ (AIM-9X-2)รวม ๒๐ นัด เป็นเงิน ๓๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖ซี/ดีบล็อก ๕๒ รวมสามฝูงบินขับไล่และเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๕เอสจี รวมหนึ่งฝูงบินขับไล่ก่อนนั้นเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑กองทัพอากาศสิงคโปร์จัดซื้อ จรวดนำวิถี รุ่นเอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์ (AIM-9X) รวม ๒๐๐ นัด จากประเทศสหรัฐอเมริกา (ยังประจำการด้วยจรวดAIM-9J/P/S รวม ๗๖๐ นัด)
จรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้แบบ เอไอเอ็ม-๙ ไซไวเดอร์ (AIM-9 Sidewinder) ที่พัฒนาโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการทดสอบการยิงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๕ ผลิตขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๘ นำเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐอเมริการวม ๒๔๐ นัด มีข้อมูลสำคัญคือน้ำหนัก ๘๕.๓ กิโลกรัม ขนาดยาว ๓.๐๒ เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒๗ มิลลิเมตร ช่วงปีก ๒๗๙ มิลลิเมตร หัวรบหนัก ๙.๔ กิโลกรัม นำวิถีด้วยอินฟราเรด ความเร็ว ๑.๗ มัค และระยะยิงไกล๙๐๐-๔,๘๐๐ เมตร ได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลาตามความก้าวหน้าของเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ในตระกูลมิค (MiG) และตระกูลซู (Su) นำเข้าประจำการในกองทัพอดีตสหภาพโซเวียตและกองทัพพันธมิตรจากห้วงสงครามเย็นของสองอภิมหาอำนาจทางทหารของโลกมีความตึงเครียดเกิดขึ้น มีการปฏิบัติการทางทหารหลายครั้งในหลายภูมิภาคของโลกกำลังทางอากาศมีส่วนร่วมในปฏิบัติการทางทหารเสมอ ครั้งแรกที่ปฏิบัติการทางอากาศด้วยจรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-๙บี (AIM-9B) เหนือช่องแคบไต้หวัน เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๑ โดยเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๘๖เอฟ (F-86F Sabre) กองทัพอากาศไต้หวันยิงเครื่องบินขับไล่แบบมิก-๑๗ (MiG-17, Fresco) ของประเทศเพื่อนบ้านตกที่อยู่คนละฝั่งของช่องแคบไต้หวัน
ปฏิบัติการทางอากาศเหนือน่านฟ้าเวียดนามเหนือกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา(USAF เครื่องบินขับไล่แบบ F-4C/D/E Phantom-II) ทำการต่อสู้เหนือน่านฟ้ากับเครื่องบินขับไล่แบบมิก (MiG-17/19/21) ได้ยิงลูกจรวดนำวิถีแบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9 Sidewinder) รวม ๔๕๒ นัด สามารถยิงเครื่องบินรบเวียดนามเหนือตก ๓๔ เครื่อง(โดยแยกเป็นรุ่น MiG-๑๗ รวม ๑๖ เครื่อง, MiG-๒๑ รวม ๑๖ เครื่อง และ MiG-๑๙ รวม ๒ เครื่องห้วงปี พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๕) และกองทัพเรือ(เครื่องบินขับไล่แบบ F-4B Phantom-II และเครื่องบินขับไล่แบบ F-8C/E Crusader โดยใช้จรวดนำวิถีรุ่น AIM-9B/D/G) พร้อมด้วยหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา(USMC) ยิงตกรวม ๔๖ เครื่อง (พ.ศ.๒๕๐๙-๒๕๑๖) ปฏิบัติการทางอากาศเหนือน่านฟ้าเกาะฟอร์คแลนด์โดยกองบินนาวีกองทัพเรืออังกฤษ (เครื่องบินโจมตี ขึ้น-ลงทางดิ่ง แบบ Sea Harrier FRS.1) โดยใช้จรวดนำวิถีแบบ เอไอเอ็ม-๙แอล (AIM-9L) รวม ๑๐๐ นัด สามารถยิงเครื่องบินรบกองทัพอาร์เจนตินาตก ๑๙ เครื่อง (แยกเป็นเครื่องบินขับไล่ Mirage IIIEA, เครื่องบินโจมตีA-4B/C/Q Skyhawk และเครื่องบินขับไล่แบบDagger-A ห้วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๕) และปฏิบัติการทางอากาศเหนือน่านฟ้าอิรักที่โลกรู้จักในชื่อของยุทธการพายุทะเลทราย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (ใช้เครื่องบินขับไล่แบบ F-15C Eagle) กองบินนาวี(ใช้เครื่องบินขับไล่แบบ F-14A Tomcat และเครื่องบินขับไล่โจมตีทางนาวีแบบ F/A-18C Hornet) และหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา(USMC) ใช้จรวดนำวิถีแบบเอไอเอ็ม-๙เอ็ม (AIM-9M Sidewinder) ทำการยิงรวม ๘๖ นัด ได้ทำลายเครื่องบินรบของกองทัพอากาศอิรัก ๑๓ เครื่อง (แยกเป็น เครื่องบินขับไล่แบบ MiG-21, MiG-23, Su-22, Su-25 และ Mirage F-1 มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔)จรวดนำวิถีแบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9) นำวิถีด้วยระบบอินฟราเรด (IR) จะติดพันเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วลูกจรวดมีความเร็วเหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ จึงสามารถที่จะทาลายเครื่องบินรบที่บริเวณตอนท้ายของเครื่องบินด้วยความแม่นยา (แม้ว่าเครื่องบินรบมีระบบต่อต้านความร้อนหรือแฟลร์ก็ตาม โดยที่เครื่องบินขับไล่จะทาการยิงจรวดนาวิถีพร้อมกันสองนัดเพื่อความแม่นยาในการทาลายเครื่องบินขับไล่ที่ถูกยิง จะสามารถใช้ระบบต่อต้านได้อย่างจากัดด้วยปัจจัยเวลาที่มีจากัด จึงไม่สามารถที่จะต่อต้านด้วยระบบแฟลร์ลูกจรวดได้ทั้งสองนัด มักจะถูกยิงตกในนัดที่สอง รวมทั้งสภาพแวดล้อมของพื้นที่การรบทั้งสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศจะไม่เอื้ออานวยต่อการดาเนินกลยุทธทางอากาศ)
จรวดนาวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9) ผลิตออกมาหลายรุ่นที่สาคัญคือรุ่นเอ (AIM-9A), รุ่นบี (AIM-9B ความเร็ว ๑.๗ มัค ระยะยิงไกล ๔.๘ กิโลเมตร), รุ่นซี (AIM-9C), รุ่นดี (AIM-9D,หัวรบหนัก ๑๑ กิโลกรัม ระยะยิงไกล ๑๘ กิโลเมตร ผลิต ๑,๐๐๐ นัด ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๒), รุ่นอี (AIM-9E, ผลิตให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาเป็นรุ่นแรกรวม ๕,๐๐๐ นัด), รุ่นเอฟ (AIM-9F, ทาการผลิตในประเทศเยอรมัน ๑๕,๐๐๐ นัด ประจาการปี พ.ศ.๒๕๑๒), รุ่นจี (AIM-9G, ผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๓), รุ่นเอช (AIM-9H, ผลิต ๗,๗๐๐ นัด ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๗ ใช้ในสงครามเวียดนาม), รุ่นเจ (AIM-9J, ระยะยิงไกล ๑๘ กิโลเมตร ผลิต ๑,๐๐๐ นัด สาหรับกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา), รุ่นแอล (AIM-9L, หัวรบหนัก ๙.๔ กิโลกรัม ผลิตกว่า ๑๖,๐๐๐ นัดสาหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และการส่งออก ผลิตปี พ.ศ. ๒๕๒๑), รุ่นเอ็ม (AIM-9M, ผลิตกว่า ๗,๐๐๐ นัด ปี พ.ศ.๒๕๒๕ บางส่วนนาเข้าปฏิบัติการในยุทธการพายุทะเลทรายสงคราม พ.ศ.๒๕๓๔),รุ่นเอ็น (AIM-9N, ผลิต ๗,๐๐๐ นัด เพื่อการส่งออก), รุ่นพี (AIM-9P, ผลิตมากกว่า ๒,๑๐๐ นัดสาหรับกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาและเพื่อการส่งออก), รุ่นคิว (AIM-9Q, ผลิตสำหรับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา), รุ่นอาร์ (AIM-9R,พัฒนาในปี พ.ศ.๒๕๒๙ ทำการทดสอบการยิงในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ต่อมายกเลิกโครงการในปี พ.ศ.๒๕๓๕), รุ่นเอส (AIM-9S, ผลิตเพื่อการส่งออก ต่อมาประเทศตุรกีได้จัดซื้อและนำเข้าประจำการ) และรุ่นเอ็กซ์ (AIM-9X,ระยะยิงไกล ๔๐ กิโลเมตร ทำการยิงทดสอบในปี พ.ศ.๒๕๔๑ประสบความสำเร็จในการยิงเป้าทดสอบแบบคิวเอฟ-๔ (QF-4) เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๒ เริ่มต้นเปิดสายการผลิตเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๓ สำหรับกองทัพเรือ(USN) และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา(USAF) เมื่อถึงกลางปี พ.ศ.๒๕๕๑ ยอดผลิตลูกจรวดประมาณ ๓,๐๐๐ นัด) นับได้ว่าจรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9 Sidewinder) ประจำการมานานถึง ๕๙ ปี จึงได้ประสบความสำเร็จในด้านการผลิต และนำเข้าปฏิบัติการทางทหารมากที่สุดของโลกของจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ที่ประจำการอยู่ทั่วโลกเทคโนโลยีจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9) โดยกองทัพอากาศอดีตสหภาพโซเวียตได้นำไปผลิตเป็นจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้ แบบเอเอ-๒ (AA-2 Atoll/K-13) ประจำการในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ต่อมาประจำการแพร่หลายอย่างรวดเร็วในกองทัพอากาศพันธมิตรเป็นห้วงสงครามเย็นรวม ๒๖ ประเทศ
กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) จัดซื้อจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้รุ่นใหม่แบบ เอไอเอ็ม-๙ เอ็กซ์-๒ (AIM-9X-2,Sidewinder) รวม ๒๐ นัด เป็นเงิน ๕๒ ล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศสหรัฐอเมริก เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ เพื่อติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่โจมตีรวมหนึ่งฝูงบิน (F/A-18D Hornet)
กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่สามฝูงบิน(F-5E/F, F-16A/B และ F-16C/D Block 32 ปรับปรุงใหม่เป็น F-16C/D Block 52ID) และเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าหนึ่งฝูงบิน(KAI,T-50) โดยติดตั้งด้วยจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศแบบ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9)
กองทัพอากาศไทย (RTAF) ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่รวมห้าฝูงบิน (F-5E/F,F-16A/B Block 15 OCU, JAS-39 Gripen และ F-16AM/BM) โดยติดตั้งด้วยจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยใกล้แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9 Sidewinder)